cujrnewmedia

Just another WordPress.com site

Social Media: ฆาตกรรมในห้องเปิดโล่ง

Social Media: ฆาตกรรมในห้องเปิดโล่ง

ห้องพื้นขาว ผนังสีฟ้า

เวลา 1.15 p.m.

ห้องกว้างราว 30 ตารางวา ไม่มีสิ่งใดนอกจากเก้าอี้ราว 15 ตัว ตั้งอยู่กลางห้องวางเรียงกันเป็นรูปพระจันทร์คืนวันเพ็ญ หนุ่มสาว ชาย หญิง ทยอดเดินเข้ามานั่งประจำที่ของตน กระดาษสีขาววางอยู่บนโต๊ะ บ้างเป็นสมุดบันทึกเล่มหนา ปากกาและติดสอเตรียมพร้อมอยู่ในอุ้มมือของทกุคน – ประตูปิด

วิว: เรื่องที่เราจะอภิปรายกันในวันนี้คือเรื่อง เกย์วัยรุ่นถูกรังแก จากสังคมโรงเรียนมัธยมครับ

ฟ้า: Jamey Rodemeyer เด็กชายอายุ 14 ผู้โด่งดังทาง YouTube จากการ อัพโหลดวีดีโอชื่อว่า “It Gets Better” คลิปบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการถูกดูถูก เหยียดหยาม และถูกทำร้ายร่างกายจากเพื่อนๆในชั้นเพราะการเป็นเกย์ ล่าสุดเขาเพิ่งตัดสินใจฆ่าตัวตายค่ะ

วิว: ข่าวการตายของ Jamey เป็นประเด็นสังคมที่ถกเถียงกันดุเดือดในหลายวงการ เป็นคดีตัวอย่างและเป็นกรณีศึกษาของเด็กอเมริกัน ที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ควรจะมีีความคิด แต่กลับมีเด็กถูกกีดกัดทางเพศจากเพื่อนร่วมโรงเรียนจนต้องฆ่าตัวตายในที่สุด

ฟ้า: ในวีดีโอตอน “It Gets Better – I promise” Jamey บอกเล่าเรื่องราวของเขาและพยายามพูดให้กำลังใจกับเด็กคนอื่นๆที่เป็นเหมือนกับเขา Jamey กล่าวว่า “ทุกคนพูดอยู่เสมอว่าเกลียดฉันหรือไม่ก็บอกว่าคนที่เป็นเกย์สมควรอยู่ในนรก แต่คุณต้องรักตัวเอง แค่คุณรักตัวเองทุกอย่างก็จะโอเค และฉันขอให้สัญญากับคุณว่าทุกอย่างจะดีขึ้น”

วิว: แม้ Jamey จะมีเจตนาดี แต่การโพสวีดีโอบอกเล่าประสบการณ์อันเลวร้ายของเขา ไม่เพียงไม่ได้รับการชื่นชม หรือเห็นใจ แต่กลับถูกว่าซ้ำเสียอีก

ฟ้า: ผู้คนจำนวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็นด้อยถ้อยคำที่หยาบคายและรุนแรง เช่น “Jamey แกมันกระเทยหน้าปลวก อ้วน แถมโง่ แกน่าจะตายๆไปซะ”

วิว: เพื่อนของเขาอ้างว่า ได้บอกอาจารย์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และพ่อแม่ของเขาก็รับรู้ และเชื่อว่าเขาเข้มแข็งพอ แต่ Jamey กลับเล่าในวีดีโอว่า ไม่มีใครสักคนที่จะสนใจ หรือยืนมือเข้ามาช่วยเหลือเขา แม้เขาจะต้อวตาย ทุกคนก็คงไม่สนใจ

ฟ้า: ครูที่ปรึกษาของเขาบอกให้เขาหยุดการโพสวีดีโอลงอินเตอร์เน็ต ถึงอย่างนั้น ไม่นานนักเขาก็โพสเนื้อเพลงของวาง Hollywood Undead ท่อนที่ร้องว่า “ฉันอยากจะเอ่ยคำว่า ลาก่อน แล้วหายตัวไป ไม่ต้องมีผู้ใดรู้เห็น”

วิว: และในที่าสุด Jamey ก็ได้โพสสองวีดีโอสุดท้ายบน YouTube เมื่อวันอาทิตย์ก่อนที่เขาจะจากไปตลอดกาล คลิปแรกบอกว่า เขาอยากจะกลับไปเจอคุณย่าของเขา ส่วนคลิปสุดท้ายเขาอุทิศให้ เลดี้ กาก้า เจ้าของเพลง “Born This way” เพลงโปรดของเขา และเธอก็เป็นนักร้องในดวงใจของเขาด้วย ศพของเขาถูกพบตอนเช้าวันจันทร์

ฟ้า: การตายของ Jamey ทำให้คนดังหลายคนออกมาแสดงจุดยืน แม้แต่ตัวเลดี้กาก้าเองก็ออกมาแสดงความเสียใจ และประกาศเจตนารมย์ของตนผ่านทงางทวีตเตอร์

วิว: เธอบอกว่า “ฉันเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาก “การกีดกันทางเพศ ควรเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เพราะมันคืออาชญากรรมความเกลียดชัง” เธอยังบอกอีกด้วยว่า ฉันจะไปเข้าพบประธานาธิบดี พวกเราคนรุ่นใหม่ พวกเรามีพลังมากพอจะหยุดเรื่องทรามๆอย่างนี้ได้

ฟ้า: เพื่อนๆคิดยังไงกับการที่ Jamey ที่เอาวีดีโอไปโพสลงบน YouTube

ออกัส: ผมคิดว่าการเอาเรื่องของตัวเองไปเปิดเผยบนอนเตอร์เน็ตถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก เพราะมันเป็นพื้นที่ๆใครจะพูด จะทำอะไรก็ได้ แถมจับมือใครดมไม่ได้ ยกเว้นว่าเราเป็นนักคอมพิวเตอร์ หรืออยู่กระทรวงไอซีที ที่จะมีอำนาจไปตรวจสอบ เราไม่อาาจรู้ได้เลยว่าผลตอบกลับมาจะเป็นยังไง เหมือนเราออกไปในสนามรบโดยไม่ใส่เสื้อเกราะ

หลิน: หลินคิดว่าเหมือนกับการบำบัดจิตใจของเขาไปในตัวด้วยรึเปล่า เหมือนเขาพยายามจะหาพวก

แจน: อาจจะแต่ยิ่งแย่ไปกว่าเดิม เหมือนต้องการออกมาให้กำลังใจคนอื่น แต่สุดท้าย…

เทค: แพ้ภัยตัวเอง

แจน: อืม เพราะถ้าอ่านในเอกสารก่อนที่จะมาประชุมนี้ก็จะเห็นว่า มีคนแอบอัดวีดีโอของเด็กวัยรุ่นคนนึงตอนจีบกับผู้ชายแล้วไปลงเว็บไซด์ เด็กคนนั้นก็แขวนคอตายเหมือนกัน

เทค: ผมว่าก็เป็นอย่างที่ออกัสบอก เพราะหลายครั้งที่เราเปิดเผยข้อมูลของตนเองมากเิกินไปบนอินเตอร์เน็ต เขายังมีการ์ตูนออกมาล้อเลยว่า เราเป็นชีเปลือยเวลาเราใช้อินเตอร์เน็ต

กิ๊ฟ: Jamey ก็ทำอย่างนั้นแต่ก็ทนไม่ได้พอมีคนมาวิจารณ์รูปร่างของเขา

ฝน: ก็ใช่ แต่ถ้ามองในอีกแง่หนึ่งเขาก็ทำเพื่อเรียกร้องสิทธิของเขานะ แล้วที่เขาฆ่าตัวตายก็ทำให้ผู้ใหญ่ในสังคมหันมาสนใจ และแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง อาจจะคล้ายกับกรณีของคุณ สืบ นาคะเสถียร ก็ได้

ป๊อป: ดูเป็นฮีโร่ไปเลย แต่ผมก็เห็นด้วยนะ คืออารามณ์เหมือนไม่เห็นโรงศพไม่หลั่งน้ำตา เพราะพอข่าว Jamey ตายแพร่ออกไป ก็มีข่าวของเด็กเกย์วันรุ่นคนอื่นๆทำนองเดียวกันออกมาเรื่อยๆ อย่างที่แจนบอกว่ามีคนแอบถ่ายวีดีโอตอนเกย์จีบกัน แล้วเอาไปลงYouTube เด็กคนนั้นก็ฆ่าตาย และผมก็เห็นด้วยกับเทคและออกัสที่ว่ามันอันตราย แต่ก็ใช่ว่าYouTubeไม่มีส่วนดีเลย คือโอเค คอมเม้นของวีดีโออาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้เขาฆ่าตัวตาย แต่เรื่องดีๆมันก็มี

แมน: แต่มันดูเหมือนว่าจะมีเรื่องไม่ดีมากกว่าหน่ะสิอย่างตอนพวกเราอยู่มัธยม ที่มีช่วงหนึ่งมีคลิปจากมือถือที่ผู้หญิงตบกันเเย่งผู้ชายออกมา แล้วก็มีคลิปตามออกมาอีกบาน ให้พวกเด็กโรงเรียนชายล้วนอย่างผมนั่งดู

นั่งวิจารณ์ บอกได้คำเดียวว่า เสียครัย เสีย แต่ก็นั้นแหละก็คล้ายๆกรณี Jamey พอมีเรื่องออกมาให้เห็น กระทรวงศึกษากะกระทรวงอื่นๆก็เข้ามาแก้ไขจนตอนนี้ สงบไปแล้ว

ออกัส: อืม ทุกอย่างมันก็คงเหมือน…จะพูดไงดี ดาบของคม คือมีทั้งคุณทั้งโทษ Jamey ต้องตายเพราะYouTubeเป็นส่วนหนึ่ง แต่ํวีดีโอนี้บนYOUTubeก็ได้ช่วยให้สังคมตระหนักว่าอะไรเป็นอะไร

จุ๊บ: พูดถึงเรื่องสังคมเราก็เห็นกันอยู่บ่อยๆ ดาราทั้งฝรั่ง ไทย ใช้YouTube เป็นช่องทางรณรงค์ช่วยเหลือต่างๆ อย่าง โปรเจค Show your helping hand ของ บียองเซ่ แล้วก็โฆษณา ขอโทษประเทศไทย ที่ถูกแบนไม่ให้ฉายทางทีวี ก็ได้พื้นที่ตรงนี้ให้นำเสนอ

 

 

 

ปั้น: อืม จริงโฆษณานั้นดีมากทำให้คิดอะไรได้เยอะเลย

วิว: แล้วเพื่อนๆว่าที่เลดี้ กาก้า บอกว่าเรื่องนี้ควรบัญญัติให้เป็นเรื่องผิดกฎหมายล่ะ

ปั้น: ฟังดูแล้วดีมากแต่…

ออกัสกับเทค: ทำลำบาก (พูดพร้อมกัน)

ปั้น: ใช่มะ เราจะเอาอะไรมาวัดล่ะว่าการะกรำแบบนี้แค่ล้อเล่น แล้วอันนี้คือทารุณกรรมแล้ว

แจน: แต่มันก็มีหลายที่นะไอ้แค่การล้อเล่นๆเนี่ย ก็ทำให้คนที่ถูกล้อคิดไปจริงๆ เพราะไม่มีใครชอบเป็นตัวตลก

นุก: ขอเสริมต่อจากปั้นได้ไหมครับ คือในฐานะที่เรียนกฎหมายก็คงต้อบอกตามตรงว่าเป็นไปได้ยาก มันวัดกันลำบากมันดูเป็นนามธรรมมากเกินไป และทุกอย่างในขั้นตอนกฎหมายต้องมีหลักฐาน อย่างผมเคยดูวีดีโอที่ผู้ชายรุมทำร้ายเกย์ แล้วพวกผู้ชายด้วยกันเห็นแล้วชอบใจไปทำตาม อารมณ์กลุ่ม คู คัก แคน พวกไล่ฆ่าคนดำ แต่เราก็พิสูจน์ลำบากว่าที่สุดแล้ว วีดีโอมันเป็นต้นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้นจริงรึเปล่า

ออกัส: แต่มันก็มีหลายประเทศที่ออกกฎหมายเกี่ยวกับ Hate Speech ไม่ใช่เหรอ อย่าง แคนาดา ฝรั่งเศส หรือ ออสเตเรีย เพราะ Hate Speech นำไปสู่Hate crime ในที่สุด

นุก: ผมก็ไม่ได้บอกว่ามันเป็นไปไม่ได้ แต่มันเป็นไปได้ยากต่างหาก แล้วส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านั้น มันก็จะต้องเป็นประเด็นที่รุนแรง กระทบคนหมู่มากจริงๆ หรือส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ อย่างประเด็นทางการกมือง

เทค: ยิ่งพูดถึงเรื่องการเมืองก็ยิ่งควรต้องมีฎหมายใหญ่ เพราะดูอย่างบ้านเรา ผมวิเคราะห์เอาจากประวัติศาสตร์นะว่า ถ้าเป็นเมื่อก่อนที่ Social Media ยังไม่เจริญขนาดนี้ การใช้คอมพิวเตอร์ยังไม่แพร่หลาย แล้วภาษาอะไรกับการเอาวีดีโอลงเน็ต แต่ประเด็นคือตอนนี้มันบูมมาก แทบทุกที่มีคอมพิวเตอร์แล้วส่วนใหญ่ก็มีอินเตอร์เน็ต แล้วยังพวกเว็บ Social Network อีกล่ะ face book กับ Twiiter นี่ก็ตัวดี เห็นกันมากี่เคสแล้ว พวกเสื้อแดงเสื้อเหลืองตีกันเยอะ อย่างล่าสุดก็เรื่องน้องกานธูป เพราะพวกผู้นำมันฉลาดก็หลอกปั่นหัวคนโดยใช้สื่ออินเตอร์เน็ต พวกคลิปวีดีโอ ปลอมหรือจริงก็ไม่รู้ กระจายวอนเน็ต แล้วก็ไปตีความเข้าข้างตัวเองกัน สุดท้ายก็ยกพวกมาตีกัน จนเกิดจราจลบเผาบ้านเผาเมือง

นุก: แต่คุณลืมไปรึเปล่าว่าเราเป็นสังคมประชาธิปไตย การจะพูดหรือนำเสนออะไรบนพื้นที่สาธารณะอย่างเว็บไซด์มันเป็นสิทธิของเขา ที่อเมริกายังไม่ออกกฎหมายรับรอง Hate Speech ก็เพราะว่า บางทีมันก็คือ Free Speech รึเปล่า แล้วเราจะใช้อะไรตัดสิน

ออกัส: มันมีเส้นบางๆกั้นกันอยู่

เทค: จริงๆแล้วประชาธิปไตยก็ไม่ใช่ระบบการปกครองที่ดีที่สุดไม่ใช่เหรอ มันขึ้นอยู่กับคนส่วนมากก็ใช่ แต่เราจะเอาอะไรการันตีว่าคนส่วนมากนั้นเป็นคนดี เป็นคนถูก แล้วเขาก็บอกไว้ไม่ใช่เหรอว่า ต้องไม่ลืมเสียงส่วนน้อย Jamey คือเสียงส่วนน้อย เพื่อนเกย์ที่ต้องผูกคอตาย เพราะบางคนนึกสนุกเอาวีดีโอไป โพสลงเน็ตก็ด้วย ซึ่งไอ้คนที่โพสก็คือพวกเสียงส่วนมาก อย่างนี้มันถูกต้องรึเปล่า

นุก: (กำลังอ้าจะปากจะพูด)

ฟ้า: เอ่อ วิวว่า…เรามาสรุปประเด็นกันเถอะค่ะ

แจน: ดีค่ะดี (ยิ้มกว้าง) อากาศในห้องมันชักร้อนๆแล้ว

ออกัส: (อมยิ้ม) มาคุมาคุ

วิว: สุดท้ายแล้วเพื่อนๆคิดว่าเราจะแก้ปัญหานี้กันยังไงดี

ชิน: ผมคิดว่าหากพูดถึงแค่ในแง่ของ Jamey สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดก็คือ มีน้ำใจ…

จิน: ฮิ้วววววววว

ชิน: ไม่ไม่ฟังก่อน ก็อย่างที่เถียงๆกันมา ถ้าจะไปห้ามก็ดูเป็นการริดรอนสิทธิ จะออกเป็นกฎหมายก็คงลำบาก มีน้ำใจของผมคือ เรามีน้ำใจให้เพื่อนมนุษย์ ต้องเปิดใจอ่ะครับ ผมว่าเรื่องแบบนี้สมัยก่อนแย่กว่านี้อีก เกย์ไม่เป็นที่ยอมรับเลย แต่เดี๋ยวนี้ค่อยดีขึ้นหน่อย แล้วเดี๋ยวสังคมก็จะยอมรับได้มากขึ้น แต่มันต้องใช้เวลาต้องรอ

ออกัส: หรือไม่เราก็ต้องหาทางเปลี่ยนความคิด ความเชื่อของเขา หรืออย่างน้อยๆช่วยให้เขาเห็นภาพ และเข้าใจ อาจจะสร้างหนังออกไป ฉายให้วัยรุ่นดู จัดนิทรรศการ หรือการอบรมสันจรตามโรงเรียนก็ยังได้ ส่วนไอ้เรื่องในทางกฎหมายก็ค่อยๆทำกันไป มันก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ถ้าเรามีความตั้งใจจริง และช่วยเหลือกัน

ฟ้า: ก่อนจะจบการอภิปรายในครั้งนี้ ก็อยากจะฝากเตือนเพื่อนๆทุกคนให้ระวังกันไว้นะค่ะ อย่าลืมว่าอย่างที่ออกัสบออกว่า การเปิดเผยข้อมูลของตัวเองบนอิเตอร์เน็ตมากเกินไป ก็เหมือนเราไปออกสนามรบโดยไม่ใช่เสื้อเกราะ โอกาสบาดเจ็บหรือตายมีสูงมั๊ก

วิว: อารามณ์ถูกฆาตกรรมห้องเปิดโล่ง

จูน: อะไรว่ะ ฆาตกรรมในห้องเปิดโล่ง

วิว: อ้าว ก็โคนันมันยังมีฆาตกรรมในห้องปิดตายไม่มีใครเห็น อันนี้แมร่งตายกันจะจะต่อหน้าประชาชีทั่วโลก ก็เป็นฆาตกรรมในห้องเปิิดโล่งไง

จ๊อบ : เอ้า ทุกคนไว้อาลัยให้กับมุกของไอ้วิวหน่ยอ

ทกุคน: อาเมนนนนนนน

ปั้นเดินควงแขนออกจากห้องไปสีลมซอยสี่กับชิน จูนไปเดทฉลองเป็นแฟนกันครบหนึ่งเดือนกับแแจน ออกัสชวนฟ้าไปดูหนังระลึกความหลังตอนจีบกันใหม่ๆ – ประตูเปิด

พราวพิสุทธิ์ แสงอุทัย

5245256428

Pround90@hotmail.com/August1745@TWITTER

แหล่งข้อมูลภูมิหลัง และข้อมูลที่พูดถึงในบทสนทนา

http://www.youtube.com/watch?v=-Pb1CaGMdWk&feature=player_embedded

http://news.sky.com/home/world-news/article/16075233

http://www.youtube.com/watch?v=H-NySQl7VJ0

http://www.youtube.com/watch?v=__IjcLVBBYc

http://www.youtube.com/watch?v=qZKtJKWtruI

Leave a comment »

ไม่ใช่แค่เสรีภาพที่อินเทอร์เน็ตเรียกร้อง! #พิมพ์พิชา อุตสาหจิต 514 525 4028

พูดถึงเรื่อง “เสรีภาพ” ในโลกออนไลน์ ให้ลองคิดภาพห้องเรียนประถมที่คุณครูเดินออกไปจากห้อง ทิ้งแต่เพียงคำสั่ง “ห้ามซน” ไว้บนกระดาน โดยคาดหวังว่าเด็กๆในห้องจะนั่งอ่านหนังสือกันอย่างสงบเสงี่ยมเรียบร้อยแม้จะพ้นสายตาคุณครูไปแล้ว…

อดีตเด็กประถมอย่างพวกเราเมื่อนึกภาพตามแล้วก็คงส่ายหน้ากันเป็นแถวๆ เพราะแทบไม่มีทางเป็นไปได้ พวกเด็กๆคงจะลุกขึ้นจากโต๊ะเพื่อประกาศอิสรภาพกันใหญ่ เนื่องจากไม่ใช่ธรรมชาติของมนุษย์ที่จะอยู่ในระเบียบเมื่ออยู่ในสภาวะไร้การควบคุม หรือมีการควบคุมที่หละหลวม

นั่นล่ะ… คือสภาพของโลกออนไลน์ทุกวันนี้

เพราะในขณะที่โลกแห่งความเป็นจริงเราสามารถมองเห็นตัวตนของกันและกันได้ชัดแจ้ง แต่ในโลกออนไลน์กลับไม่มีอัตลักษณ์ของบุคคลให้เห็นชัดเจน ไม่มีใครรู้จักโฉมหน้าที่แท้จริงของกันและกัน ราวกับต่างฝ่ายต่างเร้นตัวอยู่ในเงามืด ทำให้ตำรวจผู้พิทักษ์กฎหมายก็ไม่อาจเอื้อมมือเข้ามาจัดการในโลกแห่งนี้ได้เต็มที่ หรือแม้กระทั่งตัวกฎหมายเองก็ยังวิวัฒนาการอยู่แค่ในช่วงของ “เด็กหัดเดิน” เท่านั้น เนื่องจาก พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพิ่งจะถูกร่างและประกาศใช้เป็นฉบับแรก มิหนำซ้ำช่วงเวลาที่ประกาศใช้ยังคาบเกี่ยวกับสถานการณ์วุ่นวายทางการเมืองอีกด้วย (เป็นกฎหมายสื่อฉบับแรกที่ผ่านโดยสภานิติบัญญัติที่แต่งตั้งโดยคมช. ใช้เวลาในการพิจารณากฎหมายอย่างรวดเร็วมากจนเป็นที่ฮือฮา) ทำให้ตัวบทกฎหมายยังมีช่องโหว่ที่ต้องปรับปรุงอีกไม่น้อย และนับเป็นพ.ร.บ.ที่เป็นที่โต้เถียงกันมากที่สุดฉบับหนึ่งในปัจจุบัน

ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีการสื่อสารซึ่งเปรียบเสมือน “เครื่องมือ” ที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆบนอินเทอร์เน็ตกลับก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงไม่แปลกที่อัตราการกระทำความผิดผ่านโลกไซเบอร์จะสูงขึ้นเรื่อยๆจนน่าเป็นห่วง ถึงขนาดอาจกล่าวได้ว่า “ยิ่งการหลอมรวมสื่อ (media convergence) เกิดขึ้นมากเท่าใด ก็ยิ่งหลอมรวมอาชญากรรม (crime convergence) มากขึ้นตามไปด้วย”

ในบทความนี้จะกล่าวถึงผลกระทบภายนอกด้านลบของการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีต่อสังคม (Negative Externality) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1. ผลกระทบโดยตรง (direct effects)
หมายถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นเนื่องจากคุณสมบัติพิเศษของอินเทอร์เน็ต (ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนๆ) ดังนั้น ผลกระทบนี้จะไม่เกิดขึ้นในสื่ออื่นๆ หรือเกิดขึ้นได้ยากมาก

ทั้งนี้ หากใช้กรอบของพ.ร.บ. คอมฯ เข้ามาพิจารณา ก็จะพบว่าผลกระทบโดยตรงนี้เกิดขึ้นได้จากอาชญากรรม 2 แบบด้วยกัน ได้แก่ การกระทำความผิดต่อตัวระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง และการกระทำความผิดทางกฎหมายอาญาซึ่งใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ

1.1) การกระทำความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง (ม.5 – ม.13)
อาชญากรรมรูปแบบนี้จะไม่ค่อยมีข้อพิพาทด้านกฎหมายมากนัก เนื่องจากมีลักษณะเป็นความผิดที่รับรู้กันเป็นมาตรฐานสากลทั่วไป (conventional crime) เช่น การเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น การขโมย ดัดแปลง ทำลายข้อมูลที่ไม่ใช่สิทธิของตน เป็นต้น แต่ส่วนที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตจะอยู่ราวๆมาตรา 10 เป็นต้นไป เช่น

– การส่งข้อมูลซึ่งรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ผู้อื่น (ไวรัส) โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา (ม.11) รวมถึงการจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเหล่านี้ด้วย (ม.12)
ดูอย่างผิวเผินแล้วการส่งไวรัสไปรบกวนผู้อื่นอาจดูเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อบุคคลมากกว่าสังคม เช่น ผู้ส่งอาจปองร้ายบุคคลเพียงคนเดียว จึงส่งไวรัสไปกลั่นแกล้ง ซึ่งเป็นการกระทำที่พบเห็นได้ทั่วไป ประชาชนจึงมักจะมองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ถึงขนาดต้องฟ้องร้อง อย่างไรก็ดี การกระทำนี้อาจลุกลามไปถึงระดับสังคมได้ ถ้าหากข้อมูลที่ถูกส่งนั้นไปทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของสาธารณะเสียหาย ซึ่งมีผลต่อเนื่องไปยังความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ สาธารณะ เศรษฐกิจ ฯลฯ เช่น นาย A หมั่นไส้นาย B จึงส่งไวรัสไปแกล้ง แต่นาย B ดันเป็นพนักงานของกระทรวงแห่งหนึ่งซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ของสำนักงาน ซึ่งไวรัสนี้ไปทำให้เครือข่ายทั้งระบบเสียหาย นาย A จึงมีความผิดทางกฎหมาย เป็นต้น

นอกจากนี้ หากมองให้ลึกลงไปอีกจะพบว่า การเผยแพร่ไวรัสนั้นมีส่วนสนับสนุนธุรกิจมืดให้เติบโตยิ่งขึ้น เช่น การช่วยกระจายไวรัสจะทำให้ผู้เสียหายต้องไปซื้อหาโปรแกรมกำจัดไวรัสมา ซึ่งโดยมากจะถูกจำหน่ายโดยบริษัทต้นคิดไวรัสนั้นๆนั่นเอง ดังนั้น ยิ่งธุรกิจเหล่านี้รุ่งเรืองมากเท่าใด สังคมก็จะยิ่งได้รับอันตรายจากภัยคุกคามนี้มากขึ้นตามไปด้วย

1.2) การกระทำความผิดทางกฎหมายอาญาผ่านคอมพิวเตอร์ (ม.14 – ม.15)
กฎหมายส่วนนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และโต้แย้งอย่างมาก เนื่องจากเป็นส่วนที่มักทำให้เกิดปัญหาในการเอาผิด และยังมีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นๆอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายอาญา แต่ก็เป็นความผิดที่พบเจอได้ส่วนใหญ่บนโลกอินเทอร์เน็ต เช่น

– นำเข้าสู่ข้อมูลคอมฯ ปลอมหรือเท็จ ซึ่งมีแนวโน้มจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน
เนื่องจากอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด และสร้างความเสียหายได้มากมายทั้งทางชีวิตและทรัพย์สิน ยกตัวอย่างกรณีในอดีตที่มีบุคคลปล่อยข่าวลวงว่าสตีฟ จ็อบส์เสียชีวิตแล้ว (ซึ่งในตอนนั้นยังไม่เสีย) ทำให้หุ้นของบริษัทแอปเปิ้ลตกลงฮวบฮาบ เป็นต้น

– นำเข้าสู่ข้อมูลที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับการก่อการร้ายตามกฎหมายอาญา
โดยนิยามของ “ความมั่นคงของประเทศ” นี้ยึดตามกฎหมายอาญา เช่น การขายความลับของชาติ แต่ส่วนที่เป็นที่ถกเถียงคือ การรวมสถาบันพระมหากษัตริย์เข้าไว้เป็นความมั่นคงฯ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งม.112 ดังนั้น การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ในแง่ลบผ่านทางอินเทอร์เน็ตจึงถือเป็นความผิดที่นิยมเรียกกันว่า “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”

อันที่จริงแล้ว คำว่า “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” เป็นคำศัพท์ที่ไม่ได้รับการบัญญัติไว้ในกฎหมายอาญาโดยตรง แต่ถูกนับเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงฯ หมวดที่ 1 ใจความว่าห้ามผู้ใด “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ไม่ว่าจะเป็นทางคำพูด ข้อความหรือรูปภาพก็ตาม มิฉะนั้นจะต้องระวางจำคุกตั้งแต่ 3 – 15 ปี

เมื่อนำกฎหมายนี้มารวมไว้สำหรับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ส่วนหนึ่งก็เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อความมั่นคงที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ตนั้นเปิดกว้างและเสรีมาก แต่กลับมีอิทธิพลมหาศาลต่อผู้ใช้ ในขณะเดียวกันก็ยากที่จะเอาผิดผู้กระทำความผิดในหลายๆครั้ง อย่างไรก็ดี กฎหมายนี้อาจมีผลเสียต่อสังคม โดยตกเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมหรือโจมตีฝ่ายตรงข้ามของกลุ่มทางการเมืองบางฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางกฎหมายหรือวาทกรรมก็ตาม เช่น กรณีทีมงานเฟซบุ๊กโฆษกรัฐบาลของนายกฯ ยิ่งลักษณ์โพสต์พระบรมฉายาลักษณ์สำหรับถวายพระพรในวันเฉลิมพระชนมพรรษาผิดจากรัชกาลที่ 9 เป็นรัชกาลที่ 8 ทำให้ถูกต่อว่าอย่างมากมายจากฝ่ายต่างๆที่ต้องการแสดงความจงรักภักดี ซึ่งนอกจากกรณีนี้ยังพบว่าตั้งแต่พ.ร.บ. คอมฯ ถูกบังคับใช้เป็นต้นมา มีการฟ้องร้องคดี “หมิ่นฯ” มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองในช่วงปี 2552 – 2553 จนมีผู้เสนอแนะว่า ทางที่ดีควรจะให้สำนักพระราชวังเป็นโจทก์ฟ้องได้แต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

กรณีตัวอย่างที่ตรงกับอาชญากรรมนี้คือ เรื่องของสุวิชา ท่าค้อ ช่างแท่นขุดเจาะน้ำมันซึ่งถูกจับกุมด้วยข้อหาหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบนเว็บไซต์ยูทูว์บ (Youtube) ซึ่งนับเป็นบุคคลแรกที่ถูกตัดสินต้องโทษตามพ.ร.บ. คอมฯ คดีของเขาเป็นที่สนใจของสื่อทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งองค์กรระหว่างประเทศที่รณรงค์ในเรื่องเสรีภาพทางการแสดงออกได้แสดงความกังวลว่าสุวิชาจะได้รับโทษเกินควรและเรียกร้องให้ไทยปล่อยตัวเขาโดยเร็ว

– นำเข้าสู่ข้อมูลลามก
เหตุผลที่ทำให้ความผิดข้อนี้มีผลกระทบต่อศีลธรรมอันดีงามต่อประชาชน เนื่องจากยั่วยุให้เกิดอาชญากรรมด้านเพศได้ง่าย นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ที่อยู่ในเนื้อหาที่ถูกเผยแพร่ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ คลิปวีดีโอ หรือสื่ออื่นๆ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ได้รับความเสียหายอับอาย ซึ่งเรื่องลามกอนาจารนี้ถือเป็นของ “ต้องห้าม” ให้สังคมไทยอยู่แล้ว เนื่องจากประชาชนยังมีทัศนคติต่อเรื่องเพศว่าเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องลามกจึงกลายมาเป็นพื้นฐานหนึ่งในการออกกฎหมายสื่อทุกประเภทร่วมกับประเด็นอื่นๆ เช่น ความมั่นคงของราชอาณาจักร เป็นต้น

– เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลที่เป็นความผิดข้างต้น
หลายๆคนอาจไม่ทราบว่า การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆที่ถือเป็นความผิดดังที่ได้กล่าวมาแล้วต่ออีกทอดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการแชร์(share) หรือฟอร์เวิร์ด(forward) ก็ตาม ล้วนถือเป็นอาชญากรรมออนไลน์ด้วย เนื่องจากมีผลกระทบทำให้สังคมแตกตื่นหรือเดือดร้อนได้เหมือนกัน แต่โดยนิสัยปกติของคนไทยที่ไม่ค่อยตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าวก่อนและรีบเผยแพร่ต่อ ทำให้หลายๆครั้งจึงเผลอทำความผิดโดยไม่รู้ตัว นี่จึงเป็นกฎหมายอีกมาตราหนึ่งที่ออกมาเพื่อพยายามจำกัดขอบเขตของความเสียหายด้านข้อมูลข่าวสารซึ่งอาจเกิดขึ้น ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจึงต้องพึงระมัดระวังให้มาก

– นำเข้าสู่ภาพของผู้อื่นซึ่งเกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ ดัดแปลง ซึ่งทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง
สังเกตได้ว่าความผิดจะเกิดขึ้นได้ในรูปแบบของภาพเท่านั้น เนื่องจากภาพที่ตัดต่ออย่างดีย่อมเป็นหลักฐานที่มีอิทธิพลมากกว่าข้อความซึ่งใครจะเขียนขึ้นมาก็ได้ และการละเมิดผู้อื่นทางข้อความนั้นได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอาญาอยู่แล้ว โดยพื้นฐานของการจะตัดสินว่าการกระทำนั้นๆเป็นการหมิ่นประมาทหรือไม่ และจะฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่นั้น จะใช้หลักเกณฑ์พิจารณาที่ว่า หากฝ่ายที่เป็นผู้กล่าวร้ายพิสูจน์ได้ว่าเรื่องที่หมิ่นฯ นั้นเป็นความจริง ก็จะไม่ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าการตัดต่อภาพให้น่าเชื่อถือเพื่อเผยแพร่นั้นย่อมเป็นการหมิ่นฯแน่นอน เพราะไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี ในการเผยแพร่เรื่องราวของบุคคลอื่นโดยเฉพาะในเชิงลบควรจะตั้งอยู่บนฐานการพิจารณาว่า เรื่องนั้นๆเกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะหรือไม่?

ตัวอย่างเช่น กรณีคลิปฉาว ข่าวฉาว และภาพฉาวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศของนักการเมืองและดารานั้นมีส่วนได้ส่วนเสียกับสาธารณะจริงหรือ? สำหรับนักการเมืองนั้นถือว่าเป็น “บุคคลสาธารณะ” อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นผู้ที่ประชาชนต้องคอยสอดส่องการทำงานบริหารประเทศ สำหรับเรื่องเพศนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละวัฒนธรรมว่าแบ่งแยกเรื่องเพศออกจากการงานมากน้อยเพียงใด เช่น ประเทศไทยอาจมองว่าสองเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกัน ในขณะที่สหรัฐอเมริกามองว่าประธานาธิบดีควรจะเป็นตัวอย่างที่ดีทั้งในด้านการเมืองและชีวิตสมรส การเผยแพร่ข่าวฉาวจึงอาจนับว่าเป็นการตีแผ่เพื่อประโยชน์สาธารณะได้ แต่สำหรับดาราที่สังคมมักจะมองว่าเป็นบุคคลสาธารณะเช่นเดียวกันนั้น อันที่จริงแล้วมีส่วนได้ส่วนเสียกับสังคมน้อยมากจนถึงขั้นไม่มีเลย ดังนั้น การรุกล้ำเผยแพร่เรื่องส่วนตัวของดาราทางอินเทอร์เน็ตก็อาจถูกเอาผิดทางอาญาได้หากถูกฟ้องร้อง

2. ผลกระทบโดยอ้อม (indirect effects)
ผลกระทบโดยอ้อมเชิงลบของอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกสื่อ ไม่จำเป็นต้องเป็นสื่ออินเทอร์เน็ต แต่ว่าอินเทอร์เน็ตมีบทบาททำให้ผลกระทบเหล่านั้นขยายวงกว้างขึ้นและรวดเร็วขึ้น ได้แก่

– อิทธิพลของเกมออนไลน์หรือการเสพติดคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าหากเด็กติดสื่อออนไลน์เข้าขั้นรุนแรงก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตดังที่เคยมีกรณีให้เห็นมาแล้ว

– การพนัน ซึ่งสามารถใช้คุณสมบัติ “ทันที” (immediacy) และมี “ปฏิสัมพันธ์” (interactive) ของอินเทอร์เน็ตมาสนับสนุนให้การเล่นการพนันทำได้โดยสะดวกขึ้น อีกทั้งยังถูกปราบปรามยากขึ้นด้วย เนื่องจากไม่มีบ่อนให้จับเป็นหลักเป็นแหล่งและไม่มีเจ้ามือรับผิดเป็นตัวเป็นตน

– ความเสรีทำให้ผู้ใช้เสพสื่ออย่างไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชน ซึ่งสามารถใช้อินเทอร์เน็ตดูเนื้อหาที่มีความรุนแรง ลามกอนาจาร หรือมีอิทธิพลไม่ดีได้ตามใจชอบ เช่น คลิปโป๊ คลิปสอนขโมยของ คลิปฆ่าตัวตายหมู่ เป็นต้น ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบ (copycat) ตามมาได้

– นอกจากนี้ ยังรวมถึงการล่อลวงผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างที่เราได้ยินกันในข่าวบ่อยๆด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเป้าหมายคือเด็กและผู้หญิง

– การรังแกผ่านทางอินเทอร์เน็ต (social bullying) เป็นพฤติกรรมที่เราเห็นกันบ่อยๆโดยเฉพาะในวัฒนธรรมตะวันตก เช่น ภาพยนตร์วัยรุ่นอเมริกันอย่าง Easy A ซึ่งนางเอกถูกรังแกทั้งโดยผ่านสื่อและไม่ผ่านสื่อ เนื่องจากถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้หญิงสำส่อน หรือ 17 Again ซึ่งพระเอกของเรื่องถูกทำให้อับอายขายหน้าเมื่อชกต่อยแพ้แล้วมีคนเอาคลิปตอนเขากำลังหมดท่าส่งให้เพื่อนคนอื่นๆดูทั้งโรงเรียน การประจานให้อับอายนี้ก็ถือเป็นการรังแกทางสังคมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เจ็บปวดกว่าทางร่างกายด้วยซ้ำ หลายๆครั้งผู้ที่ถูกรังแกก็ทนไม่ไหว เช่น กรณีที่เด็กสาวเมแกน ไมเยอร์ต้องฆ่าตัวตายจากโลกนี้ไป ซึ่งพฤติกรรมการรังแกกันเช่นนี้ย่อมปลูกฝังความเหี้ยมโหดเกลียดชังให้เกิดขึ้นในสังคม

– การลงทัณฑ์ทางสังคม (social sanction) หรือล่าแม่มด(witch hunt) มีรูปแบบเริ่มต้นโดยการจับตาเฝ้าระวัง (monitor) พฤติกรรมของคนอื่นในสังคม ซึ่งถ้าพฤติกรรมหยุดอยู่ที่ตรงนี้จะถือว่าเป็นผลดีในการช่วยกลั่นกรองสังคม แต่หลายๆครั้ง กลุ่มที่จับตามองมักจะล้ำเส้น โดยหากใครแสดงพฤติกรรมที่ทำให้ไม่พอใจ ก็จะจัดการคุกคามบุคคลผู้นั้นทั้งในชีวิตจริงและในโลกออนไลน์ ซึ่งตรงกับการล่าแม่มดในอดีตซึ่งมีไว้เพื่อกำจัดพวกนอกรีตนั่นเอง

กรณีที่เป็นที่โด่งดังไม่รู้ลืมคือเรื่องราวของนางสาวก้านธูป ซึ่งได้รับแรงกดดันมากมายจากสังคม จนถึงขนาดถูกตัดโอกาสด้านการศึกษา เนื่องจากสังคมไทยในภาพรวมยังคงมองว่าการกระทำที่มุ่งร้ายต่อความมั่นคงของชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเป็นความผิดรุนแรง เนื่องจากการแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เป็นบรรทัดฐานหลักของสังคมไทยมาช้านาน ผู้ที่เบี่ยงเบนย่อมได้รับการลงโทษจากสังคมตามแนววิถีประชา เช่น ไม่ได้รับการต้อนรับจากสมาชิกคนอื่นๆในสังคม เป็นต้น

– การทำการตลาดแบบข่าวลือ หรือการปั่นกระแสในอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยการเล่าปากต่อปาก (word-of-mouth) และวัฒนธรรมการแบ่งปันข้อมูลต่อ (share) ก็อาจส่งผลกระทบต่อสังคมได้ในรูปแบบเดียวกับการหลอกลวงหรือทำให้แตกตื่น เช่น กรณีคลิปอาจารย์ปาบีบีของนักเรียนด้วยความโมโห ซึ่งจริงๆแล้วเป็นการโฆษณาของเบอร์เกอร์ คิง ที่ถึงแม้จะออกมาแก้ความเข้าใจผิดทีหลัง แต่ในความเป็นจริงก็แก้ได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาแค่ในแง่ของคุณธรรมในการใช้สื่อออนไลน์เท่านั้น เพราะสุดท้ายแล้วอาจเป็นตัวองค์กรเจ้าของแบรนด์เองที่อาจสูญเสียความน่าเชื่อถือ (credibility) ในสายตาประชาชนไป

– สุดท้ายเป็นปัญหาที่เราคุ้นเคยกันดี คือ เรื่องของการลอกเลียน (Plagiarism) เนื้อหาต่างๆในโลกไซเบอร์ ซึ่งทำได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส รวมถึงปัญหาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ เช่น โปรแกรมหรือภาพยนตร์ละเมิดลิขลิทธิ์ เป็นต้น

ปัญหาสุดท้ายที่อยากจะกล่าวถึงเป็นปัญหาที่ไม่เกี่ยวกับโลกออนไลน์โดยตรง แต่เกี่ยวกับผลกระทบจากพ.ร.บ. คอมฯ ในส่วนที่กำหนดบทลงโทษผู้ให้บริการ (internet service provider) รวมถึงผู้ดูแลเว็บ (web master) ในฐานะสื่อกลางทางเทคนิค (technological intermediaries) ในกรณีที่ปล่อยปละละเลยให้ผู้ใช้โพสต์ข้อความผิดกฎหมายได้นั้น การดำเนินการตามกฎหมายควรเป็นไปอย่างยุติธรรมที่สุด โดยพิจารณาความผิดตาม “เจตนา” เป็นหลัก เนื่องจากการเล่นงานเว็บตัวกลางจนต้องคอยระมัดระวังการทำงานทุกฝีก้าวหรือต้องปิดตัวลงไป ก็ย่อมจะทำให้พื้นที่ของ “เวทีสาธารณะ” ในสังคมลดลงไปด้วย ซึ่งในที่สุดแล้วจะทำให้ความเป็นสื่อเสรีของอินเทอร์เน็ตไร้ซึ่งความหมาย เช่น กรณีเว็บประชาไท เป็นต้น

อาชญากรรมออนไลน์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายสืบเนื่องจากธรรมชาติของสื่อเองที่ใช้งานง่ายแต่มีอิทธิพลสูง และยังเปิดพื้นที่ทางเสรีภาพให้ประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยที่ประชาชนยังไม่ได้รับการเตรียมพร้อมด้านจรรยาบรรณในการใช้สื่อมาก่อน ทำให้อาจใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิดทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา นอกจากนี้ ในส่วนของการควบคุมจากภาครัฐ องค์กรวิชาชีพสื่อ หรือจากภาคพลเมืองเองก็ยังไม่เข้มแข็ง เช่น อินเทอร์เน็ตไม่มีเรตติ้งเหมือนภาพยนตร์ ไม่มีการเซนเซอร์หรือตรวจสอบแบบโทรทัศน์ และในขณะเดียวกัน กฎหมายหนึ่งเดียวที่มีอยู่ก็ยังต้องพัฒนาและไล่ตามเทคโนโลยีอยู่อีกมาก ด้วยเหตุนี้ ทุกภาคส่วนของสังคมจึงควรหันมาใส่ใจแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยมี 3 มาตรการที่ควรดำเนินการไปพร้อมๆกัน ดังนี้

1) การบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษ
กระทรวงไอซีที ตำรวจ และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและระมัดระวัง พร้อมกันนั้นก็เปิดโอกาสให้กฎหมายได้รับการปรับปรุงอยู่เสมอ โดยพิจารณาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและพฤติกรรมการใช้สื่อของคนทุกกลุ่มในสังคม ส่วนการลงโทษนั้นนอกจากการลงโทษทางอาญาที่ทำอยู่แล้ว ก็อาจลงโทษในโลกออนไลน์ขนานไปด้วย ซึ่งทำได้โดยใช้รูปแบบของ “การกักบริเวณ” (detention) ในโลกออนไลน์

เราอาจไม่คุ้นเคยกับคำว่า detention เท่ากับคำว่าจำคุกหรือการลงโทษทางร่างกาย อย่างไรก็ดี วิธีนี้เป็นวิธีการลงโทษเด็กๆที่เป็นที่นิยมอย่างมากในต่างประเทศ เช่น เมื่อเด็กๆก้าวร้าวใส่พ่อแม่ ก็จะถูกสั่งให้อยู่แต่ในห้องของตนเองภายในระยะเวลาหนึ่ง การทำ online detention ที่บทความนี้อยากเสนอแนะก็มีรูปแบบเดียวกัน คือ ในบางกรณีที่การลงโทษทางอาญาไม่เพียงพอ ก็ควรจะลงโทษโดยห้ามผู้กระทำความผิดเข้าสู่โลกออนไลน์ได้ในระยะเวลาหนึ่ง หรือเข้าได้อย่างจำกัด (เช่น ได้แค่เช็คอีเมล์ แต่เข้าเว็บไซต์อื่นไม่ได้ เป็นต้น) ซึ่งถ้าหากเรามองว่าการจำคุกในโลกจริงนั้นเป็นการลงโทษแบบหนึ่ง การกักบริเวณในโลกเสมือนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ เพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตตระหนักถึงความสำคัญและระมัดระวังเสรีภาพในมือของตนเองยิ่งขึ้น

2) การเฝ้าระวังอย่างแข็งขัน
“ทุกคน” ในสังคมต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาและเฝ้าระวังการใช้สื่อออนไลน์ที่ไม่ถูกต้อง เมื่อพบเห็นการกระทำความผิดก็อาจตักเตือนหรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบ แต่ต้องพึงระวังไม่คุกคามผู้อื่น มิฉะนั้นจะกลายเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง

เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อใหม่จึงยังไม่มีองค์กรวิชาชีพของตนเองอย่างเป็นทางการเหมือนสื่ออื่นๆ อย่างไรก็ดี เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) และกลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (Freedom Against Censorship Thailand) ก็เป็นสองเครือข่ายที่มีบทบาทในการส่งเสริมการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตให้เป็นไปอย่างเสรี และคอยติดตามการดำเนินคดีและการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐบนอินเทอร์เน็ต แต่สององค์กรนี้ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย จึงมิใช่นิติบุคคลและไม่สามารถให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหรือผู้ให้บริการได้มากนัก ดังนั้น ผู้ที่มีอำนาจมากกว่าอย่างรัฐบาลจึงควรยื่นมือเข้าสนับสนุนและช่วยเหลือการทำงานผ่านทางวิธีอื่นๆด้วย

3) สร้างวิจารณญาณในการใช้สื่อให้แก่สังคม
คำว่า Media Literacy หรือเรียกง่ายๆว่า “ใช้สื่อเป็น” นั้น ไม่ได้หมายความทางเทคนิคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความมีวิจารณญาณในการใช้และเสพสื่อด้วย รัฐบาล สถาบันศึกษา สถาบันครอบครัว รวมถึงองค์กรสื่อและกฎหมาย ควรร่วมกันเป็นตัวตั้งตัวดีในการสร้างวิจารณญาณและภูมิต้านทานในการใช้อินเทอร์เน็ตให้แก่เยาวชนและประชาชนไทย มิฉะนั้น อินเทอร์เน็ตจะมีสถานะเป็นเพียงของเล่นและเครื่องมือของนักการเมืองหรือนักธุรกิจเท่านั้น

ในบรรดามาตรการทั้งสามนี้ หากจะมีข้อใดข้อหนึ่งที่ถูกโต้แย้ง ก็คงจะเป็นในเรื่องของการลงโทษซึ่งอาจจำกัดสิทธิเสรีภาพทางการแสดงออก (freedom of expression) และสิทธิทางการสื่อสารตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ดี คำว่า “เสรีภาพ” ไม่อาจอยู่ได้โดยปราศจาก “ความรับผิดชอบ” ดังนั้น หากเราถือว่าการลงโทษมีไว้เพื่อสร้างสำนึกความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในสังคม การยอมถูกจำกัดเสรีภาพออนไลน์ก็น่าจะเป็นก้าวแรกที่ดีก้าวหนึ่งในการเริ่มต้นรับผิดชอบต่อผลกระทบที่ตนก่อให้สังคมมิใช่หรือ?
————————————————————————————————————–

อ้างอิง
พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา จริยธรรมและกฎหมายสื่อสารมวลชน โดย อ.พิรงรอง รามสูตร
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา จริยธรรมและกฎหมายสื่อสารมวลชน โดย อ. ศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ
รายงาน เรื่อง “ข้อจำกัดทางกฎหมายต่อเสรีภาพในการแสดงออกในอินเทอร์เน็ตในไทย” โดย อ. ศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ

Leave a comment »

คมดาบของพลังในโลกออนไลน์ #กันตพร สวนศิลป์พงศ์ 5245008128

                   ทุกวันนี้ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าอินเตอร์เน็ตนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราโดยสมบูรณ์ เราใช้เวลากับหน้าจอคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่ออินเตอร์เน็ตต่างๆมากขึ้นทุกวัน ทั้งในเรื่องการสื่อสารทั่วไประหว่างคนใกล้ชิด และในส่วนของการทำงาน จากผลการศึกษาของซิสโก้ (Cisco)ในปี 2554 หนึ่งในสามของกลุ่มคนรุ่นใหม่และคนทำงานถึงกับบอกว่าอินเตอร์เน็ตคือปัจจัยพื้นฐานสำหรับมนุษย์ มีความสำคัญเทียบเท่าอากาศ น้ำ อาหาร ที่อยู่อาศัย เรียกได้ว่าเราอยู่ใกล้ชิดกับอินเตอร์เน็ตจนเหมือนเราใช้ชีวิตอยู่ระหว่างสองโลกในทุกๆวันโลกจริงและโลกอินเตอร์เน็ต

                เมื่ออินเตอร์เน็ตได้ชื่อว่ากลายเป็นปัจจัยห้า มีสื่อมากมายเล่าถึงการเข้ามาในระบบสังคมของอินเตอร์เน็ต เช่นภาพยนตร์เรื่องดังอย่าง Social Network ซึ่งเล่าถึงเรื่องราวการก่อเกิดของเว็บไซต์ Facebook ซึ่งกลายเป็นเว็บไซต์ที่สร้างปรากฏการณ์สำคัญแก่โลก, Trust ภาพยนตร์สะท้อนปัญหาการคุกคามทำร้ายในอินเตอร์เน็ตที่ครอบครัวหนึ่งต้องรับมือ ในฝั่งไทยนั้น หากยังจำกันได้ เมธาวีหรือชื่อเต็มว่า มั่นใจว่าคนไทยเกิน 1 ล้านคนเกลียดเมธาวีก็เป็นละครตีแผ่สังคมออนไลน์ที่มีการรวมตัวของกลุ่มคนซึ่งแสดงความไม่พอใจหรือเกลียดชังบุคคลหนึ่งร่วมกันจนทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง การที่ด้านที่เป็นเงามืดของเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ถูกหยิบยกมาบอกเล่าผ่านสื่อต่างๆน่าจะทำให้เราตระหนักได้ว่า แม้เราจะได้รับความสะดวกสบาย ความใกล้ชิดที่อินเตอร์เน็ตสร้างขึ้นนั้นก็ทำให้การคุกคามมาถึงตัวเราได้ง่ายขึ้นเช่นกัน เพราะในโลกเสมือนนั้น ระยะห่างระหว่างผู้คนที่เราไม่รู้จักดูเหมือนจะเหลือเพียงเส้นบางๆเท่านั้น

                  ผู้คนในโลกจริงมีหลากหลายเช่นไร ในโลกเสมือนก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน อินเตอร์เน็ตจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำที่ไม่หวังดีต่างๆ ภัยของโลกภายนอกอย่างการฉกชิงวิ่งราวก็แปรสภาพมาเป็นการโจรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คำว่าอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-crimeกลายเป็นภัยที่พบเจอได้ทั่วไป โดย E-crimeหมายถึง การกระทำความผิดโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นวัตถุกระทำความผิด เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือเมื่อมีการกระทำความผิดและมีการนำคอมพิวเตอร์เข้าไปเป็นส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไม่ว่าจะเป็นในลักษณะใดก็ตาม” E-crimeนี้มีหลายรูปแบบ ตั้งแต่การขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ที่เราเรียกกันติดปากว่าแฮ็ค (Hack), การก่อให้เกิดความเสียหายทางคอมพิวเตอร์ เช่นการส่งไวรัสไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผู้อื่น, การฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์ (Phishing) ซึ่งเป็นการส่งอีเมล์ออกไปเพื่อหลอกลวงผู้อื่นให้หลงเชื่อว่าเป็นอีเมล์จากหน่วยงานหรือองค์กรที่เชื่อถือได้เพื่อขอข้อมูลส่วนตัวของผู้นั้น หรือการโจรกรรมหลักฐานการยืนยันตัวตนของบุคคลอื่น (Identity Theft)

                 การกระทำไม่หวังดีทางอินเตอร์เน็ตในส่วนที่กล่าวมานั้นเป็นการกระทำที่หวังผลประโยชน์เพื่อเงิน หากแต่นอกเหนือจากนี้แล้วก็ยังมีภัยที่มุ่งหวังผลประโยชน์ชนิดอื่น อย่างมุ่งหวังการทำร้ายทำลายให้เกิดความเสื่อมเสียทางชื่อเสียง ทางจิตใจ การมุ่งหวังผลประโยชนทางอุดมการณ์ซึ่งส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในวงกว้าง ซึ่งจุดมุ่งหมายประเภทนี้นั้นทำให้เกิดผลกระทบด้านลบที่ฝังรอยลึกในสังคมได้มากกว่าการกระทำมุ่งหวังตัวเงินมากนัก

                 การกระทำกลั่นแกล้งผู้อื่นเพืี่อความสนุกสนานในกลุ่มเพื่อนเป็นสิ่งที่ผู้เขียนเองก็พบเห็นได้อยู่เรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์เฟซบุ๊คของรุ่นน้องผู้ชายคนหนึ่งขึ้นสถานะ (status) ในเชิงความหมายว่าตนเริ่มเปลี่ยนมาให้ความสนใจกับผู้ชายในคณะด้วยกัน สถานะนั้นมีคนมากดไลค์มากมาย โดยแท้จริงแล้วรุ่นน้องเจ้าของเฟซบุ๊คไม่ใช่ผู้พิมพ์สถานะนั้น แต่เป็นเพื่อนในกลุ่มเดียวกันที่ทำไปเพื่อหยอกล้อกันสนุกๆ อันที่จริงแล้วการกระทำเช่นนี้หากผู้กระทำไม่ใช่เพื่อนสนิทซึ่งมีความใกล้ชิดกันจริงๆ ผลที่เกิดขึ้นอาจไม่ใช่ความขำขัน แต่เป็นการสร้างให้เกิดความเข้าใจผิด และหากเจ้าของเฟซบุ๊คไม่ใช่คนธรรมดา แต่เป็นบุคคลที่มีผู้คนรู้จักมากมายหรือมีตำแหน่งที่ต้องมีภาพลักษณ์ของความน่าเชื่อถือ การกระทำเช่นนี้จะนำมาซึ่งความเสียหายทางชื่อเสียงโดยตรง

                ในสังคมตะวันตกนั้นมีคำหมายความถึงการกระทำที่ไม่หวังดี ก่อให้เกิดความกลัวแก่ผู้อื่นทางอินเตอร์เน็ตรวมไปถึงการติดต่อสื่อสารผ่านทางคอมพิวเตอร์อื่นๆ คือคำว่า cyberstalking โดยผู้กระทำหรือ cyberstalkerนั้นจะหาเป้าหมายผ่านทางห้องแชท กระดานสนทนา และอีเมล์ และอาจกระทำการโดยการส่งอีเมล์ที่มีเนื้อหาลามกหยาบโลน สแปมเมล์ โพสต์ข้อความที่ไม่เหมาะสม ส่งไวรัสเข้าคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการสะกดรอยการทำกิจกรรมบนคอมพิวเตอร์ของอีกฝ่ายและการสมอ้างเป็นผู้อื่น cyberstalkingนั้นก่อให้เกิดความหวาดกลัวแก่เหยื่อ ส่งผลเสียทางจิตใจซึ่งอาจลามไปถึงทางร่างกาย และหลายครั้งcyberstalkingนั้นจะพัฒนาเป็นการสะกดรอยในโลกจริง เช่น การโทรศัพท์ ส่งจดหมายมาหาเหยื่อหรือแม้แต่การทำร้ายร่างกาย

                นอกจากคำว่า cyberstalkingแล้วยังมีคำว่า cyberbullying ซึ่งหมายถึงการทำร้ายทางอินเตอร์เน็ตในกลุ่มเด็กนักเรียน ผลสถิติจากเว็บไซต์ PureSight Online Child Safety ได้เปิดเผยข้อมูลของประเทศอเมริกาเมื่อต้นปี 2011ว่าเด็กกว่าหนึ่งล้านคนถูกรังควาญและข่มขู่ผ่านเฟซบุ๊คในปีก่อนหน้า และโดยประมาณแล้ว 20% ของเด็กนักเรียนนั้นเคยมีประสบการณ์ถูกทำร้ายผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งการแสดงความคิดเห็นที่สร้างความเจ็บปวดและการปล่อยข่าวลือเป็นวิธีการที่ถูกใช้มากที่สุด

               หากแต่ผลสถิติจากเว็บไซต์ http://www.internetsafety101.orgนั้นเปิดเผยข้อมูลของปี 2011ที่น่าเป็นห่วงว่า
กว่า95% ของวัยรุ่นที่ใช้สื่อสังคมเคยเห็นบุคคลอื่นเมินเฉยกับการกระทำที่โหดร้ายบนอินเตอร์เน็ต – 66% เห็นผู้อื่นเข้าร่วมในการพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้น

– 21% บอกว่าตัวเองเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำร้ายผู้อื่นด้วย

เพียง 7% ของผู้ปกครองเท่านั้นที่มีความกังวลเกี่ยวกับ cyberbyllying ทั้งที่ 33%ของวัยรุ่นเคยตกเป็นเหยื่อของcyberbullyingมาแล้ว

เพียง 1ใน 6ของผู้ปกครองเท่านั้นที่รู้ว่าบุตรหลานของตนกำลังตกเป็นเหยื่อ

                  ทั้งนี้ ในเว็บไซต์ยังได้ให้ข้อมูลว่าเหตุใดผู้กระทำจึงกระทำการกลั่นแกล้งเพื่อนนักเรียน โดยเหตุผลหลักๆคือ พวกเขาสมควรได้รับการกระทำนี้, เพื่อตอบโต้และเอาคืน, เพื่อความสนุก และเพื่อทำให้เหยื่อได้รับความอับอาย

                 ตัวอย่างข่าวการทำร้ายทางอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยนั้นมีมากมาย เคยได้มีกรณีชายคนหนึ่งใช้เฟซบุ๊ค อ้างว่าตนเองเป็น นักรบแดนใต้คือเป็นเจ้าหน้าที่ที่ออกปราบปรามผู้ก่อการร้าย เขาจะเล่าเรื่องราววีรกรรมต่างๆที่สมมติขึ้นเพื่อทำให้เหยื่อเกิดความชอบพอ จากนั้นจึงให้มาพบปะในโลกความเป็นจริง ก่อนจะลวงไปข่มขืนและถ่ายคลิปแบล็คเมล์เพื่อไม่ให้เลิกติดต่อกัน หรือกรณีสามเณรเปิดเฟซบุ๊คหลอกลวงให้เด็กผู้หญิงชอบพอและเดินทางมาหาก่อนจะล่วงเกินทางเพศ

                 หากจะกล่าวถึงสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดการทำร้ายทางอินเตอร์เน็ตนั้น อย่างแรกคืออินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย ผู้กระทำไม่ต้องออกจากบ้านหรือสถานที่พัก ทำให้เกิดความสะดวกยิ่งขึ้น เพราะแม้อยู่ในบ้าน การทำร้ายจะเกิดขึ้นในอีกประเทศหนึ่งก็ยังได้

                 ปัจจัยที่สองซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญคือ การที่อินเตอร์เน็ตมีลักษณะที่เอื้อเฟื้อให้เกิดภาวะนิรนาม (Anonymity) อินเตอร์เน็ตช่วยให้เราติดต่อสื่อสารได้โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง ช่วยให้เราสร้างตัวตนปลอมขึ้นมาในโลกนั้นได้ ในส่วนนี้ยังทำให้เราสามารถจะกล้าพูดหรือแสดงออกพฤติกรรมที่ไม่กล้ากระทำในโลกจริง นอกจากนี้ การสื่อสารในอินเตอร์เน็ตยังขาดมิติของบริบทอื่นในการสื่อสาร เช่นสีหน้าท่าทาง ภาษากาย การเน้นเสียง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือตีความผิดได้

                 ส่วนตัวผู้เขียนนั้นวิเคราะห์ว่า ปัจจัยซึ่งเป็นแรงหนุนในการทำร้ายทางอินเตอร์เน็ตคือ การกระทำนั้นจะมีสายตาจากสังคมเป็นเครื่องมืออีกต่อหนึ่ง สิ่งใดก็ตามที่ถูกปล่อยออกไปสู่โลกสังคมออนไลน์จะได้รับการพิพากษาจากสังคม เพราะอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเชื่อมต่อและการแพร่กระจายของข้อมูลไปไม่สิ้นสุด และข้อมูลนั้นจะไม่มีวันหายไปได้จริง สายตาจากสังคมนั้นเป็นได้ทั้งเครื่องมือในการทำร้ายเหยื่อและเป็นแรงหนุนให้บุคคลเกิดพฤติกรรมต่อเนื่องไปได้อีก

                ในกรณีนี้นั้น เรื่องๆหนึ่งจะกลายเป็นกระแสหรือประเด็นที่ถูกพูดถึงในสังคม การวิพากษ์วิจารณ์จะก่อให้เกิดไหลเวียนของประเด็นนั้นไม่จบสิ้น พฤติกรรมบนอินเตอร์เน็ตที่มุ่งทำลายตัวบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสถาบันก็ได้ใช้ปัจจัย สังคมพิพากษานี้เป็นเครื่องมือชิ้นหลัก ตัวอย่างเช่นในกรณี ก้านธูปหรือ แพรวาที่ถูกเผยแพร่พฤติกรรมและรูปภาพต่างๆและถูกวิพากษ์อย่างหนักก่อนจะเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายจริงๆ หรือในกรณีการปล่อยคลิปวิดิโอที่ไม่เหมาะสมของบุคคลสาธารณะ ซึ่งอาจมีจุดม่งหมายเพื่อความสนุกและให้เกิดความอับอาย

                ในกรณีที่การเชื่อมต่อเป็นแรงหนุนให้ผู้กระทำนั้น หมายถึงการรวมกลุ่มกระทำการของผู้ที่มีความคิดหรืออุดมการณ์คล้ายคลึงกัน เพื่อโจมตีเป้าหมายเดียวกัน ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ตัวอย่างง่ายๆก็คือกลุ่มบนเฟซบุ๊คของฝ่ายเสื้อแดงและเสื้อเหลือง ผู้เขียนขอยกตัวอย่างกรณีที่กลุ่มคนเสื้อแดงสร้างกิจกรรม งานฌาปนกิจศพ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะขึ้นในเฟซบุ๊ค มีการใช้รูปนายอภิสิทธิ์ซึ่งมีข้อความเขียนใต้รูปว่า ชาตะ 3 .. 2507 มรณะ 3 .. 2554 และมีผู้กดเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวกว่าหนึ่งพันคน

 

                จะเห็นได้ว่าการเชื่อมโยงทางอินเตอร์เน็ตก่อให้เกิดพลังผลักดันแก่ตัวผู้กระทำการและเป็นคมดาบโจมตีเป้าหมายได้อีกทอดอย่างง่ายดาย สิ่งที่เลวร้ายนั่นคือการกระทำต่างๆบนโลกเสมือนนั้นส่งผลกระทบออกมาสู่โลกความเป็นจริงได้ทั้งนั้น และหลายครั้งที่ความเป็นจริงนั้นทำให้เกิดความเสียหายและการสูญเสียที่น่าสลดใจ อย่างในกรณีประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีการใช้อินเตอร์เน็ตในการนัดหมายฆ่าตัวตายหมู่ หรือมีเว็บไซต์ที่สอนวิธีการฆ่าตัวตายในแบบต่างๆให้แก่ผู้สนใจ

                เมื่ออินเตอร์เน็ตกลายเป็นเครื่องมือของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ในส่วนของกฎหมายก็เกิด พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2550ขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี รวมถึงยังมีร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ..2554ซึ่งเป็นฉบับปรับปรุงของปี 2550 ในฉบับนี้นั้นมีการถกกันในกลุ่มคนใช้อินเตอร์เน็ตว่าเป็นการลิดรอนสิทธิประชาชนผู้ใช้มากไปหรือไม่ โดยในปี 2554 เครือข่ายพลเมืองเน็ต Thai Netizen Network (กลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่รวมตัวกันเพื่อสนับสนุนเสรีภาพออนไลน์และคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต) และ โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เป็นสองกลุ่มที่เคลื่อนไหวเพื่อยับยั้งร่างกฎหมายนี้

                อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา ผู้จัดการโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนนั้นกล่าวว่าอยากให้ประชาชนผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดการรับฟังความคิดเห็นที่รอบด้านมากขึ้น ส่วน สฤณี อาชวานันทกุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต และเจ้าของบล็อก fringer.org ได้แสดงความคิดเห็นว่าร่างกฎหมายนี้ไม่ได้สะท้อนเสียงผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตและผู้ใช้เลย

                “สังคมอินเตอร์เน็ตจะใช้แต่กฏหมายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเรียนรู้เรื่องมารยาท การเคารพสิทธิส่วนบุคคล และความปลอดภัยในการใช้อินเตอร์เน็ตด้วย กฏหมายช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดไม่ได้ เพราะปัจจุบันโลกไซเบอร์มันซับซ้อนกว่านั้น” สฤณีกล่าวไว้เช่นนั้น

                 ปัญหาในอินเตอร์เน็ตนั้นไม่ได้เป็นแค่ประเด็นของแต่ละประเทศ แต่ยังเป็นประเด็นโลกด้วย โดยเมื่อปี 2011ได้มีการจัดงานประชุมผู้นำอินเตอร์เน็ต e-G8 ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีผู้นำของโลกอินเตอร์เน็ตมาร่วมงานด้วย เช่นผู้บริหารของ Google และ Facebook เป็นต้น โดยประธานาธิบดีซาร์โกซีของฝรั่งเศสเห็นว่าอินเตอร์เน็ตต้องถูกจัดระเบียบ เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นโลกที่เป็นส่วนหนึ่งกับชีวิตผู้คน รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปดูแล หากแต่ทางฝ่ายสื่อ นักเคลื่อนไหวและซีอีโอได้ตอบโต้ว่าการที่รัฐพยายามจะเข้ามาควบคุมโลกอินเตอร์เน็ตนั้นไม่สมควร ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการออกกฎหมายอาจเป็นการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารที่เห็นว่าเป็นภัยแก่รัฐ ทั้งที่อาจมีประโยชน์ต่อประชาชนได้

                 การจะแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่สมควรทางอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นประเด็นที่มีความเปราะบาง เพราะมีความเกี่ยวเนื่องไปถึงสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ทั้งในเรื่องการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร หนึ่งกฎหมายมีผลบังคับใช้กับคนหมู่มาก จึงมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผู้เสียประโยชน์และผู้ได้ประโยชน์ แต่ผู้ตกเป็นเหยื่อของโลกอินเตอร์เน็ตนั้นหลายครั้งเป็นผู้ไร้เดียงสาเช่นเด็กและวัยรุ่นที่ยังขาดวุฒิภาวะในการใช้อินเตอร์เน็ต การออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองคนเหล่านั้นจึงเป็นเรื่องต้องกระทำ แต่ทั้งนี้ ผู้เขียนคิดว่าการออกกฎหมายอาจแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่งก็จริง แต่ก็เป็นการแก้ปัญหาที่เปลือกของปัญหา ไม่ใช่แก่นที่แท้จริง เพราะกฎหมายทำได้เพียงจัดการกับผู้กระทำผิด แต่อาจไม่ได้ลดแรงต้นเหตุของปัญหาให้เบาบางลง ทางแก้ไขที่ยั่งยืนที่ควรกระทำควบคู่กันไปคือการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี การสอนให้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้องและรู้เท่าทัน ประชาชนจะได้มีภูมิคู้มกันตัวเองและไม่ตกเป็นเหยื่อของโลกอินเตอร์เน็ตได้โดยง่าย

 

อ้างอิง

http://www.blognone.com/node/28415

http://www.ncvc.org/ncvc/main.aspx?dbName=DocumentViewer&DocumentID=32458

http://www.internetsafety101.org/cyberbullyingstatistics.htm

http://puresight.com/Cyberbullying/cyber-bullying-statistics.html

http://www.trustmarkthai.com/ifmportal/บทความนาสนใจ/บทความท3/tabid/271/Default.aspx

http://www.netsafe.org.nz/Doc_Library/netsafepapers_davidharvey_cyberstalking.pdf

http://www.carefor.org/content/view/643/2/

http://www.siamintelligence.com/sarkozy-internet-government/

http://www.komchadluek.net/detail/20110620/100821/แดงผุดเฟสบุ๊คฌาปนกิจมาร์ค.html

http://www.prachatai3.info/journal/2011/04/34116

http://www.komchadluek.net/detail/20111215/117758/รวบหนุ่มใหญ่ใช้เฟสบุ๊คหลอกฟันเด็ก.html

http://www.komchadluek.net/detail/20110928/110331/จับสามเณรฉาวเปิดเฟซบุ๊คลวง.html

Leave a comment »

ผลกระทบภายนอกเชิงลบของการเกิดขึ้นของ Internet การกระทำผิดและกฎหมาย – นายเสกสรร โรจนเมธากุล ID : 514 52586 28

 

อินเทอร์เน็ตหรือสื่อใหม่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อดีมากมายหลายประการที่ทำให้คนส่วนใหญ่ยอมรับ แต่เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่นและข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และโดยเฉพาะปัญหาที่มาจากบุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย  ซึ่งในปัจจุบันผลกระทบด้านร้ายที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตมีต่าง ๆ กันไปหลายรูปแบบ พอจะยกมาเป็นตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Cyber crime)

ถือเป็นความเสียหายรูปแบบแรก ๆ นับตั้งแต่โลกนี้มีคอมพิวเตอร์มาเลยก็ว่าได้ โดยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึงการกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย จะเห็นได้ว่าตามนัยความหมายนี้มุ่งมองที่การกระทำของคนที่มากระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์เป็นหลัก โดยอาชญากรที่ก่ออาชญากรรมเช่นนี้ถูกเรียกว่า “แครกเกอร์”

รูปแบบที่ระบบมักถูกโจมตีจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่พบบ่อย ๆ เช่น การสร้างให้ไวรัสคอมพิวเตอร์แพร่ระบาดไปในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยมีเจตนาที่จะสร้างความเสียหาย  ซึ่งก็ได้ส่งผลเสียหายให้องค์กรหลายแห่งเป็นมูลค่านับพันล้านบาท

การลักลอบเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ (Hacking/Cracking) การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชญากรรม เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการโอนเงินจากบัญชีธนาคาร จากบัญชีหนึ่งไปเข้าอีกบัญชีหนึ่ง โดยมีเจตนาทุจริต หรือการที่อาชญากรจะเขียนโปรแกรมแฝงในเอกสารเว็บ แล้วเมื่อผู้ใช้เรียกเว็บไซต์ดูบนเครื่องของตน โปรแกรมนั้นจะถูกดึงไปประมวลผล และทำงานตามที่กำหนดไว้ โดยที่ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าตนเองเป็นผู้สั่งรันโปรแกรมที่มีปัญหานั้นเอง

ขณะเดียวกันด้านกฎหมายก็มีกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่จะเข้ามาจัดการ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งมีลักษณะเป็นกฎหมายเฉพาะแต่ก็ติดปัญหาในด้านต่าง ๆ เมื่อนำมาใช้ เช่นในยุคไอทีนั้นข้อมูลข่าวสารเป็นวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เอกสารไม่ได้อยู่ในแผ่นกระดาษอีกต่อไป ซึ่งกฎหมายก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถเอาผิดผู้กระทำความผิดได้ หรือปัญหาเรื่องพยานหลักฐาน เพราะพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและกระทำได้ง่าย แต่ยากต่อการสืบหา รวมทั้งอาจสูญหายได้ง่ายอีกด้วย

นอกจากนี้ปัญหาเรื่องขอบเขตพื้นที่ก็มีความสำคัญ เพราะผู้กระทำความผิดอาจกระทำจากที่อื่น ๆที่ไม่ใช่ประเทศไทย ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจของศาลไทย ดังนั้นกฎหมายควรบัญญัติให้ชัดเจนด้วยว่าศาลมีเขตอำนาจที่จะลงโทษผู้กระทำผิดได้ถึงไหนเพียงไร และถ้ากระทำความผิดในต่างประเทศจะถือเป็นความผิดในประเทศไทยด้วยหรือไม่

การละเมิดลิขสิทธิ์

เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่มาพร้อมกับลักษณะเฉพาะของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้ เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการทำซ้ำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์เสียง ไฟล์ภาพ ไฟล์ข้อมูล ไฟล์สื่อผสม (multimedia) จึงก่อให้เกิดการกระทำที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาได้ง่าย และศักยภาพในการเผยแพร่งานสร้างสรรค์ของอินเทอร์เน็ตในลักษณะไร้เขตแดน ทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นไปได้ง่ายทั้งในการทำและการเผยแพร่ เช่น แค่เราคัดลอกหนังสักเรื่องโดยไม่ได้ซื้อแผ่นถูกลิขสิทธิ์ก็เท่ากับเราละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้ว

ปัจจุบันแม้แต่กฎหมายที่มีอยู่ ก็ไม่สามารถคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความสลับ
ซับซ้อนไปตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังกล่าวได้ เช่น ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง MP3 ที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในบ้านเรา เนื่องจากเทคโนโลยี MP3 สามารถบันทึกเสียงในรูปดิจิตอลที่มีขนาดข้อมูลเล็กกว่าเพลงที่บรรจุในแผ่นซีดีประมาณ 10 เท่า โดยที่ยังได้คุณภาพเสียงที่ดี ดังนั้นจึงมีการนำเพลง MP3 ไปไว้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้คนทั่วไปสามารถดาวน์โหลดไปฟังได้ นั่นก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการละเมิดลิขสิทธิ์

ประกอบกับการมีเครื่องเล่น iPod ที่ถือเป็นการปฏิวัติเครื่องเล่นเพลงของโลกก็ยิ่งทำให้แผ่นซีดีเพลงล้มหายตายจาก ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีนี้ไม่อาจมีค่ายเพลงไหนสามารถต้านทานได้ เมื่อยอดขายเพลงแบบดั้งเดิมหดหายไปแทบหมดสิ้น ในที่สุดก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับกระแสเทคโนโลยีโดยการหารายได้จากการให้ดาวน์โหลดไฟล์เพลงทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งก็ช่วยทำให้ค่ายเพลงยังอยู่รอดมาได้ ขณะที่พฤติกรรมการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการก๊อปปี้ก็ยังคงมีอยู่  แต่ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา และไม่ผิด (ในสังคมไทย) ไปเสียแล้ว

ผัวเมียหย่าร้าง
เรื่องสามี ๆ ภรรยา ๆ ไม่ว่าจะในแง่มุมไหนก็ตามเป็นเรื่องคลาสสิคคู่สังคมมาทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะเรื่องปัญหาหย่าร้างที่เมื่อจบกันด้วยไม่ดี กฎหมายก็จะต้องยื่นเข้ามาจัดการ สมัยก่อนเมื่อภรรยาจะฟ้องหย่าสามี ทนายจะทำงานกันหัวปั่นในการสืบค้นหลักฐาน อาทิ บิลซื้อเครื่องประดับ รูปถ่าย และ  อื่น ๆ ที่สามารถยืนยันถึงความสัมพันธ์ของสามีกับหญิงอื่น หลายครั้งก็ถึงกับต้องจ้างนักสืบอาชีพให้สืบเสาะหาพยานหลักฐานเหล่านี้ แต่ปัจจุบันสื่อออนไลน์ในโซเชียลเน็ตเวิร์กดูจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยทนาย ทำงานได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ (แต่ก็ต้องเชื่อ) เพราะเฟซบุ๊กคือหลักฐานแน่นหนาแบบที่ฝ่ายสามีดิ้นไม่หลุด ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ข้อความแชท หรือแม้แต่ปุ่ม Like ก็สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบในชั้นศาลได้

ข้อมูลส่วนหนึ่งจากสถาบันทนายความอเมริกันด้านการสมรสเปิดเผยว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาทนายความประจำสถาบันถึงร้อยละ 81 ใช้เนื้อหาและรูปภาพที่นำมาจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่าง ๆ มาเป็นหลักฐานในการฟ้องหย่าสามีภรรยา โดยแบ่งเป็นจาก Facebook ร้อยละ 66 , My Space ร้อยละ 15, Twitter ร้อยละ 5 และจากแหล่งอื่น ๆ เช่น Youtube เป็นต้น

มองในแง่ของสื่อใหม่ เรื่องนี้จึงอาจพอกล่าวได้ว่า คุณสมบัติในการเก็บบันทึกข้อมูล และความสามารถสืบค้นข้อมูลย้อนหลังได้อย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งที่ผู้คนอาจยัง “เฉลียว” ไปไม่ถึง ว่าในกรณีที่ตัวได้ทำเรื่องไม่เหมาะสมเอาไว้ ผลการกระทำจะย้อนกลับมาถึงตัวเองได้รวดเร็ว และสนับสนุนด้วยหลักฐานรายล้อมที่มัดตัวแน่นจนดิ้นไม่หลุด
การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต

เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ชัดเจนของผลด้านลบอันเกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ตหรือสื่อใหม่ ที่ร้ายแรงถึงขนาดทำให้ผู้ที่ถูกกระทำถึงแก่ชีวิตเลยทีเดียว เรื่องนี้มีกรณีศึกษาเป็นตัวอย่างหลายกรณี

เช่น เหตุการณ์ในปี 2544 เมื่อนักเรียนคนหนึ่งของโรงเรียนมัธยมชั้นนำในนิวยอร์กเปิดหน้าเว็บไซต์ เชิญชวนให้นักเรียนเข้าไปเขียนประจานเพื่อนนักเรียนด้วยกันว่าสำส่อน โดยเชิญชวนว่า “ในเมื่อไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นใคร คุณจะเขียนเกี่ยวกับใครก็ได้ตามต้องการ” มีคนเข้าไปร่วมลงคะแนนถึง 13,000 คนโดยมีชื่อนักเรียนประมาณ 150 คนให้เลือกซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงก่อนที่เว็บไซต์นี้จะถูกปิด

สภาพ “นิรนาม” (ไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นใคร) ดังกล่าวของอินเทอร์เน็ตยิ่งเพิ่มผลกระทบในทางลบกับเหยื่อที่ถูกกลั่นแกล้ง ให้มีอาการประสาทเสียได้เพราะไม่แน่ว่าคนที่กลั่นแกล้งอยู่อาจเป็นคนสนิทใกล้ตัวก็ได้ แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงต่อมา เป็นไปได้ว่าการกลั่นแกล้งกันผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้นด้วยอย่างสัมพันธ์กัน

ดังกรณีที่โด่งดังสำหรับเมืองไทยก็เช่น กรณีนางสาวก้านธูปที่โพสต์ข้อความในเฟ๊ซบุ๊กมีเนื้อหาเชิงไม่รักพระมหากษัตริย์ จนผู้ที่ไม่พอใจร่วมกันด่าว่าเธอในทางเสียหาย จนถึงกับแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสวัสดิภาพและชีวิตของนาวสาวก้านธูป รวมทั้งมีการขุดคุ้ยประวัติและรูปถ่ายตัวมาประจาน ซึ่งนับเป็นการกระทำที่เรียกว่า “ล่าแม่มด” ในโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งเกินเลยไปกว่าการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตธรรมดาไปสำหรับเมืองไทย เมื่อมีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง

งานวิจัยหนึ่งชี้ชัดว่าแง่มุมต่าง ๆ ของการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตส่งเสริมให้คนมีพฤติกรรมก้าวร้าวและกระตุ้นให้ทำในสิ่งที่พวกเขาไม่กล้าลองทำในชีวิตจริง สอดคล้องกับลักษณะของสื่ออินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงคนได้มากกว่า นั่นหมายถึงจะทำให้การกลั่นแกล้งผ่านทางอินเทอร์เน็ตอาจส่งผลเสียหายต่อเหยื่อมากกว่าการใช้วิธีทั่วไป

แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไรได้บ้าง เช่น เมื่อปี 2549 สหรัฐอเมริกาผ่านกฎหมายซึ่งกำหนดให้ “การสร้างความรำคาญ ทรมาน ข่มขู่ หรือคุกคาม” ผู้อื่นทางอินเทอร์เน็ตเป็นความผิดทางอาญา ส่วนเกาหลีใต้เริ่มใช้ “ระบบชื่อจริงบนอินเทอร์เน็ต” ซึ่งกำหนดให้เว็บท่ากับเว็บไซต์ข่าวบันทึกข้อมูลจริงของผู้ที่ส่งเนื้อหาเข้ามาและต้องเปิดเผยรายละเอียดที่จะติดต่อได้ของบุคคลนั้น หากมีใครต้องการฟ้องร้องคนเหล่านี้ด้วยข้อหาหมิ่นประมาทหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

ส่วน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 ของไทยกำหนดว่า “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข” หรือ “ผู้ใดนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย” ล้วนเป็นความผิดทางอาญาซึ่งมีบทลงโทษทั้งจำคุกและเสียค่าปรับตามข้อกำหนดในแต่ละมาตรา

หากไล่เป็นทีละกรณีไปนั้น พรบ.คอมพิวเตอร์มีทั้งข้อดีและข้อเสียมากมาย ซึ่งข้อเสียว่าก็เกิดจากช่องโหว่ทางกฎหมายที่ยังตามความก้าวหน้าของ Social media ไม่ทัน เช่น

–          การให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐอย่างมาก กรณีการยึดเครื่องได้เลยใน พรบ. คอมฯ การกระทำเช่นนี้ข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของเครื่องอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดอาจรั่วไหลได้

–          การนำข้อมูลเท็จสู่ประชาชนทำให้เกิดความเสียหายต่อชาติ แต่ “มุมมอง” ของคนมองเรื่องแตกต่างกัน เช่น มุมมองของเจ้าของเว็บที่มีคนมาโพสต์บอกว่าไม่ผิด แต่เจ้าหน้าที่รัฐมองว่าผิด “ความถูกต้องแท้จริง” อยู่ที่ใด         สรุปว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นั้น เป็น ” ดาบสองคม”  หากมีการนำไปใช้อย่างปกติทั่วไปหรือมีความชัดเจนแล้วไม่มีช่องโหว่ ในการดำเนินคดีกับผู้ที่เข้ามาละเมิดสิทธิหรือทำลายข้อมูลในคอมฯ หรือดำเนินคดีกับอาชญากรรมทางเศรษฐิจ ก็เป็นเรื่องดี    ” แต่เมื่อไหร่ ที่มีการนำมาใช้เป็น “เครื่องมือทางการเมืองหรือเอามาใช้แบบมีช่องโหว่ มีความไม่ชัดเจน ” ก็จะกลายเป็น “อาวุธร้าย” ได้เหมือนกัน”

เอกสารอ้างอิง :

http://blog.eduzones.com/banny/3743

http://www.lawyerthai.com/articles/it/043.php

http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=2123 ข้อกฎหมาย+กฎหมายต่างประเทศ (ละเมิดลิขสิทธิ์)

http://variety.thaiza.com/Facebook-

http://women.kapook.com/view28589.html

Leave a comment »

มหันตภัยในสังคมออนไลน์…เรื่องจริงผ่านจอ

ชยากรณ์ กำโชค 5245031528  ภาควิชาการสื่อสารมวลชน

อินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเมื่อนานมาแล้ว แต่ไม่ได้นานขนาดตั้งแต่ยังพูดไม่เป็นภาษา แต่ก็พูดได้เต็มปากว่า อินเตอร์เน็ทและผม..เราโตมาด้วยกัน อินเทอร์เน็ตมีวิวัฒนาการในตัวเองเช่นเดียวกับผู้ใช้มันอย่างพวกเราทุกคน จะว่าไปแล้วอินเทอร์เน็ตมันก็เป็นของมันอย่างนี้ เพียงแต่สมองอันชาญฉลาดของมนุษย์ต่างหากทีประดิษฐ์คิดค้นสารพัด เมื่อเจ้าอินเทอร์เน็ตผนวกกับอุปกรณ์ล้ำสมัยก็กลายเป็นเสมือนหนึ่งอวัยวะที่คนเราขาดไม่ได้ในยุคปัจจุบัน โลกที่ทุกคนเสพ Social Media

เดี๋ยวนี้ต้องยอมรับว่าคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตต่างๆ ล้วนเชื่อมโยงคนทั่วโลกด้วยโครงข่ายอินเทอร์เน็ตสู่โลกใบเดียวกันอย่างไร้พรมแดนขีดกั้น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางที่ทำให้คนเราอยู่ในสังคมเดียวกัน แม้ทุกคนจะมีเครื่องมือที่เหมือนกันแต่เครื่องมือไม่ใช่ตัววัดคุณภาพของคนในสังคมออนไลน์แต่อย่างไร Social Media ก็เหมือนโลกจริงของเราทุกประการ โลกที่ไม่มีคำว่าอุดมคติ ไม่มีโลกสวย ในทุกสังคมย่อมปะปนไปด้วยไปด้วยคนดีที่จะนำพาซึ่งความเจริญ และคนไม่ดีที่จะนำพาความอันตรายมาให้

อินเทอร์เน็ตก็เสมือนหนึ่งความศิวิไลซ์ของโลกมนุษย์ที่ทำให้โลกใบนี้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันโลกใบนี้ก็ชักอยู่ยากขึ้นทุกวันเช่นกัน

นั่งทบทวนประสบการณ์การใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตตั้งแต่สมัยเป็นเน็ตdial-up พบว่าเมื่อครั้งอยู่ในวัยใสเป็นเด็กมัธยมcopy ความรู้จากกูเกิ้ลส่งครูโดยไม่ได้อ่าน วันนั้นคำว่าอันตรายในโลกออนไลน์คือ เว็บโป๊!

มาคิดดูอีกทีตอนนี้ เว็บโป๊…….มันอันตรายตรงไหน(วะ)?

สิ่งหนึ่งที่โลกอุดมคติต้องยอมรับ คือ เรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่งั้นคงไม่มีมนุษยชาติเกิดมาเพื่อสรรสร้างโลกสวยใบนี้ เพราะฉะนั้นถ้าหากผู้ใดตีตราว่าเว็บโป๊ว่าเป็นสิ่งผิดกฏหมายหรือไม่เหมาะสมกับโลกออนไลน์ ผู้นั้นคงต้องพิจารณาตัวเองนิดนึงว่า เหตุฉไนตนเองจึงสถิตอยู่บนโลกแห่งนี้ได้

ขอถามแรงๆหน่อยซักครั้ัง ถามแล้วอยากร้องไห้คุณเปิดเว็บโป๊สัปดาห์ละกี่ครั้ง? (ไม่ต้องถามแล้วว่าเคยหรือไม่เคย) แต่ก็ต้องยอมรับว่าในสังคมไทยที่เฟื้องฟุ่งด้วยศีลธรรม ผดุงด้วยหลักธรรมะของพระบวรพุทธศาสนา เกิดเป็นกรอบจารีตของวัฒนธรรมไทย เรื่องเพศเป็นเรื่องที่ไม่ควรแสดงออกอย่างเปิดเผยในพื้นที่สาธารณะ ในสังคมออนไลน์ก็เช่นกัน การเปิดเผยในเรื่องดังกล่าวยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่

อย่าว่าแต่เว็บโป๊ที่(อาจจะ)มีภาพยนตร์ที่มีการร่วมเพศอย่างโจ่งครึ่ม หรือภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นถึงอวัยวะทุกส่วนสัดโดยไม่จำเป็นต้องมีอาภรณ์คุมร่างเลย แค่ผู้หญิงตัวเล็กๆร้องเพลงโชว์บนเวทียังโดนคนค่อนประเทศด่ามาแล้ว (แต่ก็เห็นดูก่อนด่าทั้งนั้น)

น้องจ๊ะคันหู หรือนางสาวนงผณี มหาดไทย อายุ 20 ปี นักร้องสาววงเทอร์โบ เจ้าของบทเพลง คันหู ที่เธอนำมาดัดแปลงใหม่ในสไตล์ของตัวเอง เรียกเสียงฮือฮาและยอดผู้ชมใน youtube ได้ว่าสองล้านครั้งในเวลาเพียงไม่กี่วัน

การที่นักร้องสาวนุ่งน้อยห่มน้อยโชว์ร้องเพลงที่มีความหมายกำกวมส่อในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ประกอบการครวญคราง ซี้ดซ้าด” เป็นผลให้กระแสตอบรับจากการชมวีดิโอดังกล่าวเป็นในทางลบ โดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในสังคมในช่วงแรก โดยสังคมลืมคำนึงไปว่าการแสดงดังกล่าวอยู่ในพื้นที่สาธารณะที่ผู้ชมเลือกชมโดยสมัคร และความจริงแล้วเรื่องเพศในสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วสังคมไทยพื้นบ้านนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมชาติ เปิดเผย เป็นเรื่องตลกโปกฮา และมีขีดจำกัดในตัวของมันเอง

จนการแสดงดังกล่าวถูกทำสำเนามายังโลกออนไลน์ มิหนำซ้ำยังถูกนำเสนอผ่านสื่อกระแสหลักอีกด้วย ความไร้พรมแดนของอินเทอร์เน็ตทำให้เธอโด่งดังในช่วงข้ามคืน แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าเหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ตามในโลกใบนี้ เมื่อเข้าสู่โลกออนไลน์จะเกิดกาละเทศะใหม่และถูกตัดสินด้วยมารยาทดังกล่าวทันที

กระแสคันหูพาเธอไปยังรายการสัมภาษณ์ชื่อดัง สุดท้ายตัวตนที่แท้จริงของเธอก็ได้นำเสนอนำไปสู่ความเข้าใจจากประชาชนในสังคมออนไลน์ และตามมาด้วยวีดิโอคันหูมากมายอีกหลายเวอร์ชั่น

เมื่อย้อนกลับไปที่เว็บโป๊ ซึ่งในที่นี่หมายถึงเว็บไซต์ที่มีการนำเสนอภาพการร่วมเพศหรือภาพโป๊เปลือย เว็บโป๊ยังคงไม่ได้รับการยอมรับ แต่ไม่ได้หายไปไหน เว็บโป๊ยังคงแผงตัวเป็นสังคมใต้ดินเจริญเติบโตไปพร้อมกับเว็บทั่วไป เมื่อไม่มีไฟก็ไม่มีควัน ปฏิกิริยานี้แสดงให้เห็นว่ายังมีคนที่เสพและปลดปล่อยเรื่องตัณหาราคะด้วยเพศออนไลน์อยู่ทั่วไป

ทัศนะส่วนตัวมองว่าถ้าหากเว็บไซต์ประเภทดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น เช่น หลอกลวงเอาทรัพย์สิน ค้ามนุษย์ อะไรก็ตามแต่ การที่มันยังคงมีมาและจะมีต่อไปมิใช่เรื่องเสียหาย ถ้าเปรียบโลกออนไลน์เหมือนสวนสาธารณะและเอามารยาทของคนทั่วไปเป็นที่ตั้ง ถ้าหากคนที่เดินสวนกับเราเปลือยล่อนจ้อน อีกคนกำลังช่วยตัวเองริมสระน้ำ ส่วนคู่รักคู่หนึ่งกำลังร่วมรักกันพุ่มไม้ในเวลาเย็น คงเป็นภาพที่น่าตกใจไม่น้อย แต่การกระทำที่กล่าวมาจะไม่ใช่เรื่องผิดหากกระทำในพื้นที่ส่วนตัวและไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่นในพื้นที่ส่วนรวม เปรียบเทียบกับ youtube ที่ไม่มีวิดีโอร่วมเพศหรือโป๊เปลือยหรือบางเนื้อหาที่ล่อแหลมก็จะป้องกันไว้สำหรับสมาชิกที่มีอายุมากกว่า 18 ปี

อีกประเด็นที่น่ากังวล คือ เด็กและเยาวชน วัยที่กำลังเรียนรู้ สะสมประสบการณ์และยังน้อยด้วยวิจารณาญาณ สวย/ไม่สวย ผิดหรือชอบ เราเคยผ่านวัยที่อยากรู้ อยากทดลองคงเข้าใจว่าเรื่องเพศก็เป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะฉะนั้นการป้องกันเด็กและเยาวชนน่าจะเป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้ใหญ่ควรใส่ใจอย่างใกล้ชิด บนพื้นฐานของโลกความจริงที่ว่า เด็กวัยนี้ใกล้ชิดกับอินเทอร์เน็ตมากกว่าผู้ใหญ่ เรื่องแอบดูมีอยู่แล้ว แต่ผู้ใหญ่จะดูแลอย่างไร

ปัญหาของเด็กและเยาวขนที่น่ากังวลคือการเลียนแบบพฤติกรรมทางเพศโดยขาดวิจารณาญาตจนเกิดเป็นปัญหาอาชญกรรม

แคมฟรอกคือซอฟท์แวร์ที่มีการแลกเปลี่ยนภาพและเสียงผ่านเว็บแคมทางอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันแคมฟรอกมีการพูดคุย ประชุมกลุ่ม พูดคุยในเรื่องที่สนใจ การสื่อสารในหมู่ผู้พิการทางการได้ยิน แม้กระทั่งการร่วมเพศออนไลน์ แคมฟรอกได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ซอฟท์แวร์นี้เคยเป็นกระแสวิจารณ์อย่างหนักในสังคมในประเด็นที่อาจเป็นลู่ทางอย่างง่ายในการค้าประเวณีออนไลน์ ปัจจุบันหน่วยงานของรัฐได้กันบางส่วนของแคมฟรอกที่มีการแสดงทางเพศอย่างเปิดเผยสำหรับบุคคลที่มีอายุมากกว่า 18 ปี

เว็บบอร์ดเป็นหนึ่งสิ่งที่อยู่คู่กับเว็บไซต์ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ในเมืองไทยเว็บบอร์ดที่ได้รับความนิยมสูงสุดและสามารถเกิดเป็นกระแสสังคมบ่อยครั้งคือ พันทิปดอทคอม ปัจจุบันเว็บไซต์ดังกล่าวก้าวสู่ปีที่ 15 ถ้าเปรียบเป็นคนคนหนึ่งก็กำลังเติบใหญ่ มีความคิดความอ่านเป็นของตัวเอง การได้รับความนิยมของพันทิปมาอย่างต่อเนื่องยาวนานแสดงให้เห็นว่าชาวเน็ตทั้งหลายให้การต้อนรับ พันทิปเป็นเหมือนสังคมใหญ่ที่รวมตัวคนไทยร้อยพ่อพันแม่จากหลายจังหวัดไปจนจากทั่วทุกมุมโลก ชาวเน็ตที่กำลังพูดคุยเรื่องที่ตนสนใจเฉพาะด้าน ผลัดกันถาม ผลัดกันตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคม

พื้นฐานหลักของสังคมประชาธิปไตยคือเสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็นโดยไม่มีผู้ใดบงการความคิดเห็นดังกล่าวของตนได้ พันทิปรวมถึงเว็บบอร์ดอื่นๆทำหน้าที่ของมันได้อย่างดีในการเป็นพื้นที่สาธารณะให้สังคมได้ถกเถียงกัน จากเว็บบอร์ดสู่ Social Media ทั้ง facebook, twitter และอื่นๆ ทั้งหมดเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าโลกออนไลน์เป็นเสมือนโลกแห่งความเป็นจริงในการแสดงคิดเห็นส่วนบุคคล เผลอๆอาจเป็นยิ่งกว่าโลกแห่งความเป็นจริงก็เป็นได้ เหรียญย่อมสองด้านฉันใด สื่อกลางในโลกออนไลน์ก็นำพามาสู่ความอันตรายเช่นกัน

มั่นใจคนไทยหนึ่งล้านคนเคยกดไลค์เพจที่ขึ้นต้นด้วยคำว่ามั่นใจท้ังหลายแหล่

ในทัศนะส่วนตัวเชื่อมั่นอย่างแรงว่า การแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ในบางครั้งของบางคนย่อมมาจากการไหลตามน้ำ กล่าวคือการเชื่อมั่นไปตามกระแสสังคม บ้างก็เกิดจากการถูกโน้มน้าวชักจูงโดยง่าย ฟังความข้างเดียว เลือกฟังสื่อที่ตนพอใจโดยไม่สนใจฟังสื่อให้รอบด้าน และเชื่อมั่นเหลือเกินว่าการกระทำของคนในโลกออนไลน์เป็นจะแสดงออกรุนแรงกว่าตัวตนในชีวิตจริง

ภาวะที่เรียกว่าอารมณ์ชั่ววูบเกิดขึ้นง่ายมากในโลกอินเทอร์เน็ต ในหลายครั้งการรับสื่อและมีทัศนะกับมันอย่างรวดเร็ว ยิ่งโดยเฉพาะเรื่องที่ตนสนใจเป็นพิเศษยิ่งแสดงออกอย่างรวดเร็วมาก ในช่วงเหตุการณ์ทางการเมืองพฤษภา’53 เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ดีเยี่ยมเรื่องการแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยอารมณ์อารมณ์ชั่ววูบเพียงคลิกไลค์หน้าเพจ มั่นใจคนไทย…” ที่แตกกระจายอุดมการณ์มากมายหลายเพจจนติดตามแทบไม่ทัน

กระทั่งปรากฏการณ์การลงทัณฑ์ทางสังคม (Social Sanction) หรือเรียกสั้นๆว่า ล่าแม่มด ที่เห็นบ่อยตามเว็บบอร์ดชื่อดังหรือทำได้ง่ายๆเพียงตั้งเพจไว้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน

การลงทัณฑ์ทางสังคมเป็นกระบวนการหนึ่งในทางสังคมวิทยาที่เป็นเรื่องปกติเกิดขึ้นได้ทั่วไปเหมือนการดุด่าว่ากล่าวหรือการสั่งสอนจากบิดามารดา ต่างเพียงแต่สังคมรอบนอกกระทำต่อคนหนึ่งเท่านั้น การล่าแม่มดที่ยกตัวอย่างได้ชัดเจน เช่น ก้านธูปนางสาวณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ เด็กสาวที่แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาใน facebook ส่วนตัว ก้านธูปแสดงวาทกรรมพาดพิงสถาบันอันเป็นที่เคารพสักการะของสังคมไทย ต่อมาเมื่อสามารถสอบแอดมิชชั่นและสามารถศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าเกิดการประท้วงจากกลุ่มคนที่ไม่พอใจต่อวาทกรรมที่เด็กสาวคนนี้เคยแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา กลุ่มผู้ประท้วงยกเหตุผลว่าคุณสมบัติของผู้ที่จะศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐต้องเป็นผู้ที่ยึดมั่นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” สุดท้ายก้านธูปถูกตัดสิทธิ์ในการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยศิลปากรตามลำดับ ปัจจุบันเธอศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หรือกรณีศึกษาเรื่องการล่าแม่มด”ที่เด็ดชัดอีกกรณีคือ สาวซีวิคซิ่งรถพุ่งชนรถตู้โทลล์เวย์ผู้โดยสารตายกว่า 10 ชีวิต ภายหลังทราบว่าสาวซีวิคคือเยาวชนอายุเพียง 17 ปี ทายาทตระกูลชื่อดัง จากการที่เธออายุไม่ถึง 18 ปี จึงได้รับการคุ้มครองจากกฏหมายในอันที่จะห้ามนำเสนอข้อมูลส่วนตัวในสื่อ เป็นผลให้เกิดความอยากรู้ของผู้รับข่าวทั่วไป เมื่อผสมกับความเกลียดชังในการกระทำอันไม่เหมาะสมจึงทำให้เกิดปรากฏการณ์หาตัวผู้ทำผิด เช่น การหาภาพถ่ายที่แท้จริงของเธอ การเผยแพร่ภาพเธอกำลังกดโทรศัพท์หน้ารถที่เพิ่งชนอย่างยับยู้ยี้ หรือการกดดันจากภาคประชาสังคมให้ลงโทษเธออย่างสาสมโดยไม่ควรได้รับความช่วยเหลือเนื่องจากเป็นทายาทไฮโซ

สำหรับผมเองมองเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของอารมณ์ส่วนบุคคลของผู้รับสารที่เมื่อได้รับการเร้าอารมณ์และผลิตซ้ำความคิดเดิมๆจากสื่อต่างๆยิ่งทำให้เกิดความเกลียดชังกันมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติในกระบวนการสื่อสาร วิธีทางแก้ไขควรยกให้เป็นหน้าที่ของสื่อกระแสหลักหรือสื่อมวลชนโดยวิชาชีพที่สามารถเข้าถึงผู้รับสารในวงกว้าง และผู้รับสารก็เชื่อถือว่าสารที่มาจากสื่อมวลชนวิชาชีพคือสิ่งที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นสื่อใหม่ที่ว่าเข้าถึงคนเยอะๆและสามารถสร้างปรากฏการณ์ได้นั้น บางทียังเข้าถึงคนได้ในวงกว้างและมีความน่าเชื่อถือมากกว่า

ที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นบทบาทที่มากกว่าพื้นที่สาธารณะของเว็บบอร์ดและเว็บไซต์ต่างๆที่เป็นพื้นที่แสดงความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต แน่นอนว่าการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีอาจสร้างความวิตกให้กับโลกประชาธิปไตยแบบไทยๆ ดังนั้นจึงเกิดการควบคุมเนื้อหาหรือเรียกง่ายๆว่า การปิดเว็บ โดยหน่วยที่ควบคุมเรื่องดังกล่าวโดยตรง 3 พยางค์สั้น ไอซีที (ICT) หรือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ก่อตั้งเมื่อปี 2545 ในสมัยรัฐบาล พ... ทักษิณ ชินวัตร

 

จริงๆแล้วการปิดกั้นสื่ออยู่คู่กับประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับรัฐบาล ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกระจายเสียงอย่างวิทยุหรือโทรทัศน์ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและตรวจตราของรัฐบาลอย่างเข้มงวด แต่เมื่อโลกได้ก้าวมาอีกหนึ่งขั้นในวันที่สื่ออยู่ในมือของทุกคน ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อได้อย่างเสรี ยิ่งไปกว่านั้นประชาชนยังสามารถเป็นโทรโข่งกระจายเสียงได้ด้วยตนเองอีกด้วย เช่นนี้แล้วการควบคุมจึงทำได้ยากยิ่งขึ้น

หนึ่งสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในเรื่องการควบคุมการจราจรในโลกออนไลน์ คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2550 ซึ่งบัญญัติบทลงโทษสำหรับผู้เผยแพร่รวมทั้งทำสำเนาข้อมูลที่มีเนื้อหาหลักๆ คือ เผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จ เผยแพร่ข้อมูลอันขัดต่อความมั่นคงของชาติ หรือเผยแพร่ข้อมูลที่ทำให้ประชาชนตื่นตระหนก โดยอาศัยดุลยพินิจของรัฐ

ข้อความสรุปความผิดจากพระราชบัญญัติดังกล่าวเพียงคร่าวๆไม่กี่ประโยคข้างต้นก็เล่นเอาคนใช้อินเทอร์เน็ตไม่กล้าเอามือแตะเมาส์กับคีย์บอร์ดเสียแล้ว ก็ถ้าวันหนึ่งเราเกิดคลิกเข้าไปดูวีดิโอหนึ่งที่มีเนื้อหากว้างมากอย่าง ขัดต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร” โดยที่ไม่ทราบมาก่อนหรือมีเจตนาเช่นนั้น แต่คอมพิวเตอร์ที่ใช้ก็ได้ทำสำเนาเรียบร้อยแล้ว คุณคือผู้ทำผิดตามพ...คอมพิวเตอร์! (โอ้ยผิดกันทั้งประเทศ)

มีอีกหนึ่งสิ่งทีเพลียกว่าคือการบัญญัติความผิดถึงผู้ดูแลระบบ ถ้าหากเพียงมีผู้ไม่ประสงค์ดีต่อเว็บบอร์ดหรือเว็บไซต์หนึ่งโดยการกระจายข้อมูลอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ เจ้าของเว็บไซต์หรือผู้ดูแลระบบดังกล่าวถือว่ามีความผิด ลองคิดเล่นๆว่าถ้าผู้ไม่ประสงค์ดีคนดังกล่าวนึกสนุกไปทำกับเว็บไซต์ของกระทรวงไอซีที ศาล หรือสำนักงานแห่งชาติ คงสนุกไม่หยอกเหมือนกัน สรุปโดนจับกันหมด (เพลีย!)

เจาะข่าวตื้น -วิพากษ์พ.ร.บ.คอม

นายวิญญู วงศ์สุรวัฒน์ หรือ จอห์น ผู้ดำเนินรายการเจาะข่าวตื้นแสดงความคิดเห็นอย่างน่าสนใจว่า การบัญญัติความผิดครอบจักรวาลอย่างในพ...คอมพิวเตอร์ไม่สามารถจับผู้กรรทำความผิดคนได้ทุกคน พิธีกรคนดังกล่าวเปรียบเทียบกฎหมายดังกล่าวกับการห้ามขี้ โดยไม่ได้ระบุว่าห้ามขี้ที่ไหน อย่างไร เพียงแต่ห้ามขี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับทุกคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตกระทำผิดด้วยกันทั้งหมด แต่มีไว้จับผิดคนที่ต้องการให้มีความผิดเท่านั้น

การกระทำดังกล่าวถือเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตได้น่ากลัวเสียยิ่งกว่าการโชว์โป๊เปลือย เล่นพนันออนไลน์ หลอกหลวงประชาชน หรือการปลุกระดมทางการเมืองเสียอีก เนื่องจากเป็นการใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้องของกระบวนการตุลาการอันเป็นหนึ่งในสามของสถาบันของอำนาจอธิปไตย อำนาจที่ควรธำรงยุติธรรมและประชาธิปไตย

อีกสถาบันหนึ่งทางสังคมที่ควรทบทวนบทบาทของตนเองเมื่อปรับตัวเข้าสู่สื่อใหม่ในโลกอินเทอร์เน็ต คือ สื่อมวลชน ในโลกของสื่อใหม่ที่คนธรรมดาสามารถเป็นสื่อได้ด้วยตัวเอง เมื่อพบเห็นเรื่องใดหรือมีความคิดเห็นต่อสิ่งไหนย่อมเผยแพร่หรือแสดงออกได้โดยเสรี แต่มีหนึ่งวิชาชีพที่ยังถูกถกเถียงถึงเรื่องบทบาทในสังคมออนไลน์

นางสาวฐปนีย์ เอียดศรีชัย ผู้สื่อข่าวสาวชื่อดังจากข่าวมิติ ปัจจุบันเธอถูกระงับการนำเสนอข่าวการเมือง เนื่องจากเธอเคยอัพโหลดภาพทหารใช้ปืนจ่อตำรวจเมื่อครั้งเหตุการณ์ทางการเมืองพฤษภา’53 ฐปนีย์หรือน้องแยมแสดงความคิดเห็นวถึงบทบาทของสื่อมวลชนในโลกออนไลน์ว่า สื่อมวลชนก็คือคนธรรมดาคนหนึ่งที่มีจิตใจและความคิดเห็นต่อเรื่องทั่วไป ยิ่งในโลกออนไลน์เธอก็คือบุคคลหนึ่งที่มีเสรีภาพเต็มที่ในการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องต่างๆซึ่งรวมถึงเรื่องการเมือง แม้เสรีภาพสื่อยังถูกริดรอนแล้วจะเหลืออะไรกับเสรีภาพของการเป็นมนุษย์

เพราะฉะนั้นการรู้เท่าทันสื่อจึงเป็นเรื่องที่ควรทำมาตลอดตั้งแต่อดีต ยิ่งในปัจจุบันที่สื่อก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทุกวัน

ในโลกอินเทอร์เน็ตที่เป็นโลกขนาดใหญ่ เผลอๆใหญ่กว่าประเทศมหาอำนาจ และทรงมหาอำนาจของจริง โลกใบนี้ไม่มีเส้นพรมแดนขีดกั้นเหมือนแบ่งเขตประเทศ ทุกคนอยู่ในโลกเดียวกัน ฉะนั้นโลกออนไลน์ใบนี้ย่อมเต็มไปด้วยเรื่องราวหลากหลาย และไม่ใช่โลกสมมติ แต่มันคือโลกจริงที่คนในสังคมคือคนที่มีชีวิตและจิตใจ และโลกออนไลน์มิใช่โลกอุดมคติ เพราะฉะนั้นต้องยอมรับว่าอันตรายในโลกอินเทอร์เน็ตไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมการมีอินเทอร์เน็ต แต่เกิดขึ้นพร้อมคนที่ใช้ประโยชน์ เรื่องดีและเลวย่อมปะปนกันไป

ในวันหนึ่งที่เรามองว่าภาษาวิบัติคือเรื่องร้ายแรงต่อวัฒนธรรมของชาติ ครุคริ งิงิ ในขณะที่บางคนไม่เสพยาบ้าแต่เสพเฟซบุ๊คหรือเกมส์ออนไลน์แทร บางคนกังวลว่าสื่อใหม่เป็นจะเครื่องมือของพวกล้มเจ้า @#$%^&!

ต้องคำนึงไว้เสมอว่าไม่ว่าหายนะจากอินเทอร์เน็ตจะร้ายแรงเพียงใด แต่มันคือเรื่องจริงผ่านจอ

(อาจจะผ่านไปแล้ว ผ่านไปเลย)

อ้างอิง

http://forum.serithai.net/viewtopic.php?f=2&t=21095&start=50

http://report.thaihotline.org/inform.php?act=ls&dontHeader=1

http://www.manager.co.th/politics/viewnews.aspx?NewsID=9550000001731

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3

Leave a comment »

ทุกสิ่งอัน…ที่เรามิได้เอื้อนเอ่ยต่อกันในโลกออนไลน์

ลองสำรวจตัวเองดูว่า สิ่งแรกที่ทำตอนตื่นเช้ามาและก่อนเข้านอนไปคืออะไร?

ไม่แปลกเลยที่เหล่ามนุษย์ในยุคศตวรรษ 21 ซึ่งเต็มไปด้วยความเร่งรีบวุ่นวายของกระแสโลกาภิวัตน์จะตอบว่าพวกเขาตื่นขึ้นมาเช็คเฟซบุ๊คเป็นอันดับแรก ก่อนจะพิมพ์ข้อความ “อรุณสวัสดิ์เช้าที่สดใส” แล้วกด tweet ส่งไปให้คนหลายร้อยคนที่ก็พร้อมใจกันทำเช่นเดียวกัน และก็ไม่ผิดอะไรที่เขาจะกล่าวราตรีสวัสดิ์กับคนที่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันมาก่อน

ดูเหมือนว่าทุกวันนี้เราจะมีความสามารถในการสื่อสารกับทุกคนบนโลกได้จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาไม่แปลกเลยที่เหล่ามนุษย์ในยุคศตวรรษ 21 ซึ่งเต็มไปด้วยความเร่งรีบวุ่นวายของกระแสโลกาภิวัตน์จะตอบว่าพวกเขาตื่นขึ้นมาเช็คเฟซบุ๊คเป็นอันดับแรก ก่อนจะพิมพ์ข้อความ “อรุณสวัสดิ์เช้าที่สดใส” แล้วกด tweet ส่งไปให้คนหลายร้อยคนที่ก็พร้อมใจกันทำเช่นเดียวกัน และก็ไม่ผิดอะไรที่เขาจะกล่าวราตรีสวัสดิ์กับคนที่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันมาก่อน

Facebooklism” คือคำที่ใช้เรียกบุคคลที่เสพติดการออนไลน์อยู่ในโลกเฟซบุ๊คเพื่อคอยอัพเดทสถานการณ์และรูปแบบการใช้ชีวิตของเขาในแต่ละนาที คอยตอบ comment หรือกด like สถานะที่เพื่อนในโลกออนไลน์ตั้งขึ้น พวกเขาเหล่านี้ยังยอมเสียเงินแพงๆ เพื่อซื้อ Smartphone หรือ Gadget ใหม่ๆ ที่จะเอื้อให้เขาเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ได้ตลอดเวลา เพื่อจะรักษาความสัมพันธ์ในโลกออนไลน์นั้นไว้ต่อไป

ใช่…ความสัมพันธ์ในโลกออนไลน์ที่ไม่เหมือนกับความสัมพันธ์ในโลกจริง

เป็นความจริงนิรันดร์ที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องการการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น พัฒนาการของการสื่อสารของมนุษย์เริ่มต้นจากการพูดคุยกันต่อหน้า การเขียนจดหมาย การโทรศัพท์ จนเมื่อเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ตจึงพัฒนาสู่อีเมล์ และท้ายสุดเมื่อการสื่อสารในโลกไร้พรมแดนอย่างเครือข่ายประชาสังคมออนไลน์เดินเข้ามา ก็ได้พลิกโฉมรูปแบบการสื่อสารของมนุษย์ไปอย่างสิ้นเชิงทั้งในเชิงพฤติกรรมและผลกระทบของมัน

อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต่างๆ หรือที่ผู้คนในวัยทำงานเรียกโรคนี้ว่า ‘Office Syndrome’ นั้นเป็นผลกระทบหนึ่ง ความวิตกกังวล รวมถึงโรคสมาธิสั้นอันเนื่องมาจากพฤติกรรมแบบ Multitasking เช่นการคอยเช็คเฟซบุ๊คอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ทำกิจกรรมอย่างอื่นไปด้วย แน่นอนว่าพฤติกรรมเหล่านี้ยังส่งผลถึงการเรียนและการทำงานของบุคคลอย่างไม่ต้องสงสัย เช่นข่าวที่พนักงานสาวจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ถูกไล่ออกจากงานหลังจากนายจ้างจับได้ว่าเธอออนไลน์เฟซบุ๊คกในวันหยุดลาป่วย

(ดูคลิปข่าวได้ที่ http://www.buzzidea.tv/watch.php?id=747)

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียมีส่วนช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายดายและสะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ การนัดประชุมหรือสนทนาผ่าน Video call, Skype หรือ Facetime ที่ทำให้เราเห็นหน้ากันได้เหมือนว่าอยู่ข้างๆ ทั้งที่ห่างไกลกัน ความสามารถที่ถูกพัฒนาขึ้นทุกวันทำให้เราเลือกจะสื่อสารกับบุคคลอื่นผ่านการกดลงบนแป้นพิมพ์ สนทนากับภาพเสมือนบนหน้าจอสี่เหลี่ยมเล็กใหญ่

บางครั้งจนกลายเป็นหลายครั้ง เราพบว่า…เราได้สูญเสียความสามารถในการเอื้อนเอ่ยออกไปแล้ว

Infographics นี้แสดงถึงพฤติกรรมการ add friend และ remove friend ของผู้ใช้เฟซบุ๊ค โดย 82% ของการขอเป็นเพื่อนในโลกออนไลน์เพราะว่าพวกเขารู้จักกันในชีวิตจริงด้วย หากแต่ก็ยังมี 7% เช่นกันที่บางครั้งเราเป็นเพื่อนกันโดยไม่เคยรู้จักตัว (Friend everyone)

ส่วนของการ remove friend พบว่า 55% เกิดขึ้นจากบุคคลแสดงความคิดเห็นไม่เป็นที่พอใจแก่ผู้ใช้ ในขณะที่ 41% ยอมรับว่าไม่มีเหตุผลแน่ชัดของการขอเลิกเป็นเพื่อน

บางทีความสัมพันธ์ในโลกออนไลน์ก็ดูเปราะบางเกินไป จนเราไม่อาจแน่ใจได้เลยว่า…เพื่อนคนที่เรากำลังสนทนาผ่านโปรแกรมอยู่ด้วยเป็นเพื่อนคนเดียวกันกับที่เรารู้จักในชีวิตจริง

โลกเปลี่ยนไปมากจนเราสามารถเห็นข่าวสามีภรรยาเลิกรากันเนื่องจากจับได้ว่าอีกฝ่ายนอกใจในเฟซบุ๊คได้ จาก Infographics พบว่า 33% ของการเลิกราเกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตั้งสถานะว่าตนเอง “โสด” รวมถึงยังพบว่าพฤติกรรมการบอกเลิกผ่านช่องทางของสื่อใหม่ ไม่ว่าจะเป็น SMS, E-mail, หรือ Facebook มีมากถึง 40% แทนที่จะเป็นการบอกเลิกกันต่อหน้า

ความสัมพันธ์บนโลกออนไลน์กำลังทำลายระบบความสัมพันธ์แบบเดิมของมนุษย์ ด้วยเหตุผลที่ว่ามันเป็นความสัมพันธ์แบบ “ปลอดภัย” มากกว่า และมนุษย์เราก็ขี้ขลาดพอที่จะกลัวความเสี่ยง หากว่ามีทางเลือกที่เปิดกว้างให้สามารถแสดงความคิดเห็น แสดงตัวตนออกมาได้อย่างอิสระโดยละทิ้งหรือหลงลืมขนบธรรมเนียมเดิมของการติดต่อสื่อสารระหว่างกันไปได้ เราก็เลือกมันโลกเปลี่ยนไปมากจนเราสามารถเห็นข่าวสามีภรรยาเลิกรากันเนื่องจากจับได้ว่าอีกฝ่ายนอกใจในเฟซบุ๊คได้ จาก Infographics พบว่า 33% ของการเลิกราเกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตั้งสถานะว่าตนเอง “โสด” รวมถึงยังพบว่าพฤติกรรมการบอกเลิกผ่านช่องทางของสื่อใหม่ ไม่ว่าจะเป็น SMS, E-mail, หรือ Facebook มีมากถึง 40% แทนที่จะเป็นการบอกเลิกกันต่อหน้า

“เมื่อเธอไม่รู้จักฉัน และฉันก็ไม่รู้จักเธอ” คือคำอธิบายที่พอเหมาะพอดีของโลกออนไลน์ เราต่างอยู่ในผับบาร์ที่ไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่ามีใครพูดอะไรถึงเราบ้างในนั้น และเราก็เป็นคนหนึ่งเช่นกันที่พูดถึงคนมากมายโดยไม่ได้กลัวเกรง บางครั้ง สิ่งที่แสดงออกไปก็เลยคล้ายเป็นภาพลวงตา เป็นภาพสลัวที่เรามองไม่ชัดเจน

หรือบางทีก็สว่างจ้าจนเกินไป

จากงานวิจัยของ Soraya Mehdizadeh นักจิตวิทยาจาก York University ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของนักศึกษาหญิงและชาย พบว่าการเล่นเฟซบุ๊คมีแนวโน้มทำให้วัยรุ่นอาจเกิดอาการผิดปกติทางจิตในลักษณะ Nacissictic Personality Disoder (NPD) เช่น การรู้สึกนิยมนับถือตัวเองสูง (Highly self-esteem) ทั้งด้วยการเสนอภาพตัวตนของตัวเองมากเกินไป (Aggressively self-promoting) รวมถึงมีความต้องการการถูกเอาใจใส่หรือชื่นชมมากขึ้น (Need for admiration, and lack of empathy)

ไม่แปลกหรอกที่เยาวชนไทยหลายคนก็กำลังเป็นอาการเดียวกันนี้ เห็นได้จากการที่พวกเขาคัดสรรรูปภาพแสดงตัวตนที่ดีที่สุด เขียนอธิบายหน้าที่การงาน ระดับการศึกษาและความสนใจของตัวเองในหัวข้อ about me เพื่อเป็นพื้นที่แสดงตัวตนและจุดยืนของพวกเขาให้คนบนโลกออนไลน์ได้รับทราบ รวมถึงพฤติกรรมไม่พอใจหากไม่มีเพื่อนคนไหนกด like หรือ comment สถานะที่เขาอัพเดทไปจากงานวิจัยของ Soraya Mehdizadeh นักจิตวิทยาจาก York University ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของนักศึกษาหญิงและชาย พบว่าการเล่นเฟซบุ๊คมีแนวโน้มทำให้วัยรุ่นอาจเกิดอาการผิดปกติทางจิตในลักษณะ Nacissictic Personality Disoder (NPD) เช่น การรู้สึกนิยมนับถือตัวเองสูง (Highly self-esteem) ทั้งด้วยการเสนอภาพตัวตนของตัวเองมากเกินไป (Aggressively self-promoting) รวมถึงมีความต้องการการถูกเอาใจใส่หรือชื่นชมมากขึ้น (Need for admiration, and lack of empathy)

บางทีเราอาจต้องรู้ว่าการแสดงท่าทีตอบรับในโลกออนไลน์ไม่ได้หมายความว่าเขาคนนั้นรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ แต่มันเป็นเพียงแค่ความเอาใจใส่เสมือน (Virtual empathy) ที่เราคงหวังหรือเก็บอะไรจริงจังไม่ได้

ในโลกออนไลน์มีอะไรบ้างที่เป็นความจริง? หรือจะมีแต่เพียงความหลอกลวง?

ความสัมพันธ์บนโลกออนไลน์ที่ดูง่ายดาย เข้าถึงสะดวก และปลอดภัย ทำให้พื้นที่นี้กลายเป็นพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยน เรียนรู้  ระบาย…รวมถึง “ใส่ร้ายป้ายสี” ระหว่างกันโดยไร้ซึ่งจริยธรรมใดๆ ควบคุม

ความขัดแย้งที่รุนแรงทางการเมืองไทยในช่วงห้าหกปีที่ผ่านมาจึงเป็นชนวนชิ้นใหญ่ที่จุดให้ไฟที่เคยใช้ในการเผาหญิงสาวที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดในยุคสมัยกลางช่วงศตวรรษที่ 15 ลุกโชนขึ้นมาอีกครั้ง และครั้งนี้มันเผาไหม้ในเมืองที่มีผู้คนเรียกกันว่าศิวิไลซ์

ภาคประชาสังคมดูเหมือนจะมีบทบาทรุนแรงที่สุดในการขยายลัทธิการล่าแม่มดในยุคศตวรรษที่ 21 นี้โดยอาศัยช่องทางของสื่อออนไลน์ที่คงไม่ได้ตั้งใจเกิดขึ้นเพื่อตอบรับพฤติกรรมเหล่านี้ แต่อย่างที่เราก็รู้กันว่าสื่อทำหน้าที่ได้เพียงส่งสารออกไป แต่มนุษย์ต่างหากที่กำหนดว่าสารเหล่านั้นจะเป็นเช่นไร

สารที่เกิดขึ้นจากการขุดคุ้ยประวัติส่วนตัวของบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น “แกะดำ” ในสังคม ถูกนำมาเผยแพร่ในลักษณะของการประจาน ก่อนจะถูกปลุกปั่นและสร้างความเกลียดชังด้วยกระแสสังคมและสื่อมวลชน กรณีเหล่านี้มีให้เห็นมากมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยกตัวอย่างกรณีที่เขย่าขวัญผู้คนทั่วโลกในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ก็คือเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศรวันดา ที่ชาวรวันดาเชื้อสายทุตซี่ (Tutsi) กว่า 500,000 คน ถูกกวาดล้างฆ่าโดยรัฐบาลหัวรุนแรงเชื้อสายฮูตู (Hutu) ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ในสังคม โดยก่อนจะเกิดเหตุการณ์นี้ วิทยุของรัฐบาลได้นำเสนอเนื้อหาที่สร้างความเกลียดชังชาวทุตซี่และมีแม้แต่เพลงที่เขียนขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์แบบนี้เปิดออกอากาศอย่างแพร่หลาย

สื่อมวลชนปฏิเสธได้จริงหรือกับข้อหาที่ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างความเกลียดชัง และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน สื่อออนไลน์กลับกลายเป็นพื้นที่เปิดกว้างอย่างเสรีและยากที่จะควบคุมยิ่งขึ้น เช่นในหน้าเพจ Social Sanction: ยุทธการลงทัณฑ์ทางสังคม” ที่ยังคงจับตามองการเคลื่อนไหวของบุคคลที่มีพฤติกรรมวิพากษ์วิจารณ์สถาบันหรือในลู่ทางที่เป็นการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง และอาศัยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นข้ออ้างของการกระทำที่บางครั้งก็ทำร้ายกันจนเกินพอดี

ตัวอย่างกรณีของ “ก้านธูป” ที่เคยเป็นข่าวใหญ่เมื่อสองปีก่อนคงสามารถอธิบายได้ เมื่อล่าสุดเธอถูกสังคมจับตามองอีกครั้งหลังจากที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับเธอเข้าเป็นนักศึกษาโดยไม่สนใจการกระทำที่เป็นการดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เหตุผลว่า “ไม่มีกฎข้อบังคับใดของมหาวิทยาลัยบอกว่า นักศึกษามธ. ต้องเคารพชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” รวมถึงอธิการบดี มธ. ยังเน้นย้ำเรื่องการให้โอกาสคนมากกว่า ตราบใดที่ศาลยังไม่สามารถตัดสินได้ว่า “ก้านธูป” ทำผิดจริงหรือไม่

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเหยื่อรายต่อไปที่จะถูกยกขึ้นมาพูดถึงจะเป็นใคร

 

เมื่อสื่อมวลชนกลายเป็นช่องทางเอื้อให้ขบวนการนี้ถูกขยายออกไปสู่สังคมเรื่อยๆ โดยปราศจากซึ่งการพิจารณารับรู้ข่าวสารของบุคคล การสร้างข่าวเพิ่มเติมหรือแม้กระทั่งบุคคลที่แค่เพียงตามกระแสสังคมไปเพียงเท่านั้น และเมื่อพิจารณาตัวบทกฎหมายของประเทศไทยที่มีการบัญญัติไว้เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ถูกกล่าวหาจากสังคม ก็ดูจะเป็นกฎหมายที่กำหนดไว้อย่างกว้างๆ เช่นความผิดฐานละเมิดในมาตรา 420 ของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ของกฎหมายอาญา

กฎหมายสำคัญจริงๆ ซึ่งถูกตราขึ้นในช่วงที่สังคมไทยก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านสู่สื่อใหม่คือพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่เข้ามาเพื่อควบคุมพฤติกรรมเกี่ยวกับการโจรกรรมข้อมูลทางคอมพิวเตอร์หรือการส่งต่อข้อมูล/ภาพ/เสียง/สื่อผสมที่เป็นเท็จหรือปลอม อันจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ได้

แต่ที่น่าตกใจคือมันกลับเป็นพระราชบัญญัติที่ถูกประชาชนและสังคมจ้องที่จะแก้ไขให้ได้มากที่สุด เพราะการมีอยู่ของมันเสมือนเป็นกำแพงตั้งตระหง่านที่คอยปิดกั้นมิให้ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงออกได้อย่างเสรีทั้งที่มีช่องทางของข้อมูลที่กว้างใหญ่ไพศาลอย่างโลกอินเทอร์เน็ตนี้อยู่ในมือแล้ว รวมถึงในส่วนของการสอดส่องดูแลเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม การทำงานของรัฐบาลที่จะตรวจสอบข้อมูลในโลกออนไลน์ที่มีเป็นล้านๆ ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

เมื่อศาลสูงไม่ได้ดั่งใจ ประชาชนเองจึงเลือกที่จะใช้บรรทัดฐานของตนหรือกลุ่มตนเท่านั้นมาตัดสินชะตาชีวิตของคนคนหนึ่งในสังคม…จะด้วยรู้จักกันหรือไม่ก็ตาม

ศาลเตี้ยเกิดขึ้นมากพอแล้วในสังคมไทยปัจจุบัน

ถึงเวลาแล้วที่สังคมต้องให้คำตอบว่าจะดำเนินการจัดการขบวนการล่าแม่มดในโลกไซเบอร์นี้อย่างไร?

 

ณ ตอนนี้คงไม่มีใครเข้าไปหยุดการเติบโตของโซเชียลมีเดียที่พัฒนาไปในทุกๆ วันได้ และพวกเราเองก็ไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าอยากให้มีใครเข้าไปหยุดมันจริงๆ ไหม มนุษย์คงถามหาแต่การก้าวไปข้างหน้าและสรรหาสิ่งใหม่ๆ คงไม่มีใครอยากถอยหลังลงคลอง

สิ่งสำคัญจึงตกอยู่ที่ตัวเราแต่ละคนที่จะจัดการชีวิตให้อยู่กับเทคโนโลยีเหล่านี้ให้สมดุลอย่างไร โดยเริ่มจากการจัดการความสัมพันธ์ทั้งในโลกจริงและโลกเสมือนให้ได้อย่างดี เพราะความสัมพันธ์บนโลกออนไลน์บางครั้งก็สามารถพัฒนาให้ยืนยาวได้หากต่างคนต่างมีวิถีปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสมและพอใจที่จะรักษาระยะห่างที่พอดีไว้

ระยะห่างที่พอดี จึงหมายรวมถึงว่าต้องให้เวลากับคนที่เราพบเจอกันทุกวันด้วย

จะผิดอะไรไหมหากยกคำโฆษณาของเครือข่ายโทรศัพท์ยี่ห้อหนึ่งมา เพราะมันเป็นความจริงที่สุดที่ว่าไว้ Disconnect to Connect”

มีใครอีกหลายคนที่เขาก็ยังมีความสัมพันธ์กับเรา โดยที่เขาไม่ได้อยู่ในโลกออนไลน์

มีใครอีกหลายคนที่ก็ไม่ได้ต้องการความเอาใจใส่จอมปลอม ไม่ได้ต้องการการตอบสนองทุกการกระทำแค่ต้องการให้กลับมาดูแลซึ่งกันและกัน…ก็พอ

สื่อใหม่ในโลกออนไลน์ก็ไม่ได้เกิดมาเพื่อทำลายการติดต่อสื่อสารรูปแบบเดิมไปเสียหมด มันยังคงมีข้อจำกัดอะไรในตัวมันที่ความสัมพันธ์แบบที่เรานั่งประจันหน้ากันทำได้ดีมากกว่า

อย่างน้อยที่สุด…คือดวงตาและรอยยิ้มที่เขาหรือเธอคนนั้นส่งมา…ให้กับเรา

เราไม่ได้ต้องการคำพูดหรือตัวอักษรบรรยายความรู้สึกออกมาเสมอไป

 

การเลือกถอยห่างออกมาจากโลกออนไลน์นั้นคงทำให้เรามองเห็นสังคมในปัจจุบันชัดเจนขึ้นว่ากำลังอ่อนแอขนาดไหน บางทีอาจเป็นพวกเรา…ประชาชนเองที่ต้องรับเอาวัคซีนที่ชื่อว่า “ความเข้าใจ” ใส่เข้าไปในสมองและหัวใจให้มากขึ้นเพื่อเยียวยาสังคมให้หายจากการป่วยไข้ โดยมีสถาบันสื่อมวลชนเป็นนางพยาบาลที่จะเป็นผู้ฉีดวัคซีนนั้น ในฐานะสถาบันที่สามารถกำหนดความเคลื่อนไหวของสังคมได้ว่าจะให้ไปในทิศทางใด อาศัยการร่วมมือของผู้ช่วยพยาบาลภาคประชาสังคมและองค์กรทั้งรัฐบาล เอกชน และองค์กรอิสระต่างๆ เช่นเครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) ที่เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในโลกออนไลน์อย่างชอบธรรมที่พร้อมขับเคลื่อนให้ความสามารถของสื่อออนไลน์ถูกนำมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วยอาศัยตัวบทกฎหมายที่ต้องถูกแก้ไข จริยธรรมของสื่อมวลชน และท้ายที่สุด…วิถีปฏิบัติของคนในสังคมต่อเพื่อนมนุษย์อย่างสันติวิธี

เราคงห้ามใครไม่ให้รู้สึก ไม่ให้แสดงความคิดเห็นไม่ได้

แต่สิ่งที่ทำได้ คืออย่าทำร้ายกันและกันเสมือนว่าเขาไม่ใช่มนุษย์

เราก็เกิดมาเหมือนกันทุกคน และก็ยังคงมีชีวิตอยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้เหมือนกันทุกคน

หรือถ้าเขาจะเป็นแม่มดจริงๆ

มีกฎบังคับข้อใดของสังคมหรือที่บอกว่ามนุษย์กับแม่มดอยู่ร่วมกันในสังคมไม่ได้

 

ข้อมูลอ้างอิง
“Facebook Use May Lead to Psychological Disorder in Teen [STUDY].” เข้าถึงได้จาก: http://mashable.com/2011/08/08/facebook-teens-study/.
Is Facebook Feeding Your Personality Disorder?” เข้าถึงได้จาก: http://goodmenproject.com/health/is-facebook-feeding-your-personality-disorder/.
Online Relationship: Pleasures. Pressures and Pitfalls.” เข้าถึงได้จาก: http://advice.lovedetour.com/amateurexpert/online-relationships-pleasures-pressures-and-pitfalls.html.
 “การล่าแม่มด ‘คนคิดต่าง’ 2010 บนโลกไซเบอร์.” เข้าถึงได้จาก:  http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/samyan/20100520/116675/การล่าแม่มด-คนคิดต่าง-2010-บนโลกไซเบอร์.html.html.
’ก้านธูป’ และม.112 เมื่อชีวิตใหม่ในมธ. ดิ้นไม่หลุด ‘การล่าแม่มด’.” เข้าถึงได้จาก: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1325843339&grpid=no&catid=&subcatid=.
“จะทำยังไงกับลัทธิล่าแม่มดใหม่ใน ค.ศ. 2010.” เข้าถึงได้จาก: http://www.enlightened-jurists.com/directory/55/sawatree_2.html.
“ผลสำรวจเผยว่า Facebook เป็นสาเหตุทำให้เลิกกัน.” เข้าถึงได้จาก: http://www.i-squares.com/wp/ผลสำรวจเผยว่า-facebook-เป็นสาเห/#.TxGaSqVd7l5.
“รายงาน: พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ คุ้มครองหรือละเมิดสิทธิ”. เข้าถึงได้จาก: http://prachatai.com/journal/2011/04/34231.
 “โรคติด Facebook (Facebooklism).” เข้าถึงได้จาก: http://www.siamfunny.com/show/341252/.
 

นายภาณุพันธ์ วีรวภูษิต

ภาควิชาวารสารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 รหัส 524 50963 28

E-mail: phanuphan.v@gmail.com, Twitter: @iamdozenist

Leave a comment »

“ผลกระทบภายนอกด้านลบ (negative externality) ที่เกิดจากการใช้ social media ในมิติทางการเมืองของนักการเมืองและคนในสังคม และมิติทางกฎหมาย” -นางสาววิมลพร รัชตกนก 5145257028

“ผลกระทบภายนอกด้านลบ (negative externality) ที่เกิดจากการใช้ social media ในมิติทางการเมืองของนักการเมืองและคนในสังคม และมิติทางกฎหมาย”

มิติทางด้านการเมืองของนักการเมืองและคนในสังคม

“การสร้างภาพลักษณ์ของนักการเมืองผ่าน Social Media ภาพลักษณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เราเชื่อ”

เราสามารถสร้างตัวตนเป็นใครก็ได้หรือสร้างเราในแบบที่เราอยากจะเป็น สำหรับใน Social Media แล้วมันเป็นไปได้ นั่นเพราะตัวตนของคนที่ผ่านการใช้ Social Media เป็นเครื่องมือนั้น อาศัยปัจจัยเพียงไม่กี่อย่าง อย่างที่สำคัญที่สุดคือ “ถ้อยคำและประโยค” ที่เราบอกผ่าน Social media เหล่านั้น เป็นสิ่งที่ปฏิเสธได้ยากที่จะมีผู้คนที่ต่างสร้างอัตลักษณ์ของตนเองผ่านการปรุงแต่งถ้อยคำประโยคเพื่อเสริมให้ตนเองดูดี แล้วอาชีพอย่าง “นักการเมือง” ที่ส่วนหนึ่งต้องอาศัยความเคารพนับถือ ความศรัทธาจากคนในสังคม ย่อมเป็นอาชีพหนึ่งที่ต้องพึ่งพา Social Media ในการใช้ประโยชน์เพื่อความก้าวหน้าทางอาชีพของตน

สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ “ภาพลักษณ์” ที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นเป็นภาพลักษณ์จริงแท้แค่ไหนของเขา  เราคงไม่มีทางรู้ได้ นอกเสียจากจะได้เข้าไปสัมผัสตัวตน การทำงาน การใช้ชีวิตของนักการเมืองคนนั้นๆจริงๆ อย่างไรก็ตามภาพลักษณ์ที่ปรากฏบน Social Media นั้นก็เป็นภาพลักษณ์ที่ทำให้ผู้คนสามารถสัมผัสนักการเมืองได้ใกล้ชิดมากที่สุดอีกทางหนึ่ง เพราะ Social Media อย่าง Internet หรือ Social Network อย่าง Facebook ได้สร้าง “บ้านของนักการเมือง” ที่เปิดให้ผู้คนได้เข้าไปพูดคุย แวะเยี่ยม ทักทายและแสดงความนิยมชมชอบผ่านการเดินผ่าน หน้าบ้านอย่าง กระดานข่าว Facebook ซึ่งหน้าบ้านของแต่ละคน คงไม่มีใครอยากจัดบ้านให้คนอื่นมองไม่ดี มีแต่อยากจะให้บอกต่อว่า บ้านเราหรือเราดีแค่ไหน

ซึ่งผลเสียของกรณีนี้คือสามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น จากในข่าวนี้

และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ขอให้บรรดาแฟนคลับ ช่วยกันคลิกหาเพื่อนเพิ่มคนละ 1 ราย

ในบางกรณีหากผู้ที่ถูกส่งต่อให้กดไลค์ไม่ได้เป็นผู้ที่ถูกใจในตัวนายกยิ่งลักษณ์จริงจัง แต่ถูกเพื่อนบอกให้กดไลค์ การกดไลค์หนึ่งครั้งก็ช่วยเพิ่มยอดหนึ่งคน  แสนครั้งก็แสนคน 5หมื่นคนในแสนครั้งอาจไท่ได้ชอบ แต่การกดไลค์ก็เป็การแสดงสถิติ “การชอบพอ” ที่แสดงชัดเจนสถิติหนึ่ง ผู้คนที่เชื่อถือในสถิตินั้นก็จะเกิด “ตัวเลือกของการตัดสินใจที่เพิ่มขึ้นในตัวนักการเมืองคนนั้นๆ” ซึ่งผลเสียที่ตามมาคือ หากภาพลักษณ์ที่นักการเมืองคนนั้นๆสร้างไม่ได้เป็นความจริง ไม่ได้ดีจริง หรือการช่วยกดไลค์ที่เพิ่มความน่าสนใจในตัวนักการเมืองที่ทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเปลี่ยนใจหรือเพิ่มทางเลือก “การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็เกิดได้ แม้จะได้คนที่ไม่ดีจริงตามภาพลักษณ์บน Social Media ก็ตาม”

ซึ่งการ “สื่อสารทางตรง” ของนักการเมืองในการใช้ Social Media เช่นนี้สร้างความแตกต่างจากที่ผ่านมา ที่การแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นของนักการเมืองที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์นั้นมักจะเกิดจาก “การถูกสัมภาษณ์” ผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ แล้วนักการเมืองคู่แข่งก็ค่อยออกมาตอบโต้ แล้วบรรดากองเชียร์ก็ค่อยมาตามอ่านหรือดูการสัมภาษณ์แล้วค่อยตามมาวิจารณ์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้กลับแตกต่างออกไป นักการเมืองมี “เส้นทางสายตรง” ของการสื่อสารสู่กองเชียร์ ลงในพื้นที่บ้านหรือ Facebook ของตนเอง ซึ่งในบางกรณี ผู้ที่เข้ามาพบการแสดงตัวตนของนักการเมืองอย่าง Status  ใน Facebook กลับไม่ใช่สื่อมวลชนที่มาพบก่อนแต่เป็นบรรดากองเชียร์นั่นเอง

ทำให้ สื่อมวลชนหลายแขนงก็กลายมาเป็นดังเช่นประชาชนทั่วไปที่เปลี่ยนสถานะจากสื่อที่ควบคุมเบ็ดเสร็จไปเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ส่วนหนึ่ง  ไม่ได้มีพลังในการ “แชร์” อะไรเท่ากับประชาชนหรือเหล่ากองเชียร์ด้วยซ้ำ แล้วเราจะปฏิเสธได้หรือว่า กรณีแบบนี้จะไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในแง่ลบที่ขาดการตรวจสอบอะไรๆในตัวนักการเมืองได้ยากยิ่งขึ้น ดังนั้นอีกไม่นาน เราคงได้เห็นนักการเมืองที่เข้าใจถึงธรรมชาติของ Social Network อย่างถ่องแท้ และสามารถสร้างประเด็นข่าว (set agenda) ด้วยเพียงข้อความไม่กี่บรรทัดใน Social Network ส่งผลสะเทือนกับเกมการเมืองของประเทศ

 “ความเกลียดชังในตัวนักการเมือง สู่การ แชร์ ภาพความจริงตามที่ตนเชื่อ”

ในทางกลับกัน นักการเมืองที่ถูกเกลียดชังจากกลุ่มคนที่มีผลประโยชค์ทางการเมืองหรือจะด้วยอคติ การถูก “ตัดสิน” บน Social Media ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  ซึ่งการเกิดความผิดพลาดเรื่องของการให้ข้อมูลที่เร็วเกินไปจนขาดการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อความที่สั้นที่จนขาดบริบททำให้บางครั้งสื่อผิดความหมาย หรือแม้แต่ภาพๆเดียว การส่งต่อข้อความที่สามารถส่งต่อกันไปอย่างรวดเร็วมากนั้นเปรียบเหมือนการแพร่ของไวรัส (Viral Effect) นำมาซึ่งปัญหาในกรณีที่ข้อมูลที่ถูกสื่อสารต่อๆ กันไป เป็นข้อมูลเท็จ เป็นข่าวปล่อย ข่าวลือ ที่ยังการขาดตรวจสอบ นักการเมืองนั้นๆก็จะเกิด ภาพลักษณ์ในทางลบ

ดังเช่นในกรณี รูปนายกยิ่งลักษณ์เดินลุยพื้นที่น้ำท่วม ในเครื่องแต่งกายแบบ Fashion รองเท้าราคาแพง เดินบนทางไม้ที่ชาวบ้านปูให้เหนือหัวที่ถูกน้ำท่วม  ภาพนี้ถูกวางเปรียบเทียบกับภาพของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายก โดยกลายเป็นหัวข้อสนทนาที่แพร่หลายว่า “สองคนนี้แตกต่างกันจริงๆ อดีตนายกยังดูลุยกว่านายกหญิงคนนี้” “นายกหญิงคนนี้วัตถุนิยม” “นายกหญิงคนนี้…” ในขณะที่คนที่เข้าใจในกรณีการสร้างความเกลียดชังให้กับนักการเมืองในกรณีนี้จริงๆ จะตีความหมายของภาพและสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นได้มากกว่า ตัวอย่างเช่น

มิติทางด้านกฎหมาย

          เนื่องจากนิสิตผู้เขียนเป็น Freelance ในการรับจัดทำเว็บไซต์ และมีเว็บไซต์อยู่ภายใต้การดูแลกว่า 20 เว็บไซต์ (websiteหน้าร้านของนิสิต www.koala-cafe.com) รวมถึงเคยได้ทำนิตยสารและได้สัมภาษณ์ คุณวันฉัตร ผดุงรัตน์ เว็บมาสเตอร์ pantip.com ถึงกรณีการปิดกั้นเว็บไซต์และเนื้อหาต่างๆบนเว็บไซต์เมื่อเดือน ธันวาคม 2553  และพบว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุดนี้มีช่องโหว่อยู่มากโดยเฉพาะเรื่องของนิยามต่างๆซึ่งส่งผลเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการเว็บไซต์ทั่วไปในการดูแลและจัดการข้อมูลเว็บไซต์หรือสมาชิกในเว็บไซต์ของตน

ซึ่งปัจจุบันมีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งการเจาะระบบ การฉ้อโกง การเผยแพร่ข้อมูลที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย  ทางภาครัฐจึงได้ออก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ลงโทษผู้กระทำผิด แต่คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นระบบที่มีความซับซ้อนสูงและเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบวิชาชีพเว็บไซต์จึงรู้สึกไม่มั่นใจถึงข้อกฎหมายในหลายประเด็น อาทิเช่น

– นิยามของ “ผู้ดูแลระบบ” ครอบคลุมถึงใครบ้าง ผู้ที่เป็น Admin ของ Facebook Page ถือเป็นผู้ดูแลระบบด้วยหรือเปล่า
– การส่ง Spam Mail เพื่อประโยชน์ทางการค้าจนก่อความรำคาญให้ผู้อื่น ควรจะครอบคลุมถึง Spam Tag บน Facebook หรือ Spam Mention ทาง Twitter ด้วยหรือเปล่า
– เจ้าของเว็บที่มีผู้ใช้เว็บโพสต์รูปลามกของเด็กหรือเยาวชนเข้ามา ถือเป็นผู้ครอบครองข้อมูลลามกและมีความผิดด้วยหรือเปล่า

ซึ่งความสอดคล้องของเหตุผลในการสั่งปิดกับตัว พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นั้นจากการค้นหาข้อมูลเราจะพบว่ามีช่องโหว่งทางกฎหมายอยู่มากมาย และความครอบคลุมของนิยามต่างๆในการเอาผิดผู้กระทำผิดนั้นก็ไม่กระจ่างชัด

ตัวอย่างข่าวกรณีศึกษา :

Source : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=315652

หลังจากที่ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และอุทยานการเรียนรู้ (ทีเคปาร์ค) ร่วมกันจัดงานเสวนา จิบกาแฟคนทำเว็บ หัวข้อ “ทำเว็บอย่างไร(ไม่)ให้ติดคุก กรณีศึกษา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ “ เมื่อวันที่ 23 ส.ค.2551 ที่ผ่านมา โดยมีผู้ดูแลเว็บไซต์ชื่อดัง ที่ธุรกิจเกือบพังเพราะเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น (User-generated content) ได้แก่ นายศิระ สัจจินานนท์ (ฮันท์) ผู้ดูแลเว็บไซต์ Diaryis.com นายลภากร หัสดิเสวี ผู้อำนวยการฝ่ายไอที บริษัท ตลาด ดอท คอม จำกัด และ นายศิริพร สุวรรณพิทักษ์ เจ้าของเว็บไซต์www.212cafe.com ที่ได้นอนคุกฟรีหนึ่งคืน หลังจากที่มีผู้ใช้เอารูปอนาจารมาโพสต์ลงเว็บบอร์ด จนถูกดำเนินคดีตาม พรบ.ฉบับดังกล่าว

เวทีสัมมนานี้มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานอย่างหนาแน่น เต็มความจุของห้องออดิทอเรียม ของอุทยานการเรียนรู้ หรือ ทีเคพาร์ค ไม่ว่าจะเป็นเว็บมาสเตอร์เจ้าของเว็บไซต์ชื่อดัง ผู้ดูแลระบบ บล็อกเกอร์ หรือ คนทำบล็อก นักโพสกระทู้ และนักศึกษากฎหมายระดับปริญญาโท เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันกับวิทยากร บนเวทีทั้งกรณีการถูกจับกุม โดยข้อหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของค่ายเพลง สินค้าแบรนด์เนม การออกแบบเว็บไซต์ ลิขสิทธิ์ในรูปภาพ และตัวอักษร และการเลือกใช้ลิขสิทธิ์ของเจ้าของเว็บไซต์

นายศิระ หรือ ฮันท์ เจ้าของเว็บไซต์ ไดอารี่อีส (www.diaryis.com) เล่าให้ฟังว่า สำหรับประสบการณ์ที่เฉียดการถูกดำเนินคดี เพราะเป็นเจ้าของเว็บไซต์ ที่มีสมาชิกนำเอาเพลงของค่ายเพลง จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จนทำให้ทางแกรมมี่ส่งหนังสือแจ้งเตือนมา ว่าจะมีการดำเนินคดีหากยังนำเพลงของทางค่ายไปให้บริการ โดยตัวผู้ดูแลไม่ได้เป็นคนเอาเพลงไปโพสต์ แต่คนที่เขียนไดอารี่ต่างหากที่โพสต์ ทั้งนี้เว็บไดอารีอีสก็ยินดีที่จะช่วยเหลือค่ายเพลงในการดูแลเพลงลิขสิทธิ์อยู่แล้ว แต่ส่วนตัวมองว่าการที่ค่ายเพลงมีหนังสือว่าจะดำเนินคดีกับเจ้าของเว็บไซต์ เป็นกลเม็ดหนึ่งที่เว็บมาสเตอร์จะรีบนำเอาเพลงเหล่านั้นออกไปจากระบบเร็วที่สุด

เจ้าของเว็บไซต์ ไดอารี่อีส อธิบายต่อว่า ทางเว็บไซต์ก็มีการเก็บล็อกไฟล์ของตัวเจ้าของไดอารี่ทุกคน สามารถตรวจสอบได้ แต่เวลาค่ายเพลงมาจับเขาไม่ได้ขอล็อกไฟล์ดู เนื่องจากเขาใช้กฎหมาย พรบ.ลิขสิทธิ์ ไม่ใช่ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ฯ เท่ากับว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเลือกใช้กฎหมายใดก็ได้เข้ามาจับกุม ล่าสุดก็มีการเจรจากับทางจีเอ็มเอ็ม เขาอยากให้เอาโค้ดเพลงแบบเอมเบดเด็ด ไปแปะที่ไดอารี แลกเปลี่ยนกับแบนเนอร์ ถือเป็นการให้ประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตามเวลาโดนจับขึ้นไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจแต่ละครั้ง กว่าจะอธิบายให้ตำรวจเข้าใจว่า เจ้าของเว็บไซต์เป็นแค่ผู้ให้บริการก็เหนื่อยมาก

นายศิระ กล่าวอีกว่า ส่วนการใช้บริการอื่นๆ เช่น ให้ดาวน์โหลด หรือ โค้ดเพลงจากไอมีม (www.imeem.com) หากเป็นเพลงแกรมมี่ก็ย่อมผิดกฎหมายเช่นเดียวกัน ควรใช้โค้ดที่ทางแกรมมี่เผยแพร่ดีกว่า นอกจากนี้ยังอยากฝากถึงเรื่องการใช้ลิขสิทธิ์เว็บไซต์ หรือที่มีการระบุว่า “Copy Right All” อาจเป็นเหตุให้คนทำเว็บต้องถูกจับได้ เนื่องจากเวลานี้มีช่างภาพอิสระมากมายร้องเรียนว่า มีการนำเอาภาพถ่ายไปโพสต์ลงเว็บไซต์ต่างๆ โดยไม่รับอนุญาต ก็อาจจะถูกฟ้องร้องตามมาได้ จึงอยากให้เว็บมาสเตอร์พิจารณาให้รอบคอบ แต่ส่วนตัว ในเว็บไซต์ซิกเกอร์ www.zickr.com ก็จะยกลิขสิทธิ์คอนเทนท์ที่ผู้ใช้งานสร้าง ให้ไปผ่านทางอนุสัญญาครีเอทีฟคอมมอนส์ หรือ CC. ก็เป็นทางออกที่ดี เพราะลิขสิทธิ์จะตกอยู่ที่คนทั่วโลกใครใช้ก็ได้

ด้าน นายลภากร หรือ ไปป์ กล่าวถึงประสบการณ์จากการถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปศท.) พร้อมหมายศาลมายกเซิร์ฟเวอร์ ไปตรวจสอบในข้อหามีส่วนร่วมในการขายของละเมิดลิขสิทธิ์บนเว็บไซต์ว่า เรื่องนี้มาจากความไม่ชัดเจนและการประสานงานระหว่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เอง เพราะทางตำรวจติดต่อมาที่ฝ่ายกฎหมาย แต่คนที่รู้เรื่อง คือ ฝ่ายไอที เมื่อฝ่ายไอทีไม่รู้เรื่องทำให้การตอบสนอง เพื่อส่งข้อมูลที่ตำรวจต้องการล้าช้า แต่ที่ผ่านมาทางตลาดดอทคอมก็เก็บข้อมูลทุกอย่างเพื่อปกป้องตัวเองจากกฎหมาย และจากลูกค้าที่มาใช้งานด้วย ทำให้มีข้อมูลมากมาย เกินกว่าที่ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดฯ กำหนดไว้ จนสตอเรจไม่เพียงพอ

ผอ.ฝ่ายไอที บ.ตลาด ดอท คอมฯ อธิบายต่อว่า สิ่งที่บริษัทฯ พยายามคิดหาทางออก คือ ข้อมูลแบบไหนที่ตำรวจต้องการ และถูกใจมากที่สุด เพราะแม้แต่ตำรวจก็ไม่รู้ว่าจะเอาข้อมูลอะไร เวลามีคนแจ้งความก็มาตามหน้าที่ ไม่ได้มีความเข้าใจในรูปแบบของธุรกิจเว็บไซต์ ตอนตำรวจเอาหมายศาลมายกเซิร์ฟเวอร์ ก็มีปัญหาว่าจะยกเครื่องไหนไป เพราะตลาดดอทคอมมีหลายตัวทำเป็นเวอร์ชวลไอพี ไอพีจริงๆ อยู่บนโหลดบาลานซ์สวิตช์ หากยกโหลดบาลานซ์ฯ ไป ก็ไม่มีข้อมูลอะไรให้ แต่เราจะให้บริการลูกค้าไม่ได้ ส่วนข้อมูลก็อยู่บน NAS: Network Attached Storage ที่ข้อมูลไม่ได้อยู่ที่เซิร์ฟเวอร์เพียงตัวใดตัวหนึ่ง

นายลภากร กล่าวเสริมว่า เมื่อทางบริษัทฯ ให้ตำรวจยึดเครื่องไปตรวจสอบหาข้อมูล ก็กลายเป็นข่าวว่า เป็นผู้ต้องหาขายของละเมิดลิขสิทธิ์ เลยต้องชี้แจงอีกครั้งว่าทางบริษัทฯ เป็นเพียงผู้ให้บริการระบบ และเว็บโอสติ้งที่ไม่อาจดูแลลูกค้าจำนวนมากทั่วถึงพร้อมกัน ดังนั้น ตลาดดอทคอมเลยทำ “เช็คลิสต์” หรือ รายการขอตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าตำรวจต้องการอะไรบ้าง เพื่อจะได้มีหลักฐานถึงการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ รวมถึงกระบวนการติดต่อของเจ้าหน้าที่ศูนย์ไอดีซีที่รับฝากเซิร์ฟเวอร์ กับทางผู้ดูแลระบบของบริษัท เพราะหากเซิร์ฟเวอร์ถูกยึดไปย่อมสร้างความเสียหายต่อธุรกิจมหาศาล เพราะลูกค้ารายอื่นๆ จะกระทบกระเทือนไปด้วย

ส่วน นายศิริพร เจ้าของเว็บไซต์ 212คาเฟ่ดอทคอม เล่าถึงประสบการณ์ของตัวเองว่า จากที่ได้เป็นเว็บมาสเตอร์ที่เข้าไปนอนในคุกจริงๆ ทำให้หลายคนที่มีอาชีพเป็นเว็บมาสเตอร์เกิดความหวาดระแวงว่า จะต้องมีโอกาสโดนข้อหาต่างๆ นานา จาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีเว็บบอร์ด แล้วมีการโพสต์ข้อความด่าว่ารัฐบาล แต่ตามรัฐธรรมนูญฯ ปี 2550 ประชาชนย่อมมีสิทธิ์ในการแสดงความเห็นได้ แต่การแสดงความเห็นนั้นต้องมากับความรับผิดชอบที่สูงตามไปด้วย หมายความว่าผู้ที่โพสก็ต้องแสดงตัวตน และอาจถูกดำเนินคดีได้ เช่นเดียวกับผู้ดูแลเว็บไซต์อย่างที่ตัวเอง เจอกับข้อหาตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดฯ มาตรา 15 โดนตำรวจยึดฮาร์ดดิสก์ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค แฟลชไดร์ฟ และเอกสาร

เจ้าของเว็บไซต์ 212คาเฟ่ดอทคอม กล่าวเสริมว่า หลังจากที่มีประสบการณ์ได้นอนคุก เหตุการณ์นี้ส่งผลต่อการปรับปรุงระบบเว็บบอร์ดของ 212 คาเฟ่ครั้งใหญ่ เริ่มจากการทำระบบแจ้งลบกระทู้ เหมือนกับเว็บไซต์พันทิปดอทคอมมี ให้ใช้งานได้ทันที มีกระบวนการตรวจสอบมีโปรแกรมตรวจสอบคำค้น และไฟล์สกุลต่างๆ บนเว็บ ให้โปรแกรมเมอร์ตรวจย้อนดูว่ามีปริมาณการโพสต์กระทู้มากแค่ไหน ก็เลยทราบว่า แต่ละวันมีคนมาโพสต์ 1,500 กระทู้ ตอบกลับ 15,000 ข้อความ มีรูปภาพกว่า 6,000 รูป รวมทั้งจัดเวรเจ้าหน้าที่มาคอยลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมด้วย

นายศิริพร กล่าวอีกว่า ขณะนี้ เรื่องคดีความก็ยังอยู่ในชั้นศาล และโน้ตบุ๊ค กับฮาร์ดดิสก์ ก็ยังถูกตำรวจยึดไว้ ชีวิตลำบากกระทบกระเทือนครอบครัว ธุรกิจ การลงทุน ถ้าจะลุกขึ้นสู้เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานกับคนทำเว็บไซต์ ที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับการกระทำของผู้ใช้งานที่ เวลานี้ก็ยังไม่เห็นมีการดำเนินคดี หรือกลายเป็นข่าวเหมือนกับที่ตัวเองเป็น “เว็บมาสเตอร์ฉาว” การทำหน้าที่ของตำรวจก็เหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น คนที่โพสต์ยังไม่รู้ว่าตัวเองทำผิด “ผมโดนจับแล้วหมายถึงอะไร แล้วตำรวจจับผมไปมีการบอกฝากถึงคนอื่นผ่านสื่อ และนักข่าว แบบนี้หมายความว่าอย่างไร”

นางภูมิจิตร ศิระวงศ์ประเสริฐ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และผู้มีส่วนร่วมในการยกร่าง พรบ.ฉบับนี้ ให้ความเห็นว่า ขณะนี้ จะเห็นได้ว่า ชีวิตคนเรามีกฎหมายมายุ่งวุ่นวายกับชีวิตเต็มไปหมด ทำให้ทุกคนต้องระมัดระวังตัว ชื่อของ พ.รงบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 อาจฟังดูน่ากลัวต่อคนทำเว็บไซต์ และคนบนโลกออนไลน์ แต่หลายส่วนก็ช่วยปกป้องเว็บมาสเตอร์ จากตัวกฎหมายที่รุนแรงกว่าด้วยเช่นกัน คนทำเว็บจากนี้ไปนอกจากเตรียมเงินลงทุนแล้ว อาจต้องเตรียมหาทนาย หรือสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเกิน 1 แสนบาทไว้ประกันตัวด้วย หากเกิดเรื่องราวเป็นคดีความขึ้นมา

ผลที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ พรบ.ฉบับนี้ คือ ภาวะปอดแหก ของผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง และเว็บมาสเตอร์ เกิดการตรวจสอบเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตที่เข้มข้น เมื่อต่างฝ่ายต่างมาเซ็นเซอร์เนื้อหา หวาดระแวงไปหมดว่าจะโพสต์กระทู้อย่างไร จะลบทันหรือไม่หากมีภาพลามก อนาจาร หรือมีข้อความไม่เหมาะสม หรือ เป็นเท็จ แล้วหากเป็นเว็บไซต์สื่ออิสระ กฎหมายนี้จะมาเป็นเครื่องมือปิดกันการแสดงความเห็น หรือการวิพากษ์วิจารณ์ภาครัฐ หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่ เท่ากับว่าสังคมออนไลน์ และการประกอบอาชีพเว็บมาสเตอร์ ก็มีความกดดันอึดอัดมากขึ้น เพราะเมื่อเข้ามาวงการนี้ก็เหมือนก้าวขาเข้าคุกไปแล้วบางส่วน แล้วสุดท้ายใครอยากจะมาทำเว็บอีก แล้วสื่อยุคใหม่ สื่ออิสระจะได้เกิดหรือ ในยุคที่มีความหวาดระแวงแบบนี้

 

อ้างอิง

http://www.itpc.or.th/?p=749 – ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ
http://www.mcot.net/News – ข่าวก่อนจะได้เป็นนายกของ น.ส.ยิ่งลักษณ์
http://www.facebook.com/oatjo – Facebook Commentator 
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=315652 – เรื่องของ พรบ.คอมฯ

http://www.webmaster.or.th/ – เว็บสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย-กรณีกฎหมายต่างๆ

_________________________________________________________________________

 

Leave a comment »

ผลเสียของสื่อออนไลน์ : ปัญหาของเทคโนโลยี หรือ ปัญหาของสังคม?

ในสื่อสังคมออนไลน์อย่างเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) จัดเป็นบริการออนไลน์ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอันสะท้อนถึงความสนใจที่คล้ายคลึงกันหรือมีความเกี่ยวข้องกันในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ค (Facebook) มายสเปซ (MySpace) ทวิตเตอร์ (Twitter) หรือเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์อื่นๆต่างก็มีลักษณะเด่นที่เหมือนกันในการเปิดให้สมาชิกสร้างแฟ้มประวัติส่วนตัวเป็นเสมือนอีกตัวตนหนึ่งบนโลกออนไลน์เพื่อใช้ปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกคนอื่นๆผ่านบริการช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายบนเว็บไซต์ ทำให้ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจำนวนสมาชิกของเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมหาศาล เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดอย่างเฟซบุ๊คมีรายชื่อสมาชิกรวมทั้งโลกกว่า 500 ล้านรายชื่อ และมีสถิติรวมการใช้งานจากสมาชิกทุกคนเป็นเวลา 7 แสนล้านนาทีต่อเดือน (สถิติจากเฟซบุ๊ค 2011) ในขณะที่เทคโนโลยีการสื่อสารได้รับการพัฒนาอย่างก้าวล้ำ สื่อสังคมออนไลน์กลับส่งอิทธิพลลบต่อชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์ของคนในสังคมอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นจนกลายเป็นประเด็นทางสังคม ที่ทั้งสื่อ บทกฎหมาย และประชาชนเองจะต้องให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้
1.การคุกคามผ่านสื่อออนไลน์ (Cyber Bullying) คือการคุกคามหรือรังแกกันผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งอีเมลข่มขู่หรือแบล็คเมล การส่งข้อความทางโทรศัพท์ การข่มขู่ทางโทรศัพท์ โปรแกรมออนไลน์ และชัดเจนที่สุดคือการคุกคามผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แม้ว่าการคุกคามกันบนโลกออนไลน์จะไม่ใช่การทำร้ายร่างกายหรือมีใครได้รับบาดเจ็บ แต่เป็นการทำร้ายทางอารมณ์ความรู้สึกซึ่งสามารถสร้างบาดแผลที่รุนแรงมากในทางจิตวิทยาอันจะส่งผลให้เกิดอาการหวาดระแวง ซึมเศร้า หดหู่ ไปจนถึงการฆ่าตัวตายในที่สุด
สำหรับในสื่อสังคมออนไลน์แล้ว การคุกคามในรูปแบบนี้กลายเป็นปัญหาที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆตามจำนวนของเยาวชนที่เข้ามาเป็นสมาชิกของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น เพราะเครือข่ายสังคมออนไลน์กลายเป็นเครื่องมือให้มือมืดใช้พูดว่าคนอื่นอย่างที่ไม่สามารถทำได้ต่อหน้าจริงๆในสภาวะนิรนามโดยมีสื่อออนไลน์เป็นดังกำแพงกั้นระหว่างผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ อย่างไรก็ตามข้อความว่าร้ายหรือข่มขู่ก็สามารถสร้างผลเสียให้กับคนที่ถูกคุกคามอย่างสาหัส การคุกคามผ่านออนไลน์จะเพิ่มจำนวนแซงการคุกคามเชิงกายภาพได้อย่างง่ายดายเพราะทำได้ง่ายทุกที่ ทุกเวลา ตัวอย่างเช่นในปี 2009 เด็กหญิงชาวออสเตรเลียวัย 14 ปีก่อเหตุฆ่าตัวตายหลังจากถูกรังแกผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แม่ของเด็กหญิงให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซี (ABC News) ว่าถ้าลูกสาวของเธอไม่เข้าไปเห็นข้อความในคอมพิวเตอร์วันนั้นก็คงจะไม่ฆ่าตัวตาย (http://www.abc.net.au/news/2009-07-23/teens-death-highlights-cyber-bullying-trend/1363362) และกรณีตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักดีของการคุกคามผ่านโลกออนไลน์จนเป็นเหตุให้เกิดการฆ่าตัวตายของ เมแกน ไมเยอร์ (Megan Meier) ซึ่งถูกล้อเลียนและว่าร้ายอย่างต่อเนื่องจากเครือข่ายสังคมออนไลน์จนเธอตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง เมแกนซึ่งมีอายุเพียง 13 ปีเริ่มได้รับข้อความว่าร้ายต่างๆนานจากเด็กผู้ชายที่เธอเพิ่งจะคบหาด้วยบนเครือข่ายออนไลน์ผ่านเว็บไซต์มายสเปซ โดยข้อความสุดท้ายที่ส่งถึงเธอเขียนว่าโลกคงจะดีกว่านี้ถ้าไม่มีผู้หญิงอย่างเธอ ทำให้เมแกนที่คิดว่าตนเองถูกปฏิเสธจากคนรักตัดสินใจฆ่าตัวตายในบ้านของเธอเอง(Times Topics, http://topics.nytimes.com/topics/reference/timestopics/people/m/megan_meier/index.html 2011) และที่แย่ไปกว่านั้นคือความจริงที่ว่าแฟนของเมแกนนั้นเป็นเพียงตัวละครสมมติที่ถูกสร้างขึ้นโดยแม่ของเพื่อนเก่าของเมแกนเอง ทั้ง 2 กรณีศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของการคุกคามบนโลกออนไลน์ซึ่งสามารถพบได้ทุกที่ในโลกที่เครือข่ายสังคมออนไลน์เข้าถึง อัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นทั่วโลกไม่เคยสูงเท่านี้ก่อนที่จะเกิดสื่อสังคมออนไลน์
การตั้งกรุ๊ปบนเฟซบุ๊คก็สามารถใช้ในการคุกคามผู้อื่นได้ ดังที่เรามักจะเห็นปรากฏการณ์ล่าแม่มดเกิดขึ้นแล้วแม้กระทั่งในสังคมไทยเอง ทั้งในกรณีของสาวซีวิค มาร์คเอเอฟ หรือเด็กหญิงก้านธูป เพราะคนส่วนใหญ่มักลืมคิดไปว่าแม้คำพูดสั้นๆก็ถือเป็นการคุกคามกันได้ เช่นเมื่อปีที่แล้วในออสเตรเลียมีข่าวการโจมตีกันผ่านการแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้ปกครองบนกรุ๊ปงานประกวดภาพเด็กแรกเกิดในเฟซบุ๊ค หลายความคิดเห็นต่อภาพของเด็กทารกเขียนว่าร้ายเด็กที่ยังไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย (http://au.sports.yahoo.com/football/w-league/news/article/-/8946214/cute-baby-competition-turns-ugly/) และนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างของการคุกคามผ่านสื่อออนไลน์อันเป็นข้อเสียหนึ่งที่ยังไม่มีบทกฎหมายที่ชัดเจนมารองรับปัญหานี้โดยตรง
2.การโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคล (Identity Theft) ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ทั้งในสังคมไทยและประเทศอื่นๆทั่วโลก และยังเป็นอีกสาเหตุของการเติบโตอันรวดเร็วของจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีรายงานจากกรมสถิติออสเตรเลียเมื่อปี 2008 ว่ามีประชาชนตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไปตกเป็นเหยื่อของการโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคลหรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆรวมกว่า 806,000 คน เช่นเดียวกับที่สื่อมวลชนไทยรายงานข่าวการโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคลที่เพิ่มขึ้นใน 5 ปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งในกรณีของการแอบอ้างต้มตุ๋นเพื่อขูดรีดทรัพย์สิน ไปจนถึงการล่อลวงไปมีสัมพันธ์เชิงชู้สาว เป็นต้น
เฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ก็เป็นเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เอื้ออำนวยให้เกิดการโจรกรรมเอกลักษณ์หรือข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างง่ายดายด้วยเครื่องมือ แก้ไขข้อมูลส่วนตัว” (Edit your profile) ซึ่งจะแสดงทั้งชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ความสนใจส่วนตัว อีเมล รายชื่อเพื่อนสนิท หรือแม้กระทั่งข้อมูลส่วนตัวมากๆอย่างสถานะความสัมพันธ์กับคนรัก ซึ่งยิ่งข้อมูลเหล่านี้ที่แสดงอยู่บนเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งช่วยให้ผู้ร้ายสามารถลอกเลียนเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของเราเพื่อไปแอบอ้างในการก่ออาชญากรรมได้ง่ายขึ้น
อีกปัจจัยหนึ่งที่เอื้ออำนวยให้เกิดการโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคลคือเครื่องมือ การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว” (Privacy Setting) ซึ่งมีให้ผู้ที่เป็นสมาชิกของเครือข่ายเปลี่ยนค่าการแสดงผลไม่ให้ผู้อื่นเห็นข้อมูลหรือข้อความบางอย่างที่เป็นเรื่องส่วนตัวหรือเราไม่ประสงค์จะให้คนอื่นรับรู้ แต่ปัญหาอยู่ที่ค่าความเป็นส่วนตัวนี้จะไม่กลายเป็นค่าถาวร ดังนั้นผู้ที่ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ไม่ได้ระมัดระวังการตั้งค่าตัวนี้อาจเผลอส่งข้อความส่วนตัวหรือข้อความลับไปให้ทั้งคนรัก ครอบครัว เพื่อนสนิท เพื่อนไม่สนิท เพื่อนร่วมงาน และสาธารณชนทั่วทุกมุมโลก เช่นเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นายเอริค เบสซง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสตกเป็นข่าวอื้อฉาวหลังจากที่ได้ทวิตข้อความส่วนตัวถึงภรรยาผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์แต่เกิดความผิดพลาด เพราะข้อความที่ส่งไปกลายเป็นข้อความที่ส่งไปสู่สาธารณะหลังจากลืมตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1319088974&grpid=01&catid=01 )
ทั้งความประมาทของผู้ใช้งานบนเครือข่ายสังคมออนไลน์และความง่ายในการโจรกรรมข้อมูลบนโลกดิจิตอล ทำให้เครือข่ายสังคมออนไลน์เต็มไปด้วยการโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคลที่สร้างความเสียหายต่อทั้งทรัพย์สินและชื่อเสียงของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ
นอกจากนี้เครือข่ายสังคมออนไลน์ยังสนับสนุนให้สมาชิกแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวของตนมากจนเกินความปลอดภัย จนทำให้ผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลเหล่านั้นย้อนมาสร้างภัยให้กับเจ้าของข้อมูลได้ ยกตัวอย่าง โฟร์สแควร์ (FourSquare) ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมที่ให้สมาชิกได้ เช็คอิน” (Check-In) ตามสถานที่ต่างๆที่ตัวเองเดินทางไปถึงเพื่อสะสมแต้มและโล่รางวัล หรือใช้เช็คอินเพื่อรับส่วนลดจากร้านค้าต่างๆตามกลยุทธทางการตลาด แต่การเช็คอินนั้นก็ทำให้ผู้อื่นรู้ว่าเรากำลังทำอะไรที่ไหนอยู่บ้าง เหล่าหัวขโมยก็จะอาศัยข้อมูลจากสื่อออนไลน์ตรงนี้ในการดูต้นทางในการขึ้นบ้านเพื่อไปลักขโมยทรัพย์สินมีค่าได้อย่างสะดวกทันทีที่รู้ว่าเจ้าของบ้านไม่อยู่ ดังนั้นเราจึงไม่ควรใส่ข้อมูลส่วนตัวที่มากจนเกินไปของเราลงบนเครือข่ายออนไลน์
3.เครือข่ายสังคมออนไลน์สร้างปัญหาทางความสัมพันธ์ของคนในสังคม ทำให้คนห่างไกลกันมากขึ้น เพราะวิธีการสื่อสารกับคนรู้จักและคนแปลกหน้าบนอินเทอร์เน็ตทำให้ความรู้สึกของคนเปลี่ยนไป ผลกระทบทางลบอีกอย่างหนึ่งของเครือข่ายสังคมออนไลน์คือความสัมพันธ์ของคนในสังคม แม้มันจะช่วยสร้างสัมพันธภาพให้เรากับคนที่ไม่สนิทให้รู้จักกันแน่นแฟ้นได้ง่ายขึ้น แต่คนเรามักจะมองไม่เห็นว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นก็ทำให้เราห่างไกลจากคนที่เราสนิทด้วยมากขึ้น ด้วยความเป็น เครือข่ายสังคมจึงทำให้สมาชิกส่วนใหญ่คิดว่าเพียงแค่เป็นสมาชิกในเครือข่ายก็เท่ากับเป็นการเข้าสังคมแล้ว
หน้าต่างแสดง สถานะล่าสุด” (News Feed) ทั้งบนเฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ทำให้เรารู้ว่าญาติสนิทมิตรสหายของเราว่าเป็นอย่างไรกันบ้างโดยอัตโนมัติ ดังนั้นคนเราจะถามไถ่สารทุกข์สุขดิบกันทำไมในเมื่อเราสามารถเช็คสถานะ พร้อมรูปถ่ายที่บอกเล่ารายละเอียดของชีวิตเพื่อนผองเอาไว้แล้วอย่างครบถ้วน เมื่อก่อนเราอาจจะต้องโทรศัพท์หาหรือนัดทานข้าวเพื่อแลกเปลี่ยนเรื่องราวกันกับเพื่อนๆ แต่นั่นก็ไม่ใช่กิจกรรมที่จำเป็นอีกต่อไปแล้วในโลกปัจจุบันที่เรามีเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่คอยเชื่อมสัมพันธ์ของเรากับคนสนิทไว้ไม่ให้หลุดหายจากกัน(?) สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ยิ่งทำให้คนเรามีปฏิสัมพันธ์กันแค่เพียงผิวเผิน เมื่อคนเราพบกันจึงมักปล่อยให้เวลาผ่านไปเรื่อยๆเพราะคิดว่าตัวเองได้พบปะกับคนเหล่านี้บนเครือข่ายออนไลน์มาก่อนแล้ว
มีผลสำรวจในกลุ่มนักศึกษาอเมริกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับคนรอบข้างผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์พบว่า 1 ใน 7 เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวห่างไกลผู้คนมากขึ้นเมื่อใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนมากได้เห็นข้อความแสดงสถานะของคนใกล้ชิดที่เข้าข่ายซึมเศร้าหรือระบายปัญหาในใจออกมา แต่มีคนเพียงนิดเดียวที่จะโทรหาหรือไปเยี่ยมคนใกล้ชิดของตนเป็นการส่วนตัวเมื่อเห็นข้อความเหล่านี้ ( http://www.katonda.com/news/08/2010/1996) ซึ่งถือเป็นผลข้างเคียงด้านลบของสื่อสังคมออนไลน์แม้จะไม่ได้เป็นปัญหาตามกฎหมายก็ตาม
4.สื่อสังคมออนไลน์มีผลกระทบทางลบต่อการทำงานทั้งของนายจ้าง ลูกจ้าง และแม้กระทั่งว่าที่พนักงานในอนาคต เพราะสื่อที่เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์จะคอยรบกวนการทำงาน สมาธิของพนักงาน ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เพิ่มมูลค่าต้นทุนของบริษัท และยังเป็นอันตรายต่อชื่อเสียงอีกทั้งความน่าเชื่อถือของบริษัท เพียงแค่พนักงานบางคนลืมตั้งค่าความเ็นส่วนตัวในทะเบียนเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็อาจต้องลงเอยด้วยการถูกไล่ออกจากบริษัทเพราะไปแสดงข้อความที่ไม่เหมาะสมไว้ก็เป็นได้ ยิ่งไปกว่านั้นเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็อาจเป็นภัยแก่คนที่กำลังหางานทำ เพราะทั้งเฟซบุ๊คและมายสเปซต่างก็เป็นแหล่งข้อมูลชั้นเยี่ยมของหลายบริษัทต่างๆในการสอดส่องพฤติกรรมของผู้สมัครงานเพื่อใช้คัดกรองพนักงาน แฟ้มประวัติบนเฟซบุ๊คจำนวนมากแสดงข้อมูลหลายๆสิ่งที่คนหางานไม่อยากให้เจ้านายในอนาคตของตัวเองรับรู้ เว็บไซต์หางานชื่อดังอย่าง Careerbuilder.com ระบุว่ากว่า 45% ของนายจ้างใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการคัดเลือกพนักงาน
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ข้อความส่วนตัวบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะจนสร้างความเสียหายแก่ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของบริษัท เช่นกรณีพนักงานไทยสาขาเยอรมนีของบริษัทเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน อิเกีย” (Ikea) ได้เขียนข้อความแสดงความเห็นที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค จนเป็นข่าวคึกโครมให้บริษัทอิเกีย ประเทศไทยที่เพิ่งเปิดใหม่ต้องรับมือกับข่าวนี้โดยไม่ทันตั้งตัว สร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรและความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก โดยอิเกียได้แสดงความคิดเห็นต่อผลกระทบของเครือข่ายสังคมออนไลน์ไว้ในจดหมายเปิดผนึกด้วยว่า
เป็นที่น่าเสียใจที่เฟซบุ๊คของอิเกียประเทศไทย ถูกใช้เป็นพื้นที่แสดงความคิดเห็นที่รุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่ออิเกียประเทศไทยเช่นกัน แม้ว่าเราจะพยายามซ่อนและลบข้อความที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี เราไม่ได้ห้ามการแสดงความคิดเห็น แต่เราขอสงวนสิทธิ์ในการลบข้อความที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง อิเกียประเทศไทย ขอความร่วมมือในการโพสต์ข้อความต่างๆ บน เฟซบุ๊คของอิเกียประเทศไทย อย่างสุภาพ อิเกียไม่อนุญาตให้โพสต์ข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมายไทย ข้อความที่ไม่สุภาพหรือดูหมิ่น และข้อความที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของบุคคลทั่วไปบนเฟซบุ๊คของอิเกียประเทศไทย อิเกียประเทศไทย เข้าใจและเคารพในความคิดเห็นของทุกคน เรารู้สึกเสียใจและขออภัยเป็นอย่างยิ่งที่เหตุการณ์ครั้งนี้ได้สร้างความกระทบกระเทือนจิตใจชาวไทย(http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321528356&grpid=01&catid=01)
หากมองในมิติทางกฎหมายนั้นปัญหาผลกระทบที่ได้กล่าวมาจากสื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้แทบจะไม่ได้ครอบคลุมอยู่ในตัวบทกฎหมายเลย กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้ง 27 มาตรากล่าวถึงบทลงโทษกรณีความผิดฐานที่มีลักษณะอันลามก หรือข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ฯลฯ แต่ไม่ได้พูดถึงผลกระทบภายนอกอย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตามสิ่งที่พลเมืองในสังคมสามารถทำได้ในการป้องกันภัยที่มาจากสื่อสังคมออนไลน์ก็คือการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) โดยต้องเข้าใจสภาพของสังคมสื่อออนไลน์ว่ามันก็เป็นสังคมอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งมีทั้งพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ เรียนรู้ธรรมชาติของการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์บนโลกออนไลน์กับชีวิตจริงว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และมีความระมัดระวัง รอบคอบในการจะแสดงความคิดเห็น ข้อมูลส่วนตัว หรือภาพถ่ายต่างๆลงสู่เครือข่ายออนไลน์
และเช่นเดียวกับปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในสังคมภายนอก สาเหตุของปัญหาที่แท้จริงของสื่อออนไลน์นั้นอยู่ที่คนในสังคมขาดจริยธรรมและศีลธรรม ทั้งปัญหาการโจรกรรมทรัพย์สินในโลกแห่งความเป็นจริงหรือการโจรกรรมข้อมูลและเอกลักษณ์ส่วนตัวบนออนไลน์ การรังแกหรือคุกคามกันที่โรงเรียนหรือในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เหล่านี้ล้วนแล้วเป็นเพราะคนไม่คำนึงถึงศีลธรรมอันดีงามในสังคม (Codes of Ethics)
หากสมาชิกในสังคมทั้งทางกายภาพและสังคมออนไลน์รู้หน้าที่ของตัวเอง มีความรับผิดชอบ ไม่ประมาท และคำนึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตน ปัญหาของสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมใดก็ตามก็คงจะลดลง
นายเมธาสิทธิ์ โลกุตรพล – 5145255728
อ้างอิง
เอกสารประกอบการเรียนการสอนโดย อ. ณรงค์ ขำวิจิตร์

เอกสารประกอบการเรียนการสอนโดย อ. อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์
มานิตย์ จุมปา. กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. วิญญูชน. กรุงเทพฯ. 2554


Leave a comment »

สื่อใหม่ : เหล้าเก่าในขวดใหม่ ( The old Whisky in new bottles ) นิติธร สุรบัณฑิตย์

สื่อใหม่ : เหล้าเก่าในขวดใหม่ ( The old Whisky in new bottles ) นิติธร สุรบัณฑิตย์

 

                เดือนตุลาคม พ.ศ.2552 นางคอลลีน ลาโรส วัย 57 ปี หญิงชาวรัฐเพนซิลเวเนียของสหรัฐ ถูกจับกุมในข้อหาสมคบก่อเหตุฆาตกรรมในต่างแดน ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย ปลอมแปลงรายงานการเงิน และพยายามขโมยหนังสือเดินทาง หลังจากที่เธอใช้ชื่อ จีฮัดเจน ในการประกาศรับสมัครนักรบหัวรุนแรงผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อก่อการร้ายในสหรัฐ ยุโรปและเอเชีย  และวางแผนสังหารนายลาร์ส วิลค์ ศิลปินชาวสวีเดนที่เคยวาดภาพการ์ตูนดูหมิ่นพระศาดามูฮัมหมัด โดยเธอใช้เวลามากกว่า 1 ปี ในการติดต่อกับผู้ที่ต้องการเข้าร่วมแผนการโจมตีจากทั่วโลก
                คำฟ้องร้องต่อศาลสหพันธ์รัฐบาลกลางในรัฐเพนซิลเวเนียระบุว่า นางลาโรส แสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์ youtube.com เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ว่า ต้องการช่วยเหลือประชาชนชาวมุสลิมที่กำลังทนทุกข์ทรมาน และได้ส่งอี-เมลล์ไปยังผู้สมรู้ร่วมคิดคนหนึ่งเสนอเป็นผู้เสียสละ และใช้สัญชาติอเมริกันของตนเพื่อไม่ให้ตรวจพบ ต่อมานางลาโรส ตกลงที่จะแต่งงานกับผู้สมรู้ร่วมคิดจากประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ และชายผู้สมรู้ร่วมคิดแนะนำให้เธอเดินทางไปสวีเดน เพื่อตามหาและสังหารศิลปินผู้นั้น โดยเขามีค่าหัวจากกลุ่มก่อร้ายที่ร่วมมือกับการประกาศรับสมัยผ่านอินเตอร์เน็ตนั้นสูงถึง 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ สามล้านกว่าบาท  ซึ่งผู้ต้องสงสัย 7 คน ถูกจับกุมฐานมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผนสังหารนายวิลค์ โดยผู้ต้องสงสัยเป็นชาย 4 คน และหญิง 3 คน ในเมืองโคร์ค และวอเตอร์ฟอร์ด ทางตอนใต้ของไอร์แลนด์ ในการปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงของสหรัฐและยุโรป
                นี่แสดงให้เห็นว่า อินเตอร์เน็ต หรือสื่อใหม่ ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการก่อการร้าย
                แต่คือ สังคมเสมือน ที่ผู้ก่อการร้ายสามารถใช้เตรียมการ ดำเนินการ สร้างสมาชิกในสังคมของพวกเขา สร้างลัทธิ และจิตวิญญาณ และเก็บแรงกดดันจนสลายสู่สังคมจริงในที่สุด
                ปัญหาสังคมเสมือนด้านร้ายกาจ ( The Dark of Community Simulation ) แท้จริงแล้วก็หยิบเอาสังคมจริงเข้าไปไว้ทั้งหมด สมาชิกในสังคมจริงถูกโอนเข้าไป ผ่านนวัตกรรม และพัฒนาการของเทคโนโลยี ไม่เว้นแม้แต่ เด็ก ดังเกิดเหตุการณ์อาชญากรรมจากเกมส์ในสหรัฐอเมริกาหลายครั้งที่ผ่านมา โดยดักลาส เจนเทิล (Douglas Gentile , journal Psychological Science)  นักจิตวิทยาผู้ทำงานมหาวิทยาวิทยาลัย ไอโอวา สเตจ ซึ่งทำการสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กเล่นเกม พบว่าเด็กอเมริกันที่มีอายุระหว่าง 8-18 ปี จำนวนร้อยละ 8.5 มีสัญญาณบ่งบอกหลายอย่างว่ามีพฤติกรรมติดเกมอย่างหนัก ซึ่งร้อยละข้างต้นเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับประชากรจริงก็เท่ากับมีเด็กติดเกมอยู่ประมาณ 3 ล้านคน โดยตัวอย่างที่พบคือ การขโมยเกมหรือขโมยเงินผู้ปกครองเพื่อมาซื้อเกม  เกิดอาการหงุดหงิดเมื่อได้เล่นเกมในระยะเวลาที่น้อยลง , และ มักจะมีพฤติกรรมโกหกผู้ปกครองว่าไม่ได้เล่นเกมในระยะเวลาอันยาวนาน  หรือข้อมูลในประเทศไทยเองเกี่ยวกับการเล่นเกมส์กับอาชญากรรมจากตัวอย่างคดีในท้องที่ต่างๆ พบว่ามีเหตุทำร้ายร่างกาย และปล้นทรัพย์ ในท้องที่ สน.บางขุนเทียน ขณะที่ผู้เสียหายกำลังเอาแต้มแร็คน่าร๊อคจำนวน 75 ล้านเพนนีเกม ไปขายให้คนร้ายที่มากัน 5 คน ในราคา  15,000 บาทจริง (3 ก.ค 2546) หรือในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการเมื่อวันที่18 ก.ค 2546 ตำรวจจับกุมวัยรุ่น 2 คน ที่ใช้ท่อนไม้ตีหัวเหยื่อชิงสร้อยคอทองคำหนัก 2 บาท ซึ่งคนร้ายรับสารภาพว่าจะเอาเงินไปเล่นแร็คน่าร๊อค (Ragnarok) ซึ่งเป็นเกมส์ออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง
                  แท้จริงแล้ว อาจเป็นเรื่องปกติ (ทั้งที่เราไม่อยากให้เป็นเรื่องปกติ) เทคโนโลยีสื่อใหม่โดยเฉพาะการก่อกำเนิดของเว็บ 2.0 ได้สร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้คน จนกลายเป็น สังคมออนไลน์ หรือสังคมเสมือน เพราะสังคมจริงนั้นมีทั้งเรื่องดี และไม่ดี ย่อมไม่แปลกที่สมาชิกสังคม “เดิม” สร้างสังคมใหม่ ในเมื่อคนเดิมกลุ่มเดิม มาอยู่ในที่ใหม่ ปัญหาจึงต้องมีอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เช่นตัวอย่างที่ผู้เขียนกล่าวเป็นบทนำเรื่องการก่อการร้ายผ่านอินเตอร์เน็ต และเด็กติดเกมส์ หากลองพิจารณาสังคมที่แท้ ก็จะพบว่า มีปัจจัยด้านเสียหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก ไม่ว่าจะเป็นสารเสพติด การพนัน เป็นต้น  ดังนั้นในสังคมเสมือนจึงไม่แปลกที่จะสิ่งยั่วยุเกิดขึ้นผ่านเกมส์  และไม่แปลกที่สังคมเสมือนจะเป็นมีการก่อการร้าย และดึงมวลชนเพื่อจะสร้างการก่อการร้ายจริงในสังคมจริง เป็นต้น
                ดังคำเปรียบเปรยที่คุ้นหูกันดีที่ว่า เหล้าเก่าในขวดใหม่ ( The old Whisky in new bottles )
                เมื่อย้อนไปในอดีต สื่อหรือ media เป็นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่เป็นเพียง “เครื่องมือ” (tools) ในการก่ออาชญากรรม ไม่ว่าจะอาชญากรรมประเภทสงครามอย่างชัดแจ้ง หรืออาชญากรรมทางการเมือง เช่น การปลุกกระแสทางการเมืองให้เกลียดชังคนที่ไม่ใช่เชื้อชาติเดียวกันอย่างการใช้สื่อมวลชนอย่างวิทยุในการยุยงปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงอย่างจงใจ และเป็นระบบให้เกิดการสังหารหมู่ชาวทูต ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรวันดา (15 % ของประชากร) ถูกฆ่าตายไปทั้งสิ้น 500,000 คนในปีคริสต์ศักราช 1994 (ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกุล 2553) เป็นต้น
                พัฒนาการการเทคโนโลยีจนทำให้เกิด สื่อใหม่ (new media) ไม่เพียงเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคมขนานใหญ่ แต่ได้ปรับเปลี่ยน สื่อ จากเครื่องมือ ธรรมดา ให้กลายเป็น สังคมเสมือน ที่อานุภาพต่างๆสามารถกระจุกตัวอยู่ในนั้น และสามารถส่งแรงกระเพื่อมภายในให้ออกมายังสังคมที่แท้จริงได้ ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ว่า หากกระแสการเกลียดชังชาวยิวในสมัยช่วงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิวในเยอรมัน เกิดขึ้นผ่านสื่อใหม่นั้น คิดดูว่าความรุนแรงจะขยายวงกว้าง และมากขึ้นแค่ไหน ฮิตเลอร์อาจใช้เฟสบุ๊ก และยูทูปส่วนตัว ในการขยายอิทธิพลทั่วทั้งโลก เขา(คนเดิม) สามารถใช้ท่าทีบุคลิกอันทรงเสน่ห์ และพลัง ผ่านพื้นที่ใหม่ (new space)  แน่นอนว่า ต้องเกิดกระแสคลั่ง หลงใหล ตอบรับ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การต่อต้าน” (เนื่องจากผู้ที่ใช้ชาวอารยันชนชาติเดียวกับฮิตเลอร์ ก็มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้เช่นกัน เช่น ชาวยิว เป็นต้น) ซึ่งก่อให้เกิดการปะทะ(clash) และอาจส่งผลกระทบ และแรงกระเพื่อมที่มากกว่าเดิม และขยายวงกว้างมากขึ้น หรือการก่ออาชญากรรม ผู้ก่อการร้ายอาจใช้เทคโนโลยีสื่อใหม่ ในการรวมตัว และวางแผน ในฐานะสังคมเสมือน และใช้ในฐานะเครื่องมือในการปฏิบัติการในสังคมจริงได้อีกด้วย
                เรามาลองคิดดูละกันว่า 12 ล้านคน ผู้ใช้ เฟสบุ๊กในประเทศไทย
                จะทำอย่างไร  ??
                และหากพิจารณาตัวอย่างที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างเป็นบทนำไว้ข้างต้นแล้ว จะพบว่าแรงกระเพื่อมย่อมส่งผลกระทบมากกว่า ในวงกว้างมากกว่า  พูดง่ายๆว่า เครื่องมืออย่างการเล่นเกมส์มีผลเสียมากกว่าในตัวมันเองอยู่แล้วหากเราไม่ถูกวิธี และเด็กไทยก็อาจเจอปัญหาเดียวกันนี้กับเด็กอเมริกัน ซึ่งตรงกันข้ามช่วงเวลาที่สื่อใหม่ยังไม่เกิดขึ้น หรือยังไม่เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ จากกรณีศึกษาที่สำคัญของจีน ที่ของเล่นมีสารเมลามีน ซึ่งปัญหาก็กระจุกตัวเฉพาะประเทศจีนเอง และประเทศที่นำเข้า ไม่ได้กระเทือนไปยังเด็กที่เล่นของเล่นอย่างอื่นในพื้นที่อื่นที่ไม่ได้นำเข้าสินค้าดังกล่าวแต่อย่างใด
                ทำให้ปัญหาเดียวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่จำกัดมิติด้านพื้นที่ และเวลา (time&space)
                ซึ่งเป็นทั้งข้อดี และข้อเสีย


                ในปัจจุบัน เราจะพบว่า การกระทำอาชญากรรม หรือการก่อความรุนแรงผ่านอินเตอร์เน็ตหรือสื่อใหม่ ก็ก้าวเป็นจังหวะกระโดดเท่าตัวคู่ขนานกับพัฒนาการของสื่อใหม่ตลอดเวลา (หรือในบางครั้งพวกก่อการร้ายก้าวไปไกลกว่า ในการสร้างเทคโนโลยีเกี่ยวกับสื่อใหม่มารองรับนั่นเอง)  แม้จะมีข้อถกเถียงให้เห็นอยู่ว่า สื่อย่อมเกิดจากความต้องการของคนในสังคม เพื่อให้มีคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ก็จะพบว่าเรื่องราวไม่ได้จบแค่นั้น หรือพูดง่ายๆว่า คิดดีแล้ว และทำดีละ?
                คำตอบของสังคม และสังคมเสมือนจึงอยู่ที่ว่า
                กฎ และจริยธรรม รวมถึงบรรทัดฐาน (norm) ที่ควรปฏิบัติ
                กฎเกณฑ์ดังกล่าวถูกจัดสร้างขึ้นมา เสมือนกับสังคมจริงที่มีจริยธรรม กฎหมาย จารีต และวิถีประชา ที่ครอบคลุมปัจจัยทั้งภายใน และภายนอก เช่นเดียวกับสังคมเสมือนบนสื่อใหม่เช่นเดียวกัน หากพิจารณาถึงตัวอย่างเรื่องเด็กติดเกมส์ที่ผู้เขียนยกตัวอย่างไว้ สังคมไทยมีความพยายามจากภายนอกโดยการพยายามประกาศกฎห้ามเด็กออกจากบ้านหลังสี่ทุ่มเป็นแนวทางเกริ่นๆไว้บ้าง(ซึ่งมีข้อถกเถียงอยู่) หรือ ระบุข้อปฏิบัติของเด็กและผู้ปกครองไว้ในบางมาตราของ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พุทธศักราช  2546 หรือความพยายามของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในการ พยายามหามาตรการควบคุมเกม หรือความพยายามสร้างปัจจัยภายในผ่านสถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษา 
                ความหวังของพวกเขาจึงอยู่ที่
                การควบคุมในภายหลัง
                ผลเสียของสื่อใหม่ก่อกระทบต่อผู้ใช้ หรือผู้มีส่วนใช้(ที่ต้องมารับปัญหาจากผู้ใช้ต่ออีกที) มีหลายกรณีมาก ซึ่งการพิจารณาผลกระทบด้านเสีย เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และง่ายต่อการเสนอแนะวิธีการแก้ไขและทางออก ควรพิจาณาควบคู่กับบริบทสังคมจริง ในฐานะที่สังคมเสมือนก็คือสังคมจริง เพียงแค่สมาชิกในสังคมเปลี่ยนพื้นที่(space)ไปเท่านั้น เช่น สังคมจริงบางที่มีอาชญากรรมมาก ไม่ว่าจะเป็นการโจรกรรม หรือการประทุษร้าย ความรุนแรงจากสมาชิกในสังคมนั้น จึงปรากฏอยู่ในสังคมเสมือนผ่านสื่อใหม่ (ในกรณีที่เครื่องมือเข้าถึงสมาชิกเหล่านั้น หรือสมาชิกที่ก่อการเห็นช่องทางกระทำการผ่านเครื่องมือ) แน่นอนว่า การควบคุมโดยรัฐก็ต้องมากขึ้นมาจนถึงสื่อใหม่ด้วยเช่นกัน
                ในแง่นี้นั้นยังมีข้อถกเถียงอยู่มาก เพราะการควบคุมโดยรัฐในสังคมจริง และสังคมเสมือนไม่เหมือนกัน ลองสังเกตง่ายๆนะครับว่า เรายอมรับกฎที่มากมายที่อยู่ในสังคมจริง สาเหตุก็เพราะว่า สังคมจริง ผู้คนไม่ว่าจะเป็นเพื่อนๆที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานที่ทำงานรู้จักเราจริง เราย่อมที่ไม่แสดงพฤติกรรมที่แปลกแหวกแนวไปจากคนอื่น แต่สังคมเสมือนผ่านสื่อใหม่นั้นเป็นสังคมแห่งการแสดงออกที่บางครั้งขาดการระบุตัวตน หรือเปิดเผยตัวตนบางส่วน ผู้ใช้มีจึงไม่พอใจหากมีกัดกั้นการพูด หรือการแสดงออกแม้ว่ามันจะเกินเลยหากเทียบกับสังคมจริงไปมาก และที่สำคัญคือ การใช้สื่อใหม่นั้นเราสามารถแสดงตัวตนที่เหนือกว่าที่ไม่เคยมีใครได้เห็น  ข้อถกเถียงนี้จึงมีความลักลั่นในแง่ของสิทธิความเป็นส่วนตัว และความมั่นคงของส่วนรวม เช่นในกรณี วาทะแห่งความเกลียดชัง หรือ hate speech หรือในบางกรณีก็จบลงที่การแก้ไขกฎที่มีอยู่จริงในสังคมก่อน (ความพยายามในแก้ไขมาตรา 112 และปัญหาของพระราชบัญญัติการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550) เป็นต้น
                ผลเสียของสื่อใหม่สร้างผลกระทบในมิติสังคมและวัฒนธรรมค่อนข้างชัดเจนมาก โดยเฉพาะหากเราจับจ้องในแง่มุมของการเปลี่ยนแปลง เราก็จะเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมมักเริ่มมาจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีโดย แต่ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีเหล่านั้นก็ย่อมมาจากความต้องการของสังคมก่อน จากกรณีตัวอย่างที่ผู้เขียนยกไว้ดังกล่าว โลกเสมือนจริงผ่านสื่อใหม่ สังคมจึงเกิดการระแวดระวังภัยมากขึ้น แต่น่าเสียดายสังคมกลับไม่ได้มองว่า ปัญหาเหล่านั้นอยู่ที่สมาชิก หรือผู้ใช้ แต่มักมองว่าเป็นปัญหาข้อเสียจากเทคโนโลยี ซึ่งการมองในวิถีดังกล่าวอาจทำให้การแก้ปัญหาอาจไม่สำเร็จ และขัดแย้งในตัวมันเองได้ พวกเขาจึงพยายามสร้างข้อตกลง หรือข้อบังคับมาควบคุม
                ดังนั้น กฎหรือบรรทัดฐาน (norm) ที่เราผลักดันให้เกิดในสังคมออนไลน์ (ยกตัวอย่างเช่นประเทศไทย พระราชบัญญัติการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พุทธศักราช 2550) จึงถูกผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อมาควบคุมการก่ออาชญากรรมหรือความรุนแรงผ่านสื่อใหม่ เหมือนสังคมจริงที่มีกฎหมายมาควบคุม และแน่นอนกฎหมายอาจไม่ได้ยุติธรรมกับทุกคน และโดยเฉพาะผู้ใช้สื่อใหม่ที่มีลักษณะความเป็นสมาชิกของสังคมที่พิเศษกว่าแล้ว ย่อมเป็นปัญหาแน่นอน

 

                แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้น กลไกของสังคมเสมือนอย่างสื่อใหม่มีพลังและอำนาจพิเศษที่สามารถปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์สังคมในโลกจริงได้ เช่น ปัญหาการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่เป็นกฎหมายสำหรับปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ หากพิจาณาดูจากสถิติก็จะพบว่าในอดีตที่ยังไม่มีสื่อใหม่ การดำเนินคดีน้อยมาก แต่หลังปี 2546 ที่สังคมออนไลน์ได้รับความสนใจพร้อมๆกับความขัดแย้งทางการเมือง การดำเนินคดีเหล่านี้ก็เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ และหลังจากนั้นก็มีความพยายามเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวควบคู่ไปกับพระราชบัญญัติการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบันโดยเฉพาะมาตรา 14                ที่ถูกอภิปรายว่าบางครั้งเจ้าหน้าที่ก็กระทำการเกินกว่าข้อกำหนดของกฎหมายดังการรณรงค์ของผู้ใช้(user) ที่รวมกันเป็นภาคประชาสังคมที่รู้จักกันดีอย่าง เครือข่ายพลเมืองเน็ต หรือ Thainetcitizen ที่เคยเรียกร้องการกดไลค์ (like) บนสังคมออนไลน์อย่าง เฟซบุ๊ก (facebook) ไม่ใช่การกระทำอาญากรรม หรือมีสโลกแกนเรียนกสั้นๆว่า “ กดไลค์ ไม่ใช่อาชญากรรม ”


                มิติทั้งเรื่องสังคม และกฎหมายย่อมกระทบต่อวิชาชีพสื่อสารมวลชน ซึ่งเป็นวิชาชีพที่ผู้เขียนศึกษาอยู่และใฝ่ฝันอยากประกอบอาชีพนี้ การก่ออาชญากรรมและความรุนแรง หรือผลเสียของสื่อใหม่ ทำให้เกิดแรงท้าทายในหลายมิติของสื่อเอง ทั้งกระบวนการทำงาน รายได้ การเฝ้าระวัง การควบคุมโดยรัฐ อุดมการณ์ เป็นต้น หลายองค์กรพยายามปรับตัวให้เข้ากับสื่อใหม่ และพยายามควบคุมข้อเสียของสื่อใหม่ หรือบางครั้งก็เพิ่มข้อเสียของสังคมสื่อใหม่สะเอง บ่อยครั้งที่ข่าวออนไลน์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากข่าวนั้นไม่ได้เกิดขึ้นผ่านองค์กรสื่อ แต่เกิดขึ้นจากปัจเจกบุคคล (จนสื่อนำมาเสนอต่อ) จนบางครั้งผู้ใช้พยายามกลบเกลื่อนเหตุผลไปว่า เป็นเพราะเทคโนโลยีซึ่งทำให้ลดกระบวนการทำงานในแบบฉบับของสื่อลง และความต้องการของผู้รับสารที่ต้องการความรวดเร็ว เป็นวงล้อกันไปทำให้เกิดความบกพร่องของการนำเสนอ แต่ผมมองว่าแม้เทคโนโลยีอาจช่วยลดขั้นตอนก็จริงอยู่ แต่ความสำคัญของกระบวนการทำงานที่ต้องรอบคอบก็สำคัญกว่าเสมอ และเราไม่อาจโทษเทคโนโลยีสื่อใหม่ได้เต็มปาก เพราะมันเป็นเพียงเครื่องมือที่มนุษย์(ที่ดีและไม่ดี)ไปใช้ สังคมเสมือนผ่านสื่อใหม่ จึงไม่แตกต่างอะไรกับสังคมจริง
                อย่างไรก็ตาม ในเมื่อเกิดสังคมคู่ขนานที่ว่านี้ การแก้ปัญหามีความสลับซับซ้อนอยู่ค่อนข้างมาก จากตัวอย่างที่ผู้เขียนกล่าวคือเรื่องการก่ออาชญากรรมและการก่อการร้ายผ่านอินเตอร์เน็ตกับการติดเกมส์  มีทั้งสังคมจริงและสังคมเสมือนและส่งลูกรับลูกกันเป็นพลวัตร แม้ว่าเราพยายามรณรงค์แก้ไขจากสังคมจริงผ่านตัวผู้ใช้ แต่ก็พบว่าเมื่อเข้าไปในโลกสังคมเสมือนอะไรก็เกิดขึ้น แต่ผู้เขียนก็ยังมองว่า การแก้ปัญหาที่ตัวผู้ใช้ ผ่านการทำความเข้าใจกับสังคม และการคำนึงถึงสิทธิข้อมูลข่าวสารนั้น ไม่น่าจะแก้เน้นไปที่การควบคุมโดยรัฐ และการจำกัดขอบเขตของเทคโนโลยี
                สังคมสื่อใหม่ ก็เหมือนสังคมจริง ที่มีคนหรือผู้ใช้ ที่ดี และเสีย
                หากมองในแง่ด้านเสียตามโจทย์ที่ว่าแล้ว ก็ไม่ต่างอะไรกับ
                เหล้าเก่าในขวดใหม่ นั่นเอง
               

อ้างอิงข้อมูล
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=319545
http://prachatai.com/journal/2011/11/38090
http://news.sanook.com/909347/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95/

นิติธร สุรบัณฑิตย์ 524 52535 28
ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Leave a comment »

การขจัดตัวตนบนโลกออนไลน์ #ปาจรีย์ ไตรสุวรรณ 5245255828

การขจัดตัวตนบนโลกออนไลน์

การสื่อสารในปัจจุบันไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ที่การสื่อสารโดยการเจอหน้าหรือได้ยินเสียงของคู่สนทนาเพียงแค่อย่างเดียว แต่เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การสื่อสารสามารถทำได้ในรูปแบบที่หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะการสื่อสารโดยมีอุปกรณ์เป็นศูนย์กลาง เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ตต่างๆ ทำให้โครงสร้างสังคมทางการสื่อสารได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ถึงแม้ว่าการสื่อสารจะสะดวกสบายขึ้นในทุกๆด้าน แต่การสื่อสารในยุคสมัยนี้ก็ยังมีข้อเสียที่น่าสังเกตอยู่จุดหนึ่ง ว่าการสื่อสารผ่านช่องทางใหม่ๆกำลังทำให้สังคมวิจารณ์สิ่งต่างๆรุนแรงได้อย่างไร หลายคนอาจเคยได้ยินว่าคนเดี๋ยวนี้มีความคิดอ่านที่รุนแรงขึ้นกว่าแต่ก่อน ตัวผู้เขียนได้ลองพิจารณาดูแล้วและพบว่าสื่อใหม่สามารถกระตุ้นความรุนแรงในสังคมได้จริง

จากกรณีข่าวต่างๆที่เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคม เช่น กรณีของ นางสาวแพรวา เทพหัสดิน ณ อยุธยา ไฮโซวัยรุ่น ที่ก่อเหตุขับรถชนรถตู้ที่มีผู้ด้วยสารบนทางด่วย ทำให้ผู้โดยสารภายในรถเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส และผู้โดยสารบางส่วนกระเด็นออกนอกรถตู้ตกลงไปด้านล่างจนเสียชีวิต เหตุดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์บนอินเตอร์เน็ตอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบนหน้า Facebook ที่มีการจัดตั้งเพจ ‘มั่นใจว่าคนไทยเกินล้านคนไม่พอใจ แพรวา(อรชร) เทพหัสดิน ณ อยุธยา’ ซึ่งยอดกดการไลค์พุ่งขึ้นถึงหนึ่งแสนภายในเวลาไม่กี่วันหลังเกิดเหตุ และยอดผู้กดไลค์คงที่ที่ 313,257 หลังจากเกินเหตุราว 2 เดือน ซึ่งในหน้าเพจ มีการแสดงความเห็นที่รุนแรง โดยการโพสต์ข้อความที่รุนแรงและด่าทอโดยผู้ใช้ทั่วไปที่มากดไลค์ ซึ่งการแสดงความเห็นของมวลชนนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่การกระทำที่รุนแรงเช่นนี้ สมควรเป็นที่ยอมรับหรือไม่ และเหตุใดจึงมีความรุนแรงเช่นนี้เกิดขึ้นมากมายบนอินเตอร์เน็ต ทั้งกรณีของน้องก้านธูป ซึ่งทำให้น้องก้านธูปถูกตัดสิทธิ์การเข้าศึกษาในสถาบันบางแห่ง กรณีของนักการเมือง หรือแม้แต่กรณีสถาบันกษัยตริย์ เช่น เพจ ‘ไอ้เหี้ยภูมิพล’ ที่ปัจจุบันถูกลบไปและตามจับแล้ว จากกรณีที่กล่าวมา เราเห็นอะไรจากความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นบนโลกอินเตอร์เน็ตบ้าง

การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า Computer-Mediated Communication (CMC) เป็นรูปแบบอย่างกว้างๆที่สามารถกำหนดการติดต่อปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปหรือเป็นเครือข่ายบนคอมพิวเตอร์ เป็นการสื่อสารปฏิสัมพันธ์แบบไม่ต่อเนื่องกันผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งในบางครั้งอาจมีข้อความในด้านลบ การสื่อสารแบบ CMC อาจมากหรือน้อยเกินไปในบางครั้ง

การสื่อสารแบบ CMC สามารถส่งผลในแง่ลบได้ เนื่องจากการอยู่เบื้องหลังหน้าจอคอมพิวเตอร์ทำให้เราเกิดการ ‘ลดทอนความเป็นตัวตน’ ของตัวเองลง เรียกว่าพฤติกรรมไม่เป็นตัวเอง (Deindividuation) ซึ่งหมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากสภาพจิตใจของบุคคลเมื่ออยู่ในกลุ่มแล้วจะมีความรู้ตัว (Awareness) น้อยลงกว่าปกติ ทำให้ขาดความสามารถในการวิเคราะห์และการประเมินสถานการณ์รอบตัวอย่างมีสติสัมปชัญญะ ความคิดและความสามารถในการใช้เหตุผลไตร่ตรองจะลดลง และไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมบางอย่างซึ่งในเวลาปกติจะไม่ก่อพฤติกรรมเช่นนั้น พฤติกรรมเหล่านี้ถูกแสดงออกตามสิ่งเร้าในสถานการณ์อย่างปราศจากการไตร่ตรอง ความรุนแรงของพฤติกรรมจึงมีมากกว่าปกติ ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมของคนในขณะที่มีการจลาจล คนที่อยู่ในเหตุการณ์จะกระทำการหลายอย่าง ไม่เป็นตัวของตัวเอง หรือ เมื่อแก๊งค์เด็กแว๊นเกิดความคึกคะนองมากๆก็จะพากันไปก่อหตุ แต่เมื่อเวลาอยู่คนเดียวจะไม่กล้าทำการใดๆโดยลำพัง แต่การจะเกิด Deindividuation มีเงื่อนไขบางประการ ซึ่งทุกเงื่อนไขไปทำให้ให้ความรู้สึกตัวเองลดลง โดยเงื่อนไขเหล่านั้นได้แก่

• การที่คนในกลุ่มคิดว่าตนเองสามารถปกปิดเอกลักษณ์ของตนได้จนทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า ไม่มีใครที่อยู่นอกไปจากกลุ่มคนที่สนิทสนมของตนรู้จักหรือจำตนเองได้ ดังนั้นถ้ายิ่งคนในกลุ่มแต่งกายเหมือนกันมีการปิดหน้า ปิดชื่อ ยิ่งจะทำให้เกิดอาการเช่นนี้เพิ่มขึ้น เช่น ปัญหานักเรียนนักศึกษาตีกัน

• การที่จิตใจและอารมณ์ได้รับการกระตุ้นเร้าอย่างรุนแรง

• การเพ่งจุดสนใจออกไปสู่เหตุการณ์อื่นๆที่อยู่นอกตัวเองออกไปจนทำให้ไม่นึกถึงตนเองและผลกระทบ

•การได้อยู่ในกลุ่มที่มีความคิดสนิทสนมกัน มีความเห็นไปในทางเดียวกัน และแสดงออกมาอย่างมีเอกภาพ

จะเห็นได้ว่าการสื่อสารแบบ CMC มีปัจจัยที่ครอบคลุมอยู่ในการ Deindividuation อยู่ 3 ข้อ คือ 1. การปกปิดอัตลักษณ์ของตนเอง 2.การถูกกระตุ้น และ 3.การที่สมาชิกในสังคมนั้นๆมีีความกลมเกลียวกัน สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยเหล่านี้ คือการแสดงความคิดและการโพสต์ภาพเห็นอันรุนแรงลงบนหน้าอินเตอร์เน็ต การแสดงออกใดๆอาจไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงๆของผู้ที่เขียน แต่เป็นเพระทุกคนบนกลุ่มสังคมออนไลน์เป็นกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ร่วมกัน จึงมีอารมณ์ร่วมกัน แล้วยิ่งถ้าเห็นการแสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันมากๆ ก็ย่อมเสริมสร้างความรุนแรงให้แก่กันและได้ เพราะภาพที่เห็น คือการแสดงความเป็นเอกภาพของชุมชน และยิ่งไปกว่านั้น บนโลกออนไลน์ เราไม่จำเป็นต้องแสดงตัวตนที่แท้จริงของตัวเราเสมอไป เราอาจเป็นใครก็ได้เท่าที่เราจะอยากเป็น เราอาจใช้ชื่อปลอม รูปปลอม หรือแม้แต้ข้อมูลส่วนตัวปลอมเพื่อปกปิดตัวตนที่แท้จริง หรือเพื่อเป็นคนใหม่ที่เราอยากจะเป็น เราจึงรู้สึกว่าเราจะไม่ใช่ตนเองบนโลกออนไลน์ และจะไม่มีใครสามารถจดจำเราบนโลกออนไลน์ได้

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากการลดทอนความเป็นตัวเองบนโลกอินเตอร์เน็ตมีให้เห็นหลายกรณี โดยผู้เขียนแยกย่อยเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1. Anti-page และ 2.Cyber Bullying ซึ่งการกระทำดังกล่าวเมื่อกระทำโดยขาด self-awareness จะส่งผลให้กลายเป็นการกระทำที่หยุดไม่อยู่และส่งผลที่ร้ายแรงตามมาได้

ตัวอย่างของ Anti-Page หรือ ศูนย์รวมของความเกลียดชังมีให้เห็นได้ทั่วไป คนมักเข้าไปโพสต์ข้อความเพื่อความสนุกสนานส่วนตัว ที่เกิดจากความคึกคะนองที่ได้เห็นความเป็นเอกภาพของสมาชิกในสังคม และสามารถทำได้โดยไม่ถูกตามจับ จุดประสงค์ของ Anti-Page มีเพียงแค่การระบายและแบ่งปันความเกลียดชังเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงการล้อเลียนหรือการแกล้งกัน

ภาพ'การลงโทษน้องสาว' ตัวอย่างความเป็น Internet meme ของเพลง Friday

ด้านกรณี Anti-page นั้นมีให้เห็นโดยทั่วไป เช่น การสร้างกลุ่มผู้เกลียดชังนักร้องวัยรุ่น Justin Bieber ซึ่งมีทั้ง Page บน Facebook หรือ เว็บบอร์ดตามเว็บไซต์ต่างๆ หากเราลองเสิร์ช Page จาก Facebook ว่า Hate Justin Bieber ก็จะพบว่ามีผลลัพธ์ที่เป็น Anti-Page จำนวนมาก และแต่ละ Page มีสมาชิกมากกว่า 1,000

อีกกรณีหนึ่งที่น่าศึกษา คือกรณีของ Rebecca Black เด็กสาววัยรุ่นที่จ้างบริษัทเล็กๆมาทำเพลงของตนเองโดยใช้ชื่อเพลงว่า ‘Friday’ และโพสต์ลงบนเว็บไซต์ Youtube ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่วัน ยอด view ก็พุ่งสูงถึง 1 ล้าน จนถึงปัจจุบันมียอด view อยู่ที่ 18,691,920 views เพลงของ Rebecca ถูกโลกไซเบอร์ตีตราว่าเป็น ‘เพลงที่ห่วยแตกที่สุด’ มีการคอมเมนต์คลิปในยูทู้ปด้วยข้อความด่าทอแลพดูถูกเหยียดหยาม และยังมีการสร้างกระแสต่อต้านโดยการสร้างหน้าเว็บขึ้นมาโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเว็บบอร์ดหรือ fan page บน Facebook ในที่สุด Rebecca Black และเพลง Friday ก็ได้กลายเป็น Internet Meme ที่ยังเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทั้งชื่อ Rebecca และ ชื่อเพลง ถูกใช้เพื่อแสดงถึงความ ‘ห่วย’ และ ‘ความปวดโสตประสาท’ สำหรับตัว Rebecca เองที่เป็นเพียงวัยรุ่นอายุ 14 ที่ต้องเจอกับกระแสต่อต้านที่มากขนาดนี้ ตัวเธอเองยอมรับว่าหลังจากที่กลายเป็นบุคคลโด่งดัง ชีวิตของเธอทั้งหมดเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง การใช้ชีวิตเหมือนตัวตลกไม่ใช่เรื่องง่าย แต่โชคยังดีที่เธอยังมีครอบครัวที่อบอุ่น พร้อมจะเข้าใจและเป็นแรงผลักดันที่ดี ทำให้ชีวิตของเธอไม่ย่ำแย่จนถึงขนาดคิดฆ่าตัวตาย

กรณีของ Rebecca Black ยังนับเป็นกรณีที่ไม่ร้ายแรง เนื่องจากกระแส

Anti-Page ต่อต้าน Rebecca Black

อินเตอร์เน็ตไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออนาคตของตัวเธอเท่าใดนัก เมื่อเทียบกับกรณีของ ‘น้องก้านธูป’ ที่ถูกกระแสต่อต้านอย่างรุนแรงบนอินเตอร์เน็ต จนกระแสสังคมกดดันให้ถูกตัดสิทธิ์การเข้าเรียนจากมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยที่ในขณะนั้น ก้านธูปยังไม่ได้ถูกดำเนินคดีใดๆ

และกรณีตัวอย่างของ Cyber Bullying มีเด็กจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาที่กดดันเพราะถูกกลั่นแกล้งผ่าน Social Media Alexis Pilkington เด็กสาวอายุ 17 จาก Long Island ตัดสินใจฆ่าตัวตายภายในห้องนอนของตนเองหลังจากตกเป็นเหยื่อของการ Cyber Bullying มานาน Alexis เป็นเด็กน่ารัก ฉลาด และนิสัยดี เป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆคน และยังเป็นทั้งนักฟุตบอลฝีมือดีที่เพิ่งได้รับทุนกีฬาประเภทฟุตบอลไปศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ Dowling College ซึ่ง Alexis กำลังจะได้เข้าไปเป็นนักศึกษาใหม่ในปลายปีนั้น ถึงแม้ว่า Alexis จะตายไปแล้ว แต่ข้อความก่อกวนไม่ได้ลดลงเท่าไรนัก แม้แต่ในหน้า Fanpage ของ Facebook ที่ถูกสร้างมาเพื่อรำลึกถึงการตายของเธอก็ยังถูกระราน ตลอดเวลาที่ Alexis ถูกก่อนกวน การก่อกวนโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนหน้า Facebook และข้อความเกือบทั้งหมดถูกโพสต์โดยบัญชี Facebook ปลอมที่ถูกสร้างมาเพื่อก่อกวน Alexis โดยเฉพาะ     Alexis ถูกกล่าวหาว่าเป็นเลสเบี้ยน และถูกคุมคามด้วยข้อความทางเพศที่หยาบคาย รวมทั้งถูกนำรูปส่วนตัวไปตกแต่ง เช่น ถูกนำไปตกแต่งให้เป็นรูปโดนแขวนคอ และยังมีการสร้างบัญชี Facebook ปลอมนำรูปและชื่อของ Alexis ไปใช้ และนำไปเข้าร่วมกลุ่มประเภทวิปริตทางเพศ จากเหตุการณ์ต่างๆทำให้ Alexis เกิดความเครียดจนฆ่าตัวตาย แต่ทางครอบครัวของเธอไม่ได้คิดว่าการล้อเล่นออนไลน์จะส่งผลเพียงพอให้ Alexis ฆ่าตัวตาย แต่การล้อเลียนที่เกิดขึ้นอาจส่งผลไปยังความสัมพันธ์ของตัว Alexis และเพื่อนๆในชีวิตจริงมากกว่า

อีกกรณีหนึ่งที่น่าสนใจคือกรณีของเด็กชาย Ryan Patrick Halligan ที่ตัดสินใจฆ่าตัวตายเมื่ออายุเพียงแค่ 13 เนื่องจากตกเป็นเหยื่อ Cyber bullying ซึ่งการล้อเลียนบนโลกออนไลน์ทำให้เขาถูกกลั่นแกล้งในชีวิตจริงหนักขึ้นทุกวัน สำนักข่าว AP รายงานว่า Ryan ถูกคุกคามโดยการส่งข้อความประเภท Instant Message จำพวก Chat ซึ่งเขาโดนกล่าวหาว่าเป็นเกย์ การที่ Ryan เป็นเด็กที่ขี้อายและไม่สู้คนประกอบกับปัญหาด้านการเรียนรู้ ย่ิงที่ทำให้ Ryan กลายเป็นเป้านิ่งในการกลั่นแกล้ง เมื่อ Ryan ได้เลื่อนชั้น เขาต้องไปเรียนอยู่ในตึกเรียนที่มีเด็กที่โต

กว่า ทำให้เขายิ่งถูกกลั่นแกล้งแรงขึ้น จนเด็กทุกคนในตึกเรียนเรียกเขาว่า ‘ไอ้ห่วย’ สุดท้ายเมื่อ Ryan ทนแรงกดดันไม่ไหว เขาจึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย การตายของ Ryan ส่งผลให้เกิดการผลักดันกฏหมายการป้องกันเด็กจาก Cyber bullying ของรัฐ Vermont ให้แข็งแรงขึ้น

ความรุนแรงบนโลกออนไลน์เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมที่ไม่เพียงสร้างความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจของคนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ทำให้สังคมเจ็บป่วย และที่น่าเป็นห่วงคือ ความรุนแรงเกิดขึ้นได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน ในสถานศึกษา ที่ทำงาน หรือแม้แต่บนท้องถนน ยิ่งปัจจุบันเป็นยุคที่เทคโนโลยีด้านการสื่อสารพัฒนาอย่างไร้ขีดจำกัด โลกไซเบอร์จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เด็กและเยาวชนมีอิสระและมีทางเลือกในการทำร้ายกันมากขึ้น

แม้แต่ในประเทศไทย ผลงานวิจัยชิ้นล่าสุดของปัญญาสมาพันธ์ฯบ่งบอกว่า เยาวชนเกือบร้อยละ 50 ยอมรับว่าตนเองถูกรังแกผ่านสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการถูกนินทาหรือด่าทอผ่านโทรศัพท์มือถือ ห้องสนทนาทางเว็บไซต์ ได้รับข้อความก่อกวนทางโทรศัพท์มือถือ อีเมล หรือเว็บไซต์

การกระทำตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นการสร้างภาพความรุนแรงที่เกินจริงในสังคม และทำให้เกิดการหล่อหลอมคนในสังคมให้กลายเป็นคนที่มีความคิดที่รุนแรงขึ้นตามลำดับของการแสดงออกบนสื่อออนไลน์

ผลการสำรวจในปัจจุบันพบว่าการสื่อสารแบบมีคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง เพิ่มสมรรถะภาพด้านการตระหนักรู้ถึงตนเองในด้านของความเป็นส่วนตัว (private-self awareness) แต่กลับลดการหนักรู้ของสังคมลงไป โดยสรุปแล้วรูปแบบการสื่อสารแบบ CMC ทำให้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น ปิดบังตนเองมากขึ้น จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาทางลบที่รุนแรงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการถูกลดทอนความเป็นตนเองลง ถึงกระนั้นก็ยังมีองค์กรและกฏหมายต่างๆที่เรียกร้องให้เกิดการควบคุมการใช้สื่อ Social Media ให้ถูกวิธี และจับตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ แต่สำหรับประเทศไทยเอง การสื่อสารผ่าน Social Media ยังนับว่าเป็นเรื่องที่ใหม่อยู่ ผู้ใช้สื่อมีความรู้เท่าทันด้านบวกและลบของสื่อน้อยมาก และกฏหมายไทยก็ยังไม่ได้มีเนื้อหาที่เข้มข้นและลงลึกถึงขนาดที่จะเอาผิดกับกรณีดังกล่าวได้ ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุด คือการที่นักสื่อสารมวลชนอย่างเรา ที่ตระหนักรู้เท่าทันถึงพลังอำนาจของ Social Media ช่วยกันผลักดันให้เกิดกระแสสังคม ให้มีการออกกฏหมายด้านจริยธรรมการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีโครงสร้างที่แข็งแรงพอที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างเฉียบขาด และกระตุ้มการปลุกจิตสำนึกและการหยั่งรู้ถึงตัวตนและการกระทำของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ให้ตระหนักถึงผลของสิ่งที่ตนเองทำให้ได้

 

แหล่งอ้างอิง

http://jcmc.indiana.edu/vol4/issue4/herring.html#ABSTRACT

http://www.cbsnews.com/stories/2010/03/29/earlyshow/main6343077.shtml

http://www.huffingtonpost.com/2010/03/24/alexis-pilkington-faceboo_n_512482.html

http://www.ryanpatrickhalligan.org/

หนังสือเรียนวิชาจิตวิทยาสังคมขั้นสูง โดย อ.จรุงกุล บูรพวงศ์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Leave a comment »