cujrnewmedia

Just another WordPress.com site

Trust : เหยื่อของ ‘ความเชื่อใจ’ #กันตพร สวนศิลป์พงศ์ 5245008128

กันตพร สวนศิลป์พงศ์ 5245008128

 

Trust : เหยื่อของ ความเชื่อใจ

 

                    ในยุคที่อินเตอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนประกอบสำคัญในชีวิตคนเรา โลกอินเตอร์เน็ตไม่แตกต่างอะไรจากโลกจริง ซึ่งมีผู้คนหลากหลาย เราจะเจอใครเข้าเมื่อไหร่ก็ไม่อาจรู้ได้ และภัยนั้นก็อาจเข้าประชิดตัวเราหรือคนใกล้ชิดโดยที่เราไม่รู้ตัว ภาพยนตร์เรื่อง Trust เป็นสื่อหนึ่งที่เล่าถึงปัญหาที่สังคมต่างประสบซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยหนังเล่าเรื่องราวของเด็กสาวอายุ 14 ปี ชื่อแอนนี่ เธออาศัยอยู่ในครอบครัวที่อบอุ่นครอบครัวหนึ่ง ประกอบด้วยพ่อแม่ พี่ชายและเธอ เธอมีเพื่อนทางอินเตอร์เน็ตที่สนิทชื่อชาร์ลี เธอรู้สึกดีกับชาร์ลีเป็นพิเศษ หากแต่วันหนึ่งที่เธอได้พบกับชาร์ลีตัวจริง เธอพบว่าเธอถูกหลอกและถูกข่มขืน เพื่อนสนิทของเธอที่หวังดีด้วยจึงแจ้งทางโรงเรียน นั่นทำให้ครอบครัวของเธอทราบเรื่อง ที่เลวร้ายกว่านั้นคือมันทำให้เกิดรอยร้าวขึ้นในครอบครัวที่เคยมีความสุข ความสัมพันธ์ที่จับต้องไม่ได้ในโลกเสมือนนั้นมีอิทธิพลมากกว่าที่เราคิด การรู้เท่าทันสื่อจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะรักษาตัวเราเองและครอบครัวให้ปลอดภัยจากภัยที่อาจเกิดขึ้นได้

                  เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อแอนนี่ได้รับคอมพิวเตอร์เป็นของขวัญวันเกิดจากพ่อ คอมพิวเตอร์เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้ความสัมพันธ์และเธอกับชาร์ลีพัฒนาขึ้นอีก อันที่จริงแล้วพ่อและแม่ของแอนนี่ก็ใช่ว่าจะไม่สนใจการใช้คอมพิวเตอร์ของลูกเลย พ่อแอนนี่นั้นจะคอยดูแลเรื่องเวลาในการใช้ และคอยเตือนให้แอนนี่เข้านอน เขาเข้ามาสนใจไถ่ถามว่าแอนนี่คุยกับใครหรือทำอะไรอยู่ ซึ่งแอนนี่ก็ตอบว่ากำลังแชทกับเพื่อนชื่อชาร์ลี ดูเผินๆแล้วแอนนี่ซึ่งมีพ่อและแม่ค่อนข้างใกล้ชิดไม่น่าจะมีปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้น แต่ทว่าปัญหาที่แท้จริงอาจเป็นการที่พ่อและแม่วางใจคิดว่าลูกโตเพียงพอที่จะปล่อยให้ควบคุมดูแลตัวเองได้ จึงไม่ได้ให้ความสนใจมากไปกว่าการเข้ามาไถ่ถามในขั้นต้น หรืออาจเรียกได้ว่า ขาดการตรวจสอบเพราะพ่อไม่เคยถามต่อหรือขอข้อมูลเกี่ยวกับตัว ชาร์ลีให้มากขึ้น แม้แอนนี่จะบอกกับพ่อว่าชาร์ลีเป็นคนน่ารักกับเธอมาก และก็สังเกตได้ว่าแอนนี่คุยกับชาร์ลีบ่อย ซึ่งเป็นการบอกใบ้ว่าแสดงว่าชาร์ลีมีความต้องการที่จะใกล้ชิดกับลูกสาวตนเอง พ่อและแม่แอนนี่ก็ยังอนุญาตให้แอนนี่เล่นอินเตอร์เน็ตในห้องส่วนตัว และในภาพยนตร์นั้นก็ไม่ปรากฎฉากที่พ่อหรือแม่สอนให้แอนนี่รู้จักระแวดระวังภัยที่มากับอินเตอร์เน็ตเพราะอาจคิดว่าลูกสาวอยู่ใกล้ตัว ไม่น่าจะเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น เหตุการณ์นี้แสดงถึงการที่ผู้ปกครองมักเผลอลืมให้ความรู้พื้นฐานในการใช้สื่อของลูก หรืออาจตีความได้ว่า ตัวผู้ปกครองเองไม่เคยลองใช้อินเตอร์เน็ตในแบบที่ลูกใช้ เพื่อที่จะได้ทราบความเป็นไปและสิ่งแวดล้อมที่ลูกต้องเจอ ในส่วนนี้ Trust ของพ่อแม่จึงเป็นการเปิดช่องว่างให้ เกิดความเสี่ยงที่ภัยจะเข้ามาถึงตัวลูกสาว

                    ผลกระทบจากการใช้สื่อใหม่อย่างไม่รู้เท่าทันนั้น เห็นได้อย่างชัดเจนคือความสูญเสียที่เกิดกับสภาพจิตใจและสภาพร่างกายของแอนนี่ เพราะแอนนี่ไม่ได้คิดว่า บนอินเตอร์เน็ตนั้น คนเราสามารถสร้างตัวตนขึ้นมาใหม่อย่างไรก็ได้ เธอจริงใจกับการสนทนากับอีกฝ่ายด้วยการใช้รูปตัวเธอจริงๆส่งไปให้ ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เพราะฉะนั้น ผลกระทบของการใช้สื่อใหม่อย่างไม่รู่เท่ากัน อาจเป็นการที่ผู้ใช้ให้ Trust กับบุคคลบนโลกเสมือนโดยไม่ทันได้คิดอย่างรอบคอบ เพราะสิ่งที่เปิดเผยออกไปนั้นสามารถเผยแพร่ต่อไปได้อีก และเราก็ไม่อาจทราบว่าคู่สนทนาจะกระทำเช่นไรกับข้อมูลของเรา การจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวนั้นจึงควรกระทำแค่กับเฉพาะผู้คนที่เราใกล้ชิดและค่อนข้างไว้ใจมากๆเท่านั้น และการที่แอนนี่เชื่ออย่างสนิทใจว่าชาร์ลีจริงใจกับเธอ ก็ทำให้เธอรู้สึกจริงจังกับความรักที่เธอมีให้ชาร์ลี เพราะประเด็นสำคัญก็คือ แม้เธอจะถูกข่มขืน แต่ตัวเธอเองก็ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเธอคือความเสียหายต่อชีวิตและจิตใจ เธอยังคงเชื่อสิ่งที่ ชาร์ลีบนโลกอินเตอร์เน็ตบอกกับเธอว่าเขารู้สึกดีกับเธอจริงๆ และการมีอะไรกันนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรัก ไม่ใช่อาชญากรรม เธอจึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการติดตามจับตัวคนร้าย ชาร์ลีและรู้สึกไม่ดีกับพ่อแม่ที่พยายามตามจับตัวคนที่เธอรัก

                   นอกจากเรื่องที่แอนนี่โดนข่มขืน ผลกระทบอื่นอาจรวมไปถึง การที่พ่อของแอนนี่เกิดความเครียดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนทำให้หมกมุ่นกับปัญหาตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาทำงานหรือเวลานอน เขาใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบเสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับคนที่น่าจะเป็นคนร้ายด้วยตนเอง แทนที่จะใช้อินเตอร์เน็ตในการหาข้อมูลที่อาจมีหนทางเยียวยาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น เพราะเขามีทางเลือกอื่นๆเช่น เข้าหาลูกทางอินเตอร์เน็ตบ้างเพื่อให้ลูกรู้สึกว่าพ่อคอยอยู่ใกล้ การหาข้อมูลเพื่อให้ตนเองเข้าใจวิธีที่จะพูดคุยกับวัยรุ่นอย่างแอนนี่มากขึ้น การเลือกหากิจกรรมหรือสังคมใหม่ที่ให้ลูกเลือกเป็นทางออกในสภาวะที่จิตใจย่ำแย่ แต่ความคิดกังวลและอินเตอร์เน็ตทำให้พ่อแอนนี่ตกอยู่ในวังวนของความกระวนกระวาย หวาดระแวง ข้อมูลที่พ่อแอนนี่เลือกรับจากอินเตอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งตอกย้ำให้ความรู้สึกย่ำแย่ยิ่งขึ้น (จึงอาจเรียกได้ว่า พ่อก็กลายเป็นคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตไม่ถูกวิธีด้วยกลายๆ) ความตึงเครียดทำให้เขาถึงกับขโมยเอกสารจากตำรวจเพื่อจะตามสืบเสาะคนร้ายด้วยตนเอง หรือต่อยหน้าผู้ปกครองท่านอื่นในโรงเรียนแอนนี่เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นคนร้าย

                   นอกจากนี้ หนังยังตีแผ่ให้เราเห็นกลวิธีการสื่อสารที่คนร้ายใช้ล่อลวงแอนนี่ ซึ่งอาจแบ่งได้ออกเป็นสองส่วนหลัก ส่วนแรกคือการสื่อสารที่ทำให้เกิดความสนิทสนมใกล้ชิดและไว้เนื้อเชื่อใจ ในส่วนนี้ ลักษณะการพูดคุยอย่างแรกคือการพูดคุยที่เป็นมิตร มีเสน่ห์ มีอารมณ์ขัน มีการใช้อิโมติค่อนเพื่อแสดงอารมณ์ มีการติดต่ออย่างสม่ำเสมอ แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ในตัวแอนนี่ เพื่อให้ความสนิทสนมมีมากขึ้นเรื่อยๆ มีการหยอดคำหวาน แหย่ด้วยคำในเชิงชู้สาว นอกจากนี้ กลวิธีการพูดที่มีพลังมาก คือการพูดที่แสดงให้เห็นความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน เช่น เวลาแอนนี่มาเล่าเรื่องแล้วคุยกัน ก็จะบอกว่าเธอเป็นคนที่เข้าใจเขามาก “You just get me” รวมไปถึงใช้คำพูดในการให้กำลังใจ ทำให้รู้สึกดี ทำให้รู้สึกมั่นใจในตัวเอง พูดชื่นชม และทำให้รู้สึกนับถือตัวเอง เพราะเด็กสาวที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นที่กำลังต้องการการยอมรับจากเพื่อน ต้องการการเข้าสังคม ต้องการความมั่นใจนั้น คำพูดแบบนี้จึงมีผลมาก เห็นได้จากหลายๆฉากในภาพยนตร์ เช่น ฉากที่แอนนี่เล่าว่าตนได้รับเชิญให้ไปงานเลี้ยงสาวcool คนร้ายก็ใช้คำว่า gorgeous เพื่อชื่นชมเธอ หรือในฉากที่แอนนี่กำลังจะตกเป็นเหยื่อในโรงแรม คนร้ายใช้วิธีการพูดในด้านบวกกับแอนนี่ตลอดเวลา เช่น บอกว่าเธอ สวยมาก “You’re perfect” หรือ “You take my breath away” ทำให้เด็กสาวรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และเขาเป็นคนที่เห็นคุณค่านั้นจริงๆ

                  ในส่วนหลักส่วนที่สอง คือการสื่อสารที่ทำให้เหยื่อสามารถยอมรับการหลอกลวงได้ จะเห็นได้ว่าคนร้ายจะค่อยๆเปิดเผยอายุที่ใกล้เคียงอายุจริงมากขึ้นทีละขั้น เพราะหากเปิดเผยในครั้งเดียว แอนนี่ก็คงจะรับไม่ได้ การค่อยๆเปิดเผยและการพูดตะล่อมไปเรื่อยๆทำให้เด็กสาวค่อยๆรับได้เองไปโดยอัตโนมัติ เขาแจงเหตุผลที่ตนต้องหลอกลวงว่าเป็นเพราะกลัวเธอจะรับไม่ได้ คือใช้เหตุผลที่ให้ความสำคัญกับตัวแอนนี่ตลอดเวลา ในครั้งที่แอนนี่ไปเจอกันที่ห้างแล้วความจริงเปิดเผยว่าชาร์ลีไม่ใช่เด็กไฮสคูล ไม่ใช่เด็กมหาวิทยาลัย แต่เป็นผู้ชายวัย35ปี คนร้ายใช้วิธีพูดว่า ที่ไม่ได้บอกความจริงเป็นเพราะกลัวเธอจะไม่เป็นผู้ใหญ่พอจะเข้าใจ ว่าเรื่องของความรักนั้น บางครั้งอายุก็ไม่สำคัญ คนร้ายใช้คำว่า soulmate ซึ่งเป็นธรรมชาติความเพ้อฝันของเด็กสาวทั่วไปมาทำให้รู้สึกดีและลืมประเด็นอื่นๆไปสิ้น ใช้การหว่านล้อม ไม่พูดจารุนแรง แสดงให้เห็นความสุภาพอ่อนโยน เพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ผู้หญิงต้องการ คนร้ายสร้าง Trust ในตัวแอนนี่ขึ้นมา เพื่อให้เธอตกเป็นเหยื่อของเขาอย่างง่ายดาย

                  ภาพยนตร์เรื่องนี้มีประโยชน์ในแง่การเป็นอุทาหรณ์เตือนใจคนใช้อินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะวัยรุ่น และสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆนั่นคือภาพยนตร์เรื่อง Trust แฝงไว้ด้วยสัญลักษณ์เล็กๆ และคำพูดที่ดีที่น่าเก็บมาคิด อย่างเช่น ฉากที่พี่ชายแอนนี่กำลังจะย้ายออกไปอยู่หอพักในมหาวิทยาลัย พ่อได้เข้ามาคล้ายจะพูดสอนลูก พี่ชายแอนนี่จึงพูดกับพ่อว่า “Trust me” คือให้เชื่อใจเขาเถอะ ซึ่งการเล่าเรื่องของหนังก็เสียดสีเล็กๆว่า ตัวพี่ชายที่พ่อห่วงเพราะกำลังจะไปอยู่ห่างไกลนั้นไม่ใช่คนที่เกิดปัญหาขึ้นในชีวิต แต่กลับเป็นลูกสาวที่อยู่ใกล้ชิดกัน และประโยคอื่นๆอย่างเช่น บางทีก็ไม่มีที่ว่างให้กับความผิดพลาดก็หมายถึง ช่องว่างเพียงนิดที่พ่อแม่แอนนี่และตัวแอนนี่เองชะล่าใจกับภัยในโลกอินเตอรเน็ตทำให้สายสัมพันธ์ในครอบครัวเปลี่ยนไปในพริบตา จากที่เคยสนิทสนมกันกลับกลายเป็นความมึนตึงเย็นชาและรุนแรง แอนนี่เองก็พูดว่า เมื่อถูกข่มขืน ชีวิตของเธอก็ไม่มีทางจะเหมือนเดิมได้อีกต่อไป โดยในฉากหนึ่งที่แอนนี่สนทนากับชาร์ลีและกำลังจะกดปุ่ม enter เพื่อคีย์ข้อความลงไป คำว่า “Return” ที่ปรากฎบนปุ่มเดียวกันก็เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่า การตัดสินใจเพียงครั้งเดียว สามารถทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไป ไม่สามารถย้อนคืน (Return) มาได้อีกแล้ว เพราะฉะนั้น การจะให้ Trust กับใครบนโลกอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเรื่องที่ควรใคร่ครวญให้มาก เพราะเราไม่รู้ว่าหลังจอคอมพิวเตอร์ของอีกฝ่ายนั้นคืออะไร และสิ่งที่ไม่ควรเผลอทอดทิ้งไป นั่นคือ Trust ที่ให้กับคนในครอบครัว ลูกต้องให้พ่อแม่ และพ่อแม่เองก็ต้องมีให้กับลูกและพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างกันและกัน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นนั่นเอง

Leave a comment »

การตลาดออนไลน์ : เมื่อคนธรรมดาเป็นใหญ่ #กันตพร สวนศิลป์พงศ์ 5245008128

 กันตพร สวนศิลป์พงศ์ 5245008128

การตลาดยุคออนไลน์ : เมื่อคนธรรมดาเป็นใหญ่

              โลกเปลี่ยนไปเมื่ออินเตอ์เน็ตเข้าได้เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารที่เคยมีมาแต่เดิม อินเตอร์เน็ตได้เข้าแทรกซึมในวิถีชีวิตผู้คน และเป็นช่องทางในการสื่อสารที่สำคัญ ซึ่งนั่นหมายความรวมถึงโลกธุรกิจและการตลาดด้วยเช่นกัน หากดูกันง่ายๆ เมื่อก่อนตราสินค้าหรือแบรนด์อาจไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่เดี๋ยวนี้ นอกจากเว็บไซต์แล้ว อาจยังต้องมีเพจเฟซบุ๊ก แอคเคานต์

              ทวิตเตอร์มาเป็นลูกคู่แถม โซเชียลมีเดียเหล่านี้ไม่ได้มีไว้เล่นๆ สื่อใหม่กลายเป็นช่องทางสื่อสารการตลาดที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน หากแต่นอกเหนือจากสื่อในมือขององค์กรเองแล้ว สิ่งที่นักการตลาดต้องจับตามองคือสื่อในมือคนธรรมดา..ที่อาจไม่ใช่คนธรรมดาบนโลกออนไลน์

             ในยุคที่การโฆษณาเริ่มถูกพูดถึงว่ากำลังถดถอย คนไม่ให้ความเชื่อถือกับโฆษณาเหมือนเมื่อก่อน การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตผ่านช่องทางส่วนตัวอย่างเช่น เว็บบล็อก ทวิตเตอร์ หรือแม้แต่แอพลิเคชั่นอย่าง instagram กลับเป็นสิ่งสร้างแรงกระเพื่อมให้สังคมได้ ยกตัวอย่างการคลิปวิดิโอการสอนแต่งหน้ารายการ โมเมพาเพลิน ซึ่งเผยแพร่โดยอดีตนักร้องวัยรุ่น โมเม นภัสสร บูรณศิริ กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนพูดถึงและสร้างความนิยมให้เครื่องสำอางบางชิ้น ทำให้ผู้คนอยากได้มาเป็นเจ้าของกันยกใหญ่ ซึ่งความดังของโมเมพาเพลินนั้น คำบรรยายบน channel Youtubeที่ว่า รายการสอนแต่งหน้าและพูดคุยเรื่องอันเกี่ยวเนื่องกับเครื่องสำอางค์และความงามที่ hot ที่สุดทั้งในและนอกโลกอินเตอร์เน็ต แค่นี้นะ :-)” ก็คงไม่เกินจริงสักเท่าไหร่

             ตัวอย่างของโมเมพาเพลินนั้นคือการสื่อสารโดยอดีตคนดังซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ก่อนแล้ว แต่นอกเหนือจากนั้น คนธรรมดาซึ่งไม่ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างของสังคม ก็กลายมาเป็นเซเลบในโลกออนไลน์และมีอิทธิพลต่อสินค้าในตลาดได้เช่นกัน ผ่านการสื่อสารบอกเล่าเรื่องราวถึงสิ่งที่ตนเองสนใจเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนเริ่มมีคนติดตามเป็น follower เกิดความน่าเชื่อถือขึ้นในสังคมนั้นๆ รูปแบบการสื่อสารเช่นนี้อาจเกิดขึ้นบนบล็อก หรือบนเว็บบอร์ดก็เป็นได้


              ยกตัวอย่างเช่น บล็อกของคุณปูเป้ (PuPe_so_Sweet, pupesosweet.bloggang.com) ซึ่งเป็นบล็อกเกี่ยวกับการดูแลผิวหน้า ผลิตภัณฑ์การดูแลผิวหน้า เครื่องสำอางบำรุงและการทำความสะอาดต่างๆ บนหน้าเว็บบล็อกจะมีการแยกรีวิวเครื่องสำอางตามยี่ห้อต่างๆมากมาย คุณปูเป้กลายเป็นกูรูที่นักการตลาดส่วนหนึ่งให้ความสนใจ เพราะสินค้าชิ้นใดที่ถูกพูดถึงหรือได้รับการแนะนำก็ย่อมมีผู้คนให้ความสนใจไปลองใช้บ้าง บนหน้าบล็อกเมื่อเปิดเข้าไปก็จะพบว่ามีการลงโฆษณาแยกไว้ นอกจากนี้ผู้คนยังถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องการดูแลผิวหน้ามากมายจนต้องมีการจัดหน้าคำถามไว้ต่างหาก

              ตัวอย่างที่สองคือเว็บไซต์ jeban (จีบัน) (www.jeban.com) ซึ่งเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับเครื่องสำอางและการแต่งหน้า กับสโลแกนเว็บว่า ‘Makeup is Magic! เว็บสุดฮิปรวมเทคนิคการแต่งหน้าและกรุเครื่องสำอางเว็บไซต์จีบันนี้มีจุดเริ่มต้นจากการสอนแต่งหน้าบนเว็บบอร์ด Pantip ของเจ้าของเว็บไซต์ ซึ่งเรียกกันง่ายๆว่า ป้าจีนคุณป้าจีนคือผู้หญิงธรรมดาซึ่งมีความรักในการแต่งหน้าที่มาพูดคุยแบ่งปันเทคนิคต่างๆ จนกระทั่งวันหนึ่งที่กลุ่มคนติดตามได้เสนอว่าอยากให้เปิดเว็บไซต์ คุณป้าจีนก็ได้ตัดสินใจเปิดเว็บไซต์เป็นของตนเอง บนเว็บไซต์จีบันนี้ก็จะมีทั้งส่วนที่รีวิวเครื่องสำอางโดยสมาชิก มีการจัดประกวดแต่งหน้า ทุกเดือน (How-to contest) ซึ่งจะมีการกำหนดธีมเป็นโจทย์ขึ้นมา มีหัวข้อเนื้อหาเกี่ยวกับความสวยความงาม การทำผม แฟชั่นเครื่องแต่งกาย ให้คนได้ติดตามตามความสนใจ เนื้อหาจะมีที่มาจากทีมงานซึ่งบางคนก็เป็นกูรูในด้านนั้นๆ เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับการทำผมก็จะเป็นช่างทำผมที่มาเล่าสู่กันฟัง สมาชิกบนเว็บไซต์ยังมีเว็บเบอร์ดไว้สนทนาปรึกษาปัญหาต่างๆทั้งเรื่องชีวิตและเรื่องความสวยงาม และแน่นอนว่าบนเว็บไซต์ก็จะมีการลงข่าวและประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอจากผลิตภัณฑ์หลากหลายยี่ห้อ

                นี่แสดงให้เห็นว่า นี่คือกลุ่มสังคมขนาดใหญ่ที่นักการตลาดไม่อาจมองข้ามได้ กลุ่มสังคมบล็อกที่พูดถึงเรื่องเครื่องสำอางนั้นถือว่าใหญ่โตเป็นอันดับต้นๆในเครือข่ายบล็อกของประเทศไทยเลยทีเดียว

                นอกเหนือจากเรื่องผู้หญิงๆแล้ว ในแวดวงสินค้าอื่นๆก็สามารถเห็นพลังของกลุ่มคนธรรมดาแห่งโลกออนไลน์ได้เช่นกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือสินค้าภาพยนตร์

                ห้องเฉลิมไทยบนเว็บบอร์ด Pantip ถือเป็นห้องคึกคักอีกห้องหนึ่ง ห้องเฉลิมไทยจะมีการแยกห้องย่อยตามหมวดความสนใจ ห้องย่อยหนึ่งในนั้นก็คือห้องภาพยนตร์ต่างประเทศ และ หนังไทย การพูดคุยในห้องก็จะมีทั้งการพูดคุยธรรมดา ไถ่ถามความคิดเห็นกัน หรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์ต่างๆ สิ่งสำคัญของห้องเฉลิมไทยนี้คือการรีวิวหนัง (ซึ่งมีทั้งแบบเฉลยและไม่เฉลยเนื้อเรื่อง ; ศัพท์ที่ใช้คุยเรียกกันว่า spoil) ซึ่งเวลามีภาพยนตร์เข้าใหม่ สมาชิกส่วนหนึ่งซึ่งไปดูมาแล้วก็จะทำการมารีวิวหนัง แสดงความคิดเห็นว่าชอบหรือไม่ชอบ หากการรีวิวนั้นมีลักษณะการเขียนที่ดี มีคุณค่า หรืออาจเป็นรีวิวที่อ่านแล้วสนุกสนานเฮฮาเป็นที่ถูกใจ ก็จะมีการโหวตเป็นกระทู้แนะนำ ทำให้เกิดกระแสการบอกปากต่อปาก หรือสมาชิกคนไหนยังลังเลใจที่จะตีตั๋วเข้าไปดูหนังเรื่องไหนก็จะเข้ามาถามความคิดเห็นว่าคิดว่าหนังเป็นอย่างไรบ้าง ดีหรือไม่ดี

                ตัวอย่างภาพยนตร์ที่ได้รับผลดีจากการบอกปากต่อปากคือ ปัญญาเรณูภาคแรก ซึ่งเข้าฉายไปเมื่อปีก่อน แม้กระแสจะไม่ได้แรงมากและลักษณะภาพยนตร์ซึ่งมีบรรยากาศต่างจังหวัดและเด็กจะไม่ใช่ภาพยนตร์กระแสหลักของประเทศไทย แต่การแนะนำกันบนเว็บบอร์ดแห่งนี้ก็ทำให้ปัญญาเรณูกลายเป็นภาพยนตร์ที่กลุ่มคนดูหนังให้ความสนใจพอสมควรเลยทีเดียว

                บล็อกเกอร์ผู้หนึ่งซึ่งมีบทบาทเกี่ยวกับภาพยนตร์ทั้งในและนอกเว็บบอร์ดพันทิปคือบล็อกเกอร์ชื่อ ผมอยู่ข้างหลังคุณบุคคลนี้จะเขียนรีวิวภาพยนตร์ซึ่งตนเองได้ดูมาโดยทำการรีวิวไปพร้อมๆกับการวิเคราะห์หนังในเชิงจิตวิทยาและสังคม (เขาเป็นจิตแพทย์ประจำที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง) จากสไตล์การเขียนซึ่งอ่านแล้วได้ทั้งความเพลิดเพลินและความรู้ทำให้การรีวิวของเขามีกลุ่มผู้ติดตามขาประจำ และยังแตกยอดออกมามีหนังสือเป็นของตนเอง อาทิ เจ็บเพราะรัก และ ความสุขที่ท่านเรียกไม่สามารถติดต่อได้ในขณะนี้ โดยการเขียนนั้นจะมีการสอดแทรกถึงหนังเป็นสไตล์เฉพาะ เขายังเป็นเจ้าของรางวัล Thailand Blog Awards 2010 สาขา Best Writing และรางวัล Bloggang Popular Award สาขาภาพยนตร์ 5 ปีซ้อน และเป็นคอลัมนิสต์ประจำนิตยสาร All และ Flimax อีกด้วย

                นายปัณณทัต พรหมสุภา ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ค่ายพาราเม้าส์พิคเจอร์ ยูนิเวอร์แซล และดรีมเวิร์คแสดงความเห็นกับหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจว่า จุดเปลี่ยนของตลาดหนังคือการที่คนดูไม่เชื่อนักวิจารณ์ แต่จะเชื่อคนที่ไปดูมาแล้วบอกต่อมากกว่า ส่วนประธานกรรมการบริหารบริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ หรือ จีทีเอช (GTH) นายวิสูตร พูลวรลักษณ์ กล่าวว่าโซเชียลมีเดียมีผลกับหนังมาก จึงต้องเข้มข้นกับการผลิตภาพยนตร์มากขึ้น อะไรก็สู้ปากคนไม่ได้ อย่างเรื่อง กวนมึนโฮ ก็ได้จากตรงนี้เยอะ แต่ถ้าหนังไม่ดี มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ดีไปแล้ว เราก็ไปแก้อะไรไม่ได้ เมื่อก่อนเรายังซ่อนๆ ได้ แต่ตอนนี้ไม่ได้แล้ว อะไรที่บวก ก็จะกลายเป็นบวก+บวก อะไรที่ลบ ก็จะกลายเป็นลบลบ

                 นอกเหนือจากแวดวงภาพยนตร์ หัวข้อเรื่องอื่นๆอย่าง สินค้าไอที อาหารการกิน หรือการท่องเที่ยว การพูดคุยสนทนาบนเว็บไซต์ เว็บบอร์ด และบล็อกก็มีส่วนทำให้เกิดกระแสได้เช่นกัน สมัยนี้ ใครไปทานอะไรก็มักถ่ายรูปเก็บไว้แล้วเอามาโพสต์ลงต่อ ใครเป็นนักกินก็ทำรีวิวให้คนอ่านน้ำลายไหลตามๆกันไป ใครไปเที่ยวก็กลับมาเล่าเรื่องราวผ่านภาพถึงการเดินทางของตนเอง (ลองเข้าไปดูในPantip ห้อง Blue Planet) คนที่ได้รับรู้เรื่องราวเหล่านั้นก็เกิดความสนใจที่จะลองไปกินไปเที่ยวดูบ้าง และแน่นอนว่า หากคำวิจารณ์ที่ปรากฎเป็นด้านลบ เจ้าของแบรนด์ ร้าน หรือผลิตภัณฑ์ก็ต้องรับผลกันไป

                เรียกได้ว่า โซเชียลเน็ตเวิร์คในโลกใหม่นี้ ทำให้กลายเป็นยุคทองของ Word of mouth หรือ Viral marketing ใครเห็นใครชอบแล้วเอามาพูดถึงต่อ เอามาแชร์กันต่อก็มีผลต่อสินค้าและแบรนด์ได้ทั้งนั้น เพราะนอกจากการพูดถึงในส่วนของเว็บบล็อก เว็บไซต์ ยังมีการนำมาแชร์ต่อบนเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ ทำให้ข่าวสารนั้นแพร่กระจายไปเป็นวงกว้างมากขึ้นไปอีก

                นอกเหนือจากเว็บไซต์ และเว็บบล็อกต่างๆ ในยุคที่การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทำได้ผ่านมือถือ แอพลิเคชั่นต่างๆก็มีส่วนในการตลาดเช่นกัน เช่น แอพลิเคชั่น Foursquare ซึ่งมีฟังก์ชันในการเช็คอินจุด Location ที่บุคคลอยู่ Foursquare นี้กลายเป็นกิจกรรมทางการตลาดอย่างหนึ่งที่เห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน เช่นการเช็คอินที่ร้านแล้วนำไปยื่นให้พนักงานเพื่อรับส่วนลด เป็นต้น แอพลิเคชั่นที่ผู้เขียนอยากนำมาพูดถึงก็คือ Instagram

                 Instagram (อินสตาแกรม)หรือเรียกย่อๆว่า ig คือแอพลิเคชั่นถ่ายรูปซึ่งทำให้การถ่ายรูปเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว พร้อมไปด้วยความสวยงามซึ่งผู้ใช้สามารถตกแต่งรูปถ่ายผ่านการใช้ Filter ได้เอง รูปถ่ายจะถูกอัพโหลดแบ่งปันออกมาให้ Followerได้ดูกัน จากคำว่า Photographerจึงมีศัพท์ปรากฎขึ้นใหม่ซึ่งมีความหมายบ่งบอกถึงตากล้องมือถือที่ใช้ Instagramในการถ่ายรูป เช่น phonegrapher, iphonesia, igers, instagrammerเป็นต้น Instagramมียูเซอร์ใช้บริการถึง 15 ล้านคน และมีการอัพโหลดรูปถ่ายถึง 400ล้านรูปภายในระยะเวลาสองปี

                 ใครเป็นคนดังก็มี Follower เยอะเป็นธรรมดา อย่างเช่น พลอย เฌอมาลย์ ซึ่งมียอด follower หลักแสน แต่นอกจากคนดังแล้ว คนธรรมดาเองก็สามารถมีfollowerในจำนวนหลักสูงๆได้เช่นกัน ซึ่งอาจเป็นเซเลบโลกออนไลน์ในประเภทต่างๆดังที่กล่าวมา หรืออาจเป็น Instagrammer ซึ่งมีฝีมือการถ่ายและแต่งรูปสวยงาม เช่น แอคเคานต์ zwingzet ซึ่งเธอบรรยายตัวเองว่าเป็น a Happy Thai iPhonegraphy iger รูปถ่ายของเธอส่วนใหญ่จะเป็นภาพธรรมชาติที่ใหความรู้สึกสบาย สวยงาม และผ่อนคลาย เธอมียอดfollowerหลักหมื่นเลยทีเดียว

                กรณีตัวอย่างที่ Instagramเริ่มเข้าไปมีเอี่ยวกับสายงานธุรกิจคือ แอคเคานต์ @Bobsuicide เธอเป็นเด็กสาวไฮสคูลที่โพสต์รูปส่วนใหญ่เป็นรูปตัวเธอเองในอิริยาบถที่เซ็กซี่ เธอมีfollowerเยอะในหลักสี่พัน ที่น่าสนใจคือ ในรูปถ่ายของเธอนั้นจะมีสินค้าจำพวกตุ๊กตาจากภาพยนตร์เรื่อง Star Warsเป็นพร็อบประกอบ ข่าวว่าเมื่อภาพนั้นถูกพูดถึงมากขึ้น สินค้าที่ว่าก็จะมียอดขายสูงขึ้นตามไปด้วย จนเจ้าของแบรนด์ต่างๆสนใจว่าจ้างเธอให้ถ่ายภาพร่วมกับสินค้าของพวกเขาเพื่อเป็นการโปรโมต

                ในบทความ 5 Awesome Examples of Instagram Marketing From Real Brands เขียนโดย Lauren Sorenson ได้ยกตัวอย่างถึงแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ Instagram เธอแสดงความคิดเห็นว่า การสื่อสารผ่าน IG นั้นทำให้มีการสอดแทรก อารมณ์อยู่ในการสื่อสารด้วย ในขณะที่ตัวอักษรธรรมดาอาจทำไม่ได้

กรณีที่เธอยกตัวอย่างขึ้นมาคือ

– Starbucks แบรนด์แรกๆที่หันมาใช้ IG ในการทำการตลาด (ปัจจุบันมียอด follower ราวสองแสนคน) บริษัทจะโชว์ภาพกระบวนการคัดเลือกกาแฟรสชาติใหม่ๆให้เห็นกัน ซึ่งผู้ใช้ก็สามารถคอมเม้นท์ลงไปได้

– Red Bull ซึ่งเป็นสปอนเซอร์ในกิจกรรมกีฬาextremeต่างๆก็อัพโหลดภาพกิจกรรมเหล่านั้นที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้พบเห็นได้

– Marc Jacobs แบรนด์แฟชั่นราคาแพงมีไอเดียเก๋ๆในการให้ followerได้มีส่วนร่วมกับแบรนด์ เช่นการถามfollowerในวันหยุดให้อัพโหลดรูปช่วงเวลากับครอบครัวของตัวเองและ tag #marcfam ด้วย ทางแบรนด์ก็จะนำรูปภาพของfollowerที่ส่งเข้ามาทำเป็นรูป collage

– Tiffany & Co. บริษัทเครื่องประดับสุดหรูเลือกใช้ Instagram เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของสินค้า โดยการอัพโหลดภาพรายละเอียดที่ซับซ้อนในการผลิตแหวนเพชรและเครื่องประดับต่างๆ แฟนๆของแบรนด์ก็จะได้เห็นภาพรายละเอียดเบื้องหลังเบื้องลึกกว่าจะมาเป็นเครื่องประดับสวยๆอย่างที่เห็น รวมไปถึงภาพสินค้าที่เสร็จสมบูรณ์แล้วพร้อมพื้นหลังสีฟ้าเขียวสัญลักษณ์ของแบรนด์

– General Electric จะแสดงภาพที่แตกต่างออกไปจากผลิตภัณฑ์บริษัท แฟนๆจะได้เห็นภาพเครื่องกลที่สร้างความประทับใจและเป็นสิ่งสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขา นอกจากนี้ยังมีการจัดประกวดเฟ้นหา Instagrapher คนต่อไป โดยการใช้hashteg #GEInspiredMe และโพสขึ้นบนเฟซบุ๊คเพื่อทำการโหวต

                จากข้อมูลข้างต้น นอกเหนือจากบริษัทจะต้องให้ความสนใจกับเหล่า opinion leader และ influencerแล้ว บริษัทยังต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าคนธรรมดา โดยเข้าไปใกล้ชิดให้มากขึ้น ใช้มิติ ความใกล้ที่อินเตอร์เน็ตเอื้อเฟื้อให้ให้เป็นประโยชน์ เป็นช่องทางติดต่อสร้างความสัมพันธ์ต่อไปได้อีก ในทางตรงกันข้าม แบรนด์ไหนทำการตลาดออนไลน์แล้วทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีก็ต้องพิจารณากันไป เพราะอาจทำให้ดูล้าสมัย หรือไม่น่าเชื่อถือได้

                แต่ทำไมการตลาดออนไลน์ผ่านเซเลบในโลกออนไลน์ถึงมีพลังมากมายเหลือเกิน? เว็บมาสเตอร์เว็บไซต์ kokoyadi.com ได้แสดงความทัศนะไว้ว่า เป็นเพราะการสื่อสารนั้นเป็นการสื่อสารพูดคุยผ่าน ประสบการณ์มนุษย์ซึ่งแตกต่างจากการสื่อสารบนโฆษณาหรือข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหลายแหล่ ผู้คนจะเชื่อข้อมูลพื้นฐานของโฆษณา แต่จะไม่ได้เชื่อว่าใช้แล้วจะดีหรือไม่ดี

                อีกส่วนหนึ่งคือ ในโลกออนไลน์นั้น การแบ่งปัน การแชร์กันเกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้ข่าวสารแพร่กระจายได้ต่อไปนอกเหนือจากสิ่งเผยแพร่จากโฆษณา ข่าวประชาสัมพันธ์หรือการลงทุนของบริษัท การแชร์นี้จะถูกเห็นโดยคนที่ใกล้ชิดกัน อยู่ในแวดวงสังคมเดียวกัน อาจมีความชอบคล้ายคลึงกัน

              ทั้งนี้ การตลาดออนไลน์ซึ่งกระทำผ่านคนธรรมดาที่ไม่ธรรมดาเหล่านี้ก็ใช่ว่าจะมีแต่ด้านบวกเท่านั้น ด้านลบเองก็มีเช่นกัน เช่น กรณีบรรดาบิวตี้บล็อกเกอร์ทั้งหลายที่ได้รับการว่าจ้าง หรือ การส่งผลิตภัณฑ์ให้เพื่อให้ทำรีวิวสินค้านั้นๆ ประเด็นนี้กลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากมาย (หรือที่เรียกกันว่าดราม่า) เพราะสิ่งที่ทำให้บิวตี้บล็อกเกอร์เหล่านี้โด่งดังและเป็นที่รู้จักสนใจในกลุ่มผู้คนคือความรู้สึกว่าบล็อกเกอร์เหล่านี้สื่อสารในฐานะผู้บริโภคด้วยกัน การแทรกแซงของการทำการตลาดผ่านบล็อกเกอร์อาจทำให้บล็อกเกอร์เหล่านี้สูญเสียจุดยืนและสูญเสียความน่าเชื่อถือ เพราะผู้อ่านไม่ทราบว่าสิ่งที่เขียนรีวิวเป็นความจริงหรือไม่

              ‘คุณปูเป้จากบล็อกPupe_so_Sweetเลือกทางออกของตัวเองคือ การตกลงกับเจ้าของผลิตภัณฑ์แต่แรกว่าจะเขียนรีวิวอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการเข้าข้างหรือ อวยกัน ซึ่งหากเจ้าของสินค้ายังมั่นใจว่าสินค้าของตนนั้นมีคุณภาพดีก็จะยังเลือกส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปให้รีวิว เพราะความน่าเชื่อถือของบล็อกเกอร์หรือกูรูคนธรรมดานั้นมีมากในกลุ่มผู้บริโภค

              บนเว็บบอร์ดจีบันเองก็มีกลุ่มคนที่แฝงเข้ามาโฆษณาสินค้าต่างๆ จึงมีมาตรการที่ทางเว็บไซต์แจ้งและรู้กันเองในหมู่สมาชิก คือหากสมาชิกพบเห็นให้แจ้งแอดมินเพื่อทำการปิดทางกลุ่มคนเหล่านั้นไม่ให้เข้ามาใช้เว็บบอร์ดได้ การโฆษณาบนเว็บไซต์จีบันหรือเว็บบล็อกคุณปูเป้นั้นจะมีลักษณะที่ชัดเจนว่าเป็นกาโฆษณา ไม่ใช่การโฆษณาแฝง

               นอกจากนี้ กรณีโฆษณาแฝงยังพบเห็นในสังคมเว็บบอร์ด อย่างห้องคนที่สนใจภาพยนตร์ในเว็บไซต์Pantipนั้น หากมีคนที่ตั้งกระทู้แล้วคำพูดคำจาดูเชียร์หนังสุดๆหรือผิดปกติ ก็อาจมีสมาชิกที่ตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นหน้าม้าทำให้ยูเซอร์นั้นถูกโจมตีในที่สุด

              เรียกได้ว่า การตลาดออนไลน์นั้นเปิดช่องทางใหม่ๆในการสื่อสารการผู้บริโภค ซึ่งช่องทางใหม่นี้ก็เป็นได้ทั้งโอกาสและภัยสำหรับบริษัทต่างๆ โอกาสที่จะมาถึง อาจหมายถึงการสร้างสรรค์การสื่อสารที่มีเสน่ห์ แปลก ไม่ซ้ำใคร เป็นที่สนใจของผู้คน แต่หากทำผิดพลาดแล้ว โอกาสที่ความผิดนั้นจะถูกมองข้ามก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะในโลกอินเตอร์เน็ตนั้นมีสายตามากมายที่จะเป็นพยานทันทีที่ข้อมูลข่าวสารนั้นหลุดออกไป ที่แน่ๆคือ อินเตอร์เน็ตที่ทำให้บทบาทของ คนธรรมดามีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการตลาดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ละแบรนด์จะอัพเดทรับมือความเปลี่ยนแปลงอย่างไรเราก็คงจะได้เห็นกันต่อไป

อ้างอิง

– Instagram and the Fashion industry http://www.postano.com/blog/instagram-and-fashion

– 5 Awesome Examples of Instagram Marketing from Real Brands http://blog.hubspot.com/blog/tabid/6307/bid/30908/5-Awesome-Examples-of-Instagram-Marketing-From-Real-Brands.aspx

ค่ายหนังแห่ทุ่มนิวมีเดียสร้างกระแสหนัง http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=106287:2012-02-07-02-32-19&catid=106:-marketing&Itemid=456

หลากวิธีหาเงินบน Instagram
http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=93954

เมื่ออินสตาแกรมเป็นมากกว่าแอพลิเคชั่นถ่ายรูป http://hilight.kapook.com/view/65868

Leave a comment »

Trust: คุณเชื่อใจ “สื่อใหม่” มากไปหรือเปล่า? #นุชจิรา วงศ์จิตราภรณ์ 524 50620 28

Trust: คุณเชื่อใจ “สื่อใหม่” มากไปหรือเปล่า?

 อาชญากรรมในโลกออนไลน์ ภัยร้ายที่แพร่ระบาดไปทั่วทุกมุมโลกในขณะนี้ เป็นสิ่งทำให้สังคมต้องร่วมกันคิดอย่างหนัก แก้ไขกันอย่างจริงจัง แต่หนทางที่ดีที่สุดน่าจะเป็นการร่วมกันป้องกันก่อนที่ภัยร้ายนี้จะมาเคาะประตูบ้านของคุณ!

Annie_Trust 

อีกหนึ่งเรื่องราวที่สร้างการตระหนักรู้ให้กับสังคมโลกสำหรับปัญหาของการใช้สื่อใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางการป้องกันได้ดีไม่น้อย กับภาพยนตร์เรื่อง Trust : เหยื่อนรกออนไลน์ ภาพยนตร์ดราม่าสะท้อนปัญหาสังคมเกี่ยวกับภัยจากโลกออนไลน์ที่เข้าฉายปลายปี 2010 ที่ผ่านมา

เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อวิลล์ คาเมรอน ซื้อแลปท๊อป แมคโปรบุ๊คให้เป็นของขวัญวันเกิดกับแอนนี่ ลูกสาววัย 14 ปีของเขา วิลล์และลินน์ คาเมรอนเคยเชื่อว่าลูกๆ ของพวกเขาได้รับการคุ้มครองอย่างดี ประตูบ้านและสัญญาณเตือนภัยถูกติดตั้งไว้อย่างแน่นหนา แต่ความเชื่อเหล่านั้นก็ต้องถูกทำลายลง เมื่อแอนนี่ถูกล่อลวงทางเพศโดยเพื่อนหนุ่มออนไลน์คนใหม่ในนามของ ชาร์ลีย์ ที่อ้างตัวว่าเป็นนักวอลเล่ย์บอลอายุ 16 ปี ผ่านการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต (Chat room)

แชทรูมถือเป็นนวัตกรรมสื่อใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของวัยรุ่นตอนต้นในเรื่องการเข้าสังคมได้อย่างรวดเร็วทันใจ และเข้ากับยุคสมัยในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ด้วยธรรมชาติของวัยรุ่นที่ต้องการการยอมรับจากหมู่เพื่อน และการมีคุณค่าในสายตาของคนรอบข้างโดยเฉพาะเพศตรงข้าม จึงเป็นกับดักสำคัญในการใช้สื่อดังกล่าว ที่ทำให้วัยรุ่นหญิงตกเป็นเหยื่อของการคุกคามทางเพศได้โดยง่าย

จากกรณีการถูกคุกคามทางเพศผ่านแชทรูมของแอนนี่ จะเห็นได้ว่าอาชญากรอย่างชาร์ลีย์ไม่ได้ใช้ความรุนแรงด้วยการทำร้ายร่างกาย ไม่มีอาวุธ หรือการบังคับขู่เข็ญใดๆเลย แต่เป็นการยินยอมของแอนนี่เองทั้งสิ้น โดยอาศัยกระบวนการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ของชาร์ลีย์ที่วางบทบาทของตนเองให้เข้าถึงแอนนี่ ไม่ว่าจะเป็นการแอบอ้างว่าเขาอายุ 16 ปี เพื่อให้อยู่ในวัยเดียวกันทั้งๆที่ในความจริง เขาเป็นครูสอนพี่ชายของเธอที่อายุ 30 กว่าปีแล้ว และยังแอบอ้างว่าเขาเป็นนักวอลเล่ย์บอลของโรงเรียน เพราะรู้ว่าเธอเองก็เป็นนักวอลเล่ย์บอลของโรงเรียนเช่นเดียวกัน ทำให้ทั้งสองเกิดความสนิทชิดเชื้อ นัดพบกันและมีความสัมพันธ์ทางเพศจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่คนในสังคมต่างรับรู้โดยทั่วกัน

สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบในเชิงลบของการใช้อินเตอร์เน็ตที่ทรงพลังมาก โดยอาศัยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของวัยรุ่น ซึ่งมาจากการไว้วางใจคนในรุ่นเดียวกันมากกว่าผู้ปกครอง

นอกจากนี้สังคมออนไลน์ยังได้เปิดช่องทางและพื้นที่ให้คนใช้สื่อกล้าที่จะแสดงออกและเปิดเผยเรื่องส่วนตัวมากขึ้น อย่างที่เราเห็นจากพฤติกรรมการแชทของแอนนี่ ซึ่งเล่า(เกือบจะ) ทุกเรื่องให้ชาร์ลีย์ได้รับรู้อยู่เสมอ แม้กระทั่งเรื่องการซื้อชุดชั้นในลายเสือดาวสีชมพูของเธอเอง นี่ก็เป็นอีกหนึ่งหลุมพรางที่วัยรุ่นส่วนใหญ่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และมักเป็นข้อมูลสำคัญในการก่ออาชญากรรมได้เสมอ

ผลกระทบที่เกิดจากการใช้สื่อใหม่อย่างไม่มีความรู้ทันสื่อเช่นนี้ ไมได้เป็นเพียงปัญหาส่วนบุคคลหรือปัญหาที่ครอบครัวต้องเผชิญเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาในวงกว้างที่สังคมโลกต้องเผชิญร่วมกัน เพราะการก่ออาชญากรรมออนไลน์ โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน ถือว่าเป็นการทำลายอนาคตของประชาคมโลก ก่อให้เกิดความเสื่อมทรามของสังคม เป็นตัวฉุดรั้งคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างร้ายแรงมาก แม้จะเป็นการทำร้ายเพียงหนึ่งชีวิต แต่ต้องไม่ลืมว่าหนึ่งชีวิตที่ถูกทำร้ายนั้นยังมีบุคคลรอบข้างที่ต้องรับผลกระทบอีกมากมายเท่าไร

ไม่ว่าจะเรื่องราวจากภาพยนตร์เรื่อง Trust หรือเหตุการณ์ที่เราพบเห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์ก็ตาม ส่วนใหญ่เป็นเพราะพ่อ-แม่ ผู้ปกครองมักคิดอยู่แค่ว่า การล็อคประตูบ้านอย่างแน่นหนาจะทำให้ลูกหลานของคุณปลอดภัยจากเงื้อมมืออาชญากรได้ แต่ปัจจุบันคงไม่เพียงพอแล้ว เพราะภัยร้ายในสังคมเข้าประชิดตัวเราได้ง่ายมาก ผ่านเทคโนโลยีสื่อที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่าวิธีการติดต่อสื่อสารของเราก็ต้องเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน อาชญากรไม่จำเป็นต้องปีนเข้าบ้านคุณอีกต่อไป เพียงแค่โผล่ขึ้นมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือแม้กระทั่งสมาร์ทโฟนที่ลูกของคุณกำลังเล่นมันอยู่ เขาก็สามารถทำให้ลูกของคุณออกไปเป็นเหยื่อจนถึงที่ของเขาได้อย่างง่ายมาก

ดังนั้น สื่อออนไลน์เป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรไว้วางใจ เพราะเป็นสื่อที่เด็กจะถูกดึงความสนใจให้จดจ่ออยู่ตามลำพังเป็นเวลานานได้โดยง่าย หรือเราอาจเรียกว่าเป็นสื่อร้อน นั่นคือ เป็นสื่อที่ไม่เปิดโอกาสให้คนรอบข้างมีปฏิสัมพันธ์กับสื่ออย่างเช่น โทรทัศน์หรือวิทยุ ที่คนในครอบครัวสามารถเปิดรับชมได้อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน อีกทั้งเป็นสื่อใหม่ที่ทำให้เกิดช่องว่างของการใช้เทคโนโลยีที่ต่างวัย พ่อแม่ขาดความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างแท้จริง กล่าวคือ อาจะมีความรู้ในเชิงกายภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แต่ยังขาดความเข้าใจในแง่มุมของการใช้สื่อ ที่ส่งผลต่อกระบวนการคิด การรับรู้ และพฤติกรรมของบุตรหลาน

ด้วยเหตุนี้ ครอบครัวจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในยุคที่เทคโนโลยีก้าวไปแบบไม่หยุดยั้ง เพราะคงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการที่เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่จะมีภูมิคุ้มกันที่ดี รู้เท่าทันสื่อ และรู้จักคิดวิเคราะห์ ประเมินความปลอดภัยของตนเองได้ อย่างที่ เดวิด ชวิมเมอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ได้กล่าวไว้ว่า

“ผมอยากให้ Trust เป็นหนังที่ทุกคนในครอบครับควรดู เพราะ Trust จะเป็นวัคซีนชั้นดีที่จะทำให้ทุกคนในครอบครัวเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน และไม่มองข้ามภัยร้ายจากโลกออนไลน์ได้อีกต่อไป

Leave a comment »

New Media Marketing การตลาดบนโลกใบใหม่: เกมวิ่งไล่จับไม่มีวันจบ

New Media Marketing

การตลาดบนโลกใบใหม่:

เกมวิ่งไล่จับไม่มีวันจบ

                 

 

ณ เวลานี้ที่ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทุกอิริยาบถของเรา การสื่อสาร การเดินทาง รวมไปถึงการรับชมสิ่งต่าง ๆ และแม้แต่การแสดงออกทางความคิดเห็น ความรู้สึก ความชอบ หรือเกลียด ทุกอย่างล้วนผูกโยงกับข้อมูลบนเครือข่ายสังคมต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต จนราวกับว่าเรากำลังใช้ชีวิตอยู่บนโลกสองใบไปพร้อม ๆ กัน หนึ่งคือโลกจริงที่เราใช้ชีวิตอยู่ และอีกใบที่เพิ่มขึ้นมาคือ โลกบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network)  หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เราใช้งานควบคู่ไปกับการกระทำบนโลกจริงนั่นเอง

ด้วยลักษณะการใช้ชีวิตแบบใหม่ของคนยุคนี้นี่เอง จึงไม่แปลกเลยที่เหล่าพ่อค้าแม่ขายทั้งตลาดเล็กที่เป็นร้านรวงต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงตลาดใหญ่ระดับภาคธุรกิจจะแห่แหนกันหันมาทำการตลาดบนโลกใบใหม่อย่างโซเชียลเน็ตเวิร์คใบนี้บ้าง

แล้วการตลาดในโลกใบใหม่นี่เป็นอย่างไร?

 

ก่อนจะเข้าไปสำรวจโลกการตลาดใบใหม่นี้ จะขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านรู้จักคำ ๆ หนึ่งก่อน นั่นก็คือ New Media Marketing” ซึ่งหมายถึง การทำการตลาดบนสื่อใหม่ (สื่อใหม่คืออะไร? หากยังสงสัย ขอเชิญไปไขข้อข้องใจได้ในบทความเก่าของผู้เขียนที่นี่ : [New Media: ตัวตนของการเปลี่ยนแปลง] ) ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว การตลาดแบบนี้จะอาศัยสังคมออนไลน์ในการเผยแพร่ข้อมูลสินค้า กระตุ้นให้เกิดการซื้อ และสร้างการจดจำแบรนด์ไปพร้อม ๆ กัน นอกจากนี้ยังใช้เป็นแหล่งรวบรวม feedback ทั้งคำวิจารณ์และคำชื่นชมจากผู้ใช้เป็นรายบุคคล (individuals) อีกด้วย ซึ่งสังคมออนไลน์ที่ใช้ในการทำ New Media Marketing นี้ปรากฏในหลากหลายรูปแบบทั้งบลอค พอดแคสท์ กระดานข้อความ รีวิว วิกิพีเดีย รวมไปถึงหนทางที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดีในเวลานี้ อย่างเพจ (Page) บนเฟซบุ๊ค นั่นก็เป็นการตลาดบนสื่อใหม่อย่างหนึ่งเช่นกัน

แนวคิด New Media Marketing  หรือการตลาดบนสื่อใหม่นี้ เกิดขึ้นจากการสำรวจพบว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ มักจะหาข้อมูลสินค้าต่าง ๆ จากรีวิวบนอินเทอร์เน็ต และจากการสอบถามผู้ใช้สินค้าอื่น ๆ ผ่านช่องทางต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตก่อนจะตัดสินใจซื้ออะไรบางอย่าง เหล่านักการตลาดและภาคธุรกิจจึงจำเป็นต้องก้าวตามผู้บริโภคเข้ามาสู่โลกออนไลน์เพื่อเสนอขายสินค้าและบริการให้ทันกับผู้บริโภคยุคใหม่เช่นกัน

การปรากฏตัวของ New Media Marketing ซึ่งเป็นการตลาดแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในหน้าประวัติศาสตร์นี้ บ้างก็บอกว่าเป็นการส่งสัญญาณเตือนถึงเหล่านักการตลาดรุ่นเก่าที่พึ่งพาแต่การโฆษณาแบบดั้งเดิม ว่า อำนาจของการโฆษณาแบบเก่ากำลังจะเสื่อมถอยลง เนื่องจากผู้บริโภคในยุคใหม่ มีแนวโน้มที่จะเชื่อคำแนะนำของผู้ที่มีความคิดคล้ายคลึงกันมากกว่าคำโฆษณาสรรพคุณจากสื่อแบบเก่า ด้วยเหตุนี้ New Media Marketing จึงเป็นตำราบทใหม่ที่ทุกธุรกิจไม่ควรมองข้ามไป หากไม่อยากตกอยู่ในสถานะแพ้บายเพราะลงสนามแข่งไม่ทัน

 

วิ่งไล่จับในโลกคู่ขนาน

 

ทันทีที่ก้าวเข้าสู่โลกโซเชียลเน็ตเวิร์ค สิ่งที่จะได้พบคือการตลาดหลากหลายรูปแบบ บ้างก็แสดงตัวอย่างเปิดเผยว่าเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้ายี่ห้อโน้นนี้นั้น บ้างก็แอบแฝงมาอย่างแนบเนียนไม่ให้รู้ได้ว่าเป็นโฆษณาแฝง พอมาถึงจุดนี้ การรู้จักเพียงแค่คำว่า New Media Marketing ซึ่งเป็นเพียงแค่ภาพรวมของการตลาดอันหลากหลายในโลกใหม่ใบนี้ก็คงจะไม่พอแล้ว

สำหรับการตลาดบนโซเชียลเน็ตเวิร์คนั้น มีด้วยกันหลายรูปแบบ และดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การตลาดหลาย ๆ รูปแบบเกิดขึ้น แล้วก็กลายเป็นกระแสที่ทรงประสิทธิภาพในชั่วเวลาไม่นาน เกิดการบอกต่อนับไม่ถ้วน เกิดเป็นมูลค่าทางการตลาดนับหลายล้าน แต่แล้วเมื่อถึงจุดอิ่มตัว มันก็โรยแรงไปอย่างรวดเร็วไม่แพ้กัน ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของนักการตลาดและภาคธุรกิจที่จะต้องเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง และวิ่งตามกระแสเหล่านี้ให้ทัน เพราะในขณะที่คุณกำลังทำการตลาดด้วยวิธีหนึ่งอยู่ ลูกค้าของคุณ ก็พร้อมที่จะจากคุณไปเมื่อกระแสใหม่เข้ามา

 

ดีลมาก็ดีลไป

เมื่อ 1-2 ปีก่อน การตลาดรูปแบบหนึ่งเคยเป็นที่นิยมอย่างมากบนโลกออนไลน์ นั่นคือ การทำ “Social Commerce” หรือในภาษาไทย ที่อาจจะคุ้นหูกันมากกว่า คือ “การขายดีล” นั่นเอง การขายดีลนั้นเป็นการทำการตลาดรูปแบบหนึ่งที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอำนวยความสะดวกในการซื้อขายสินค้าและบริการต่าง ๆ โดยที่ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกในเว็บไซท์ขายดีลต่าง ๆ เพื่อรับส่วนลดในการจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการที่ลูกค้าจะเป็นผู้เลือกซื้อได้ ดีลที่เป็นที่นิยมคือสินค้าและบริการประเภทร้านอาหารและโรงแรม นับเป็นแผนทางการตลาดที่ช่วยกระตุ้นให้สินค้าที่มาผูกดีลซื้อง่ายขายคล่องขึ้นมาก ตัวอย่างเว็บขายดีลในไทยที่โด่งดัง ได้แก่ ensogo.com  เป็นต้น ซึ่งในปี 2011 ธุรกิจดีลระดับนานาชาติ มีรายได้ถึง 200,000 ล้านเหรียญ และได้ชื่อว่าเป็นดาวเด่นของกระแสบนโลกออนไลน์ในปีนั้นเลยทีเดียว

แต่แล้วในปีถัดมา นิตยสาร Adweek ได้เปิดเผยถึงสัญญาณของการอ่อนกำลังของธุรกิจขายดีล นั่นก็คือการปิดตัวของเว็บดีลจำนวน 170 เว็บไซท์ จากทั้งหมด 530 เว็บไซท์ ภายในเวลาไม่นาน เนื่องจากรูปแบบของธุรกิจดีลที่เริ่มต้นได้ง่าย และอาศัยเพียงการเปิดเว็บไซท์กับการทำสัญญาส่วนลดกับบริษัทที่ขายสินค้านั้นไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านี้ได้ กล่าวคือ ยิ่งเปิดก็ยิ่งมีผู้ใช้บริการมาก และนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกค้าที่มากมายมหาศาลตามมาจนเกินกว่าเว็บขายดีลนั้น ๆ จะรับไหว พร้อมกันนั้น เหล่าธุรกิจเจ้าของสินค้าที่มาผูกดีลด้วยนั้นก็ทยอยกันถอนตัวออกจากธุรกิจดีล เนืองจากเห็นว่าการซื้อขายดีลนั้นกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายได้เฉพาะช่วงที่มีส่วนลด และลูกค้าจะเปลี่ยนแบรนด์ไปเรื่อย ๆ ตามแต่โปรโมชั่นที่มีต่อดีลในชั่วขณะนั้น ซึ่งทำให้สินค้าไม่สามารถสร้าง Brand Royalty ได้ และจะไม่ส่งผลดีใด ๆ ต่อตราสินค้าของเขาในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ กระแสลดแลกแจกแถมผ่านดีลจึงเริ่มอ่อนกำลังลงไป และไม่ใช่ดาวเด่นของธุรกิจและแผนการตลาดบนโลกออนไลน์อีกต่อไป

 

สถานที่-ข้อมูล-ตัวฉัน-โปรโมชั่น

 

ถัดมาที่อีกตัวอย่างของการตลาดออนไลน์ที่เคยเป็นกระแสโด่งดังและเป็นที่นิยมไม่น้อยเมื่อไม่นานมานี้ กับการขายโปรโมชั่นเนียน ๆ ที่มาพร้อมกับความสนุกสนานทุกครั้งที่ check-in แสดงตัวตนบนเครือข่ายสังคมของผู้ใช้ ซึ่งก็คือ “การตลาด foursquare”

“foursquare” คือ แอพพลิเคชั่นหนึ่งที่ทำงานบนสมาร์ทโฟน ที่มีความสามารถ Location-Based Service หรือ การระบุตำแหน่งของตัวเครื่องได้โดยอาศัยเทคโนโลยี GPS และ Social Networking ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถระบุตำแหน่งของตนเองและเผยแพร่ต่อบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้ใช้ได้แบบ real-time โดยจุดเด่นของแอพพลิเคชั่นนี้อยู่ที่การสร้างให้มีกิจกรรมการสะสมแต้ม check-in ตามสถานที่ต่าง ๆ ในชีวิตจริงเพื่อรับป้ายรางวัล (Badge) ชนิดต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนโล่เชิดชูเกียรติว่าเป็นเจ้าถิ่นของสถานที่นั้นๆ นอกจากนี้แอพพลิเคชั่นนี้ยังเปิดโอกาสให้สามารถทิ้งความคิดเห็น หรือข้อความต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานที่ที่เข้าถึง เพื่อให้คนอื่น ๆ ที่มาเยี่ยมสถานที่เดียวกันได้เห็นข้อความที่ถูกทิ้งไว้ได้อีกด้วย

ด้วยรูปแบบแอพพลิเคชั่นประเภทะระบุตำแหน่งที่มาพร้อมกับความสนุกสนานนี้ จึงทำให้เกิดการตลาดรูปแบบใหม่ ที่อิงกับการสร้าง Royalty เช่น การมอบสิทธิพิเศษให้กับผู้ที่เข้ามา check-in ที่ร้านบ่อยที่สุด ผู้ที่มา check-in เป็นคนแรกของวัน หรือแม้กระทั่งการทำโปรโมชั่นในบางช่วงเวลาของวันก็ยังได้ และมีแม้แต่การโฆษณาประกาศส่วนลดกันโต้ง ๆ เมื่อลูกค้าเข้ามาทำกิจกรรมบริเวณใกล้เคียง การตลาด foursquare นี้ยังมีรูปแบบอีกมากมายให้เลือกใช้ในการประชาสัมพันธ์ทางการตลาด และสินค้านั้น ๆ ยังสามารถโหนกระแสความโด่งดังของแอพพลิเคชั่น ที่เป็นที่นิยมทั่วทุกหัวระแหงให้เป็นประโยชน์ในการสร้างการจดจำ รวมทั้งการหาลูกค้าใหม่ ๆ ผ่าน Social Network ตัวนี้อีกด้วย เห็นเป็นเรื่องเล่น ๆ บนแอพพลิเคชั่นที่เล่นเอาสนุกแบบนี้ จะบอกว่าแม้แต่ธุรกิจธนาคารที่ต้องรักษาภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ ก็ยังกระโดดเข้ามาเล่นกับการตลาด fouesquare ด้วยเช่นกัน อย่างธนาคารกสิกรไทยเองก็มีโปรโมชั่นแจกของแถมเมื่อลูกค้าเข้ามา check-in ที่สาขา จนสร้างปรากฏการณ์อันโด่งดังเมื่อปีที่แล้วมาแล้ว

แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็เริ่มเป็นที่ตั้งข้อสังเกตว่ากระแส foursquare กำลังตกลงไปหรือเปล่า อาจจะเพราะกระแสแอพพลิเคชั่น Location-Based Service  ตัวอื่น ๆ ที่เข้ามาแข่งขันอย่าง Gowalla หรือแม้กระทั่ง Facebook ที่ปรับปรุงระบบ Facebook Places ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น จนคนหันไปนิยมใช้หนทางอื่น ๆ ในการประกาศตัวตนและตำแหน่งของตน อย่างไรก็ตาม นักการตลาดก็จำเป็นต้องจับตามองทิศทางที่แอพพลิเคชั่นและโปรแกรม Location-Based Service กำลังจะไปต่อในอนาคตข้างหน้าเพื่อปรับเปลี่ยนแผนการให้สอดคล้องกับเทรนด์ที่วิ่งไปไวเหลือเกิน

วิ่งไล่จับไม่มีวันจบ

บางท่านอาจจะมีคำถาม “กระแสโซเชียลเน็ตเวิร์คมาไวไปไวแบบนี้แล้วคนทำธุรกิจที่ทำ New Media Marketing จะต้องทำอย่างไร?”

ซึ่งคำตอบของคำถามนี้ก็คงจะไม่มีอะไรมากไปกว่า “การติดตามกระแสและทิศทางในอนาคตของ New Media อย่างใกล้ชิดและนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสินค้าและบริการของตน” เท่านั้น ดังที่เคยได้กล่าวไปแล้วในหลาย ๆ บทความ ว่า New Media เป็นตัวอย่างอันเยี่ยมยอดของความเปลี่ยนแปลง และความหลากหลายที่น่าตื่นตาตระการใจ ซึ่งมักจะมีอะไรใหม่ ๆ ผุดขึ้นมาให้ค้นหาอยู่เสมอ หรือแม้จะเป็นผู้ริเริ่มกระแสด้วยตนเอง ก็ยังต้องคอยจับตาดูคู่แข่งที่พร้อมจะชักจูงพาให้ลูกค้าเปลี่ยนไปสนใจสิ่งอื่นอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่นักการตลาดในสมัยนี้ต้องทำ คือการเปิดหูเปิดตาให้กว้าง และเตรียมตัวให้พร้อม สำหรับการวิ่งไล่ตามเทรนด์ของลูกค้าให้ทัน ในโลกใบใหม่นี้ ที่ทุกกระแสหมุนเร็วยิ่งกว่าเดิม

อ้างอิง

·       Wikipedia. New Media Marketing. เข้าถึงได้จาก: http://en.wikipedia.org/wiki/New_media_marketing
·       Wikipedia. Social Commerce. เข้าถึงได้จาก: http://en.wikipedia.org/wiki/Social_Commerce
·       ตอนที่ 3 : Digital Trend 2012 Next Social Commerce .เข้าถึงได้จาก: http://blog.butthun.com/marketing-2/digital-marketing/digital-trend-2012-next-social-commerce/
·       Has the Daily Deals Market Reached Its Breaking Point?. เข้าถึงได้จาก: http://www.adweek.com/news/technology/has-daily-deals-market-reached-its-breaking-point-134958
·       จับกระแส Mobile Advertising ตอนที่ 2 : Location Target Ads (Foursquare Casestudy). เข้าถึงได้จาก: http://mimeeja.wordpress.com/2010/01/10/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AA-mobile-advertising-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2-location-target-ads-foursquare-casestudy/
·       การตลาด ณ จุดขายด้วย FOURSQUARE. เข้าถึงได้จาก: http://valuestouch.com/index.php?option=com_content&view=article&id=68:-foursquare-&catid=40:mobile-marketing&Itemid=81
·       ภาพประกอบ : http://www.daydayday.net/e-commerce/social-media-%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-social-commerce.html, http://www.manager.co.th
 
 
 
ณัฐพร สถิตย์ถาวรชัย
5245252928

Twitter: @BlackLilys
Facebook : Nuttaporn Sathidtavornchai

Leave a comment »

กาลครั้งหนึ่งถึง…การตลาดโฆษณา

Social Media and Marketing

Inspire by True Story

 

 

บริษัท Y&R

“เฮ วันนี้ไม่มมีประชุมกับลูกค้าเหรอ”

“ไม่อ่ะพี่ วันนี้มีเด็กๆมาขอให้ช่วยสอนงานที่บริษัท”

“อ่อ เด็กของคุณมายใช่ไหม”

“ใช่กลุ่มนั้นแหละพี่”

“เออ โชคดีๆ”

หน้าตึกมงกุฎสมมติวงศ์

“อยู่ไหนเนี่ย”

“กำลังเดินกลับคณะ แกอยู่ไหน”

“ฉันอยู่หน้าตึกใหม่ แกว่างไหม”

“ทำไมว่ะ”

“จะช่วยไปเที่ยว ;)”

“ไปไหน?!”

“Y&R ไปฟังพี่เขาพูดเรื่อง Marketingกับโฆษณา อารมณ์วิชาครูกี้อ่ะ”

“อ่อ ว่างๆไปๆ”

“มาเจอกันที่หน้าคณะเนี่ยรถตู้จอดอยู่”

“โอเคอีกห้านาทีเจอกัน”

“เออชวนเพื่อนมาอีกก็ได้นะเว่ย”

“จัดไป”

 

ทางเดินในอุโมงค์จากฝั่งเมืองมาฝั่งสามย่าน

 

“ใครอยากไปบริษัทโฆษณาชื่อดัง Y&R กับครูมายและเพื่อนๆสาว PR มากดไลด์ แล้วตามมาสบทบด่วนที่หน้าตึกใหม่นะจ๊ะ รถออก 10.30จ้า”

 

ห้องประชุมบริษัท Y&R ตึกสยามกิจ

“สวัสดีค่าาาาา”

“สวัสดีๆเอ้านั่งๆ มากันเยอะเลยเห็นตอนแรกบอกจะมากันแค่ห้าคน”

“พอดีเด็กๆเขาชวนเพื่อนๆมาเพิ่มอ่ะค่ะ”

“ดีครับดี เอ้านั่งๆตามสบาย”

 

“พี่ว่าหลายคนคงรู้ว่าสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการโฆษณาคือศึกษาพฤติกรรมผุ้บริโภค และพฤติกรรมที่ดูจะทันสมัยที่สุดในตอนนี้ก็คงหนีไม่พ้น ทายสิ”

“Social Network”

“ถูก ง่ายจะตายจริงมะ น้องๆคิดว่าทุกวันนี้เราใช้ Social Network ทำอะไรกันมากที่สุด”

“ติดตามข่าวสาร”

“อัพรูป”

“แชท”

“ที่ตอบมาผิดหมดเลย”

“อ้าว”

“เขาเอาไว้เล่นเกมส์กัน”

“อ้าวจริงเปล่าล่ะในมือถือใครไม่มี angry bird บ้าง น้อยคนที่จะไม่มี หรือย่างน้อยๆก็ต้องเคยเล่นกันมาบ้าง”

“…” พยักหน้าหงิกๆ

“เพราะเดียวนี้ทุกคนมีสมาร์ทโฟน และSocail Network ก็สามารถใช่ภาพมือถือของทุกคนได้โดยใช่ร่วมกับแอปพลิแคชั่นอื่นๆด้วย เช่น เคสนี้”

 

“Bacardi Ghost Shutter App.”

 

เพราะในปัจจุบันจากผลวิจัยแล้วพบว่าคนส่วนใหญ่มักใช้มือถือไปกับการเล่นเกมส์ อัพเดทข้อมูลข่าวสาร และบอกความเป็นตัวเองผ่าน สังคมออนไลน์มากที่สุด บริษัทจึงเล่งเห็นความสำคัญตรงจุดนี้ เมื่อบริษัท Bacardi มาบอกเราว่าช่วยคิดคอเซปโฆษณา Halloween Party ให้เขาหน่อย เอาแบบเจ๋งๆเลยนะ ไม่เอาแล้วแค่แต่งตัวผี แล้วคนก็มาดูคนแต่งตัวเป็นผี ทางบริษัทจึง สร้าง เกมส์ขึ้นเกมส์หนึ่ง ชื่อ Ghost Shutter ซึ่งมีให้โหลดกันได้จริงๆผ่านทาง iTune เป็นเกมส์ถ่ายรูปผีพอถ่ายเสร็จก็อัพขึ้นเฟสบุกส์ ประกวดกันว่าใครถ่ายได้เจ๋งสุด รูปที่ถ่ายจะมีคะแนนให้ นำคะแนนมาแลกเครื่องดื่มฟรีได้ในงานปาร์ตี้ สนุกกันให้สุดๆไปเลย

 

 

อันนี้กระแสตอบรับดีมากลูกค้าชอบ และเป็นที่พูดถึงกันอยู่พักนึงเลย แต่เสียดายที่น้ำท่วมเลยไม่ได้จัดปาร์ตี้ ต้องเปลี่ยนเป็นส่งของไปให้ผู้ร่วมสนุกที่บ้านแทน อันนี้เป็นเคสในไทยเรามาดูเคสในต่างประเทศบ้าง”

 

 

“Farmville Lady GaGa”

เนื่องจากคเล่นเกมส์นี้ในFace Book ปลูกผักจนเบื่อแล้ว คนสร้างเกมส์จึงอยากหาอะไรแปลกใหม่มาให้ผู้เล่น จึงนำไปผูกกับการโปรโมท อัลบั้มใหม่ของนักร้องชื่อดัง Lady GaGa โดยมีการ Farm ของ Lady GaGa ที่จะมีผักและสัตว์แปลกๆตามคาแรกเตอร์ของเธอ และผู้เล่นยังสามารถนำคะแนนสะสมที่เล่นได้ไปแลกซื้อเพลงของเลดี้กาก้าผ่าน iTune อีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Anger Bird Rio”

 

เป็นการโฆษณาของบริษัทผลิตเกมส์ ที่ต้องการจะสร้างความแปลกใหม่ให้กับเกมส์ Anger Bird จึงนำเกมส์ไปผูกกับภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่กำลังจะเข้าฉายในขณะนั้นคือ Rio ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกัยนกๆเหมือนกัน เมื่อปล่อยโฆษณาตัวแรกออกมาใน Youtube นั้นโด่งดังมาก เพราะคนคิดว่าจะนำ Anger Bird มาสร้างเป็นภาพยนตร์จริงๆ แต่จริงๆแล้วคือเกมส์เดิมแต่ใช้ฉายจากภาพยนตร์เรื่อง Rio และเมื่อเล่นชนะผ่านด่านไปได้ จะมีภาพยนต์ตอนสั้นๆของRioฉายให้ดู

 

 

 

“Starhub Musical Fitting Rooms MINI Getaway Stockholm 2010”

 

เนื่องด้วยบริษัท Apple มี Music Store ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง iTune จึงสร้างความลำบากให้กับคนขายรายอื่นๆ เขาจึงคิดวิธีการขายเพลงแบบใหม่ โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคช่วย แนวคิดนี้เกิดขึ้นมากจากว่า เสื้อผ้าบอกความเป็นคุณ เพราะฉะนั้นมันก็ต้องบอกแนวเพลงที่คุณฟังด้วย เมื่อคุณใส่เสื้อผ้าเข้าไป เพลงก็จะดังออกมาในห้องลองเสื้อ และด้วยเครือข่ายออนไลน์ จะมีSMS ส่งเข้าไปในมือถือคุณทันที เมื่อให้คุณสามารถดาว์โหลดเพลงได้เลย และคุณอาจนำไปแชร์ในเครือข่ายออนไลน์อื่นๆของคุณได้อีกด้วย

 

 

 

“MINI Getaway Stockholm 2010”

 

บริษัทมินิประเทศสวีเดน สร้างเกมส์นี้ขึ้นมาเพื่อขายรถมินิรุ่นใหม่ โดยโฆษณาในเว็บไซด์และหน้า Social Network ของตัวเอง ก่อนจะปล่อยวิถีการเล่นเกมส์ออกมาในรูปแบ ไวรอล หรือก็คือการ อัพโหลดวีดีโอขึ้น Youtube นั่นเอง ได้รับผลตอบรับดีเยี่ยม

 

 

“อันนี้เคยมีลูกค้าคนไทยมาจ้างทำนะ”

“จริงเหรอครับบริษัทอะไร”

“แต่ทำไปแล้ว…ไม่รอด”

ตึ่งโป๊ะ

 

“Tesco – Home Plus”

 

เนื่องจากบริษัท เทสโก้หรือโฮมมาร์ท ในประเทศเกาหลีต้องการเป็นศูยน์การค้าอันดับหนึ่งของประเทศ เขาจึงทำการศึกษาพฤติกรรมคนเกาหลี แล้วพบว่าเขาเป็นคนขยันทำงานมากและไม่ค่อยมีเวลาไปจับจ่ายซื้อของ จึงเกิดแคมเปนนี้ขึ้นมา โดยใช้โทรศัพท์มือถือของคุณเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเข้าเว็บไซด์ออนไลน์ แล้วนำมือถือไปถ่ายรูปสินค้าที่ต้องการเพียงเท่านี้ ก็เท่ากับคุณได้ทำการซื้อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สินค้าจะจัดส่งให้คุณถึงบ้าน

 

 

“จะเห็นได้ว่า Social Network ไม่ได้มีประโยชน์แค่ อัพ โหลด แชร์ อีกต่อไป แต่มันเข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของเรามากกว่านั้น ถึงแม้ในประเทศไทยยังไม่แพร์หลายและมีรูปแบบหลากหลายแบบในต่างประเทศ แต่เราก็มีในรูปแบบ เพจของเฟสบุคส์ และทวีตเตอร์ เช่น เพจอันดับหนึ่งในเฟสบุคส์ตอนนี้คือ GTH ส่วนรองลงมาคือ คุณตัน เพจเหล่านี้เอาไว้โปรโหมดตัวเองนั่นแหละ เคล็ดลับมีอยู่ง่ายๆ คืออย่าให้มันนิ่งและให้คนมีส่วนร่วมอยู่เรื่อยๆ”

“แสดงว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดเท่าที่สังเกตุมาจากเคสต่างๆและที่พี่พูดคือ การดึงใจคนใช่ไหมค่ะ”

“ใช่แล้วเขาเรียกภาษาเป็นทางการว่า Enagement ยิ่งเรามีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้ามากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้เขาติดเรามาขึ้นเท่านั้นเหมือนเราเป็นเพื่อนเขาคนึงนั้นแหละ”

 

 

“โอ๊ยยยย พอจบเบื่อไม่ดูไม่อ่านมันแล้วโว้ยยยยยยย”

 

“เป็นอะไรว่ะพราว”

 

“ก็ขี้เกียจตามอ่านโพสใน Facebook แล้วก็ตามดูคลิปใน youtubeแล้วอ่ะสิ เหนื่อยว่ะ ดูเสร็จแล้วยังต้องมาทำรายงานสรุปอีก”

 

“ช่วยไม่ได้ก้แกขี้เกียจ โดดไม่ไปฟังบรรยายเองนี่หว่า ไอ้พลอยมันถอดเทปมาลงให้ เฟสบุกส์นี้ก็บุญ แล้วยังโชคดีที่พี่หยาขอวีดีโอที่อักไว้เอามาลงให้อีก จะบ่นอะไรว่ะทำๆไปเถอะ”

 

“ค่าาาาา”

 

“อ่อเสร็จแล้ว ช่วยกดแชร์ไปที่วอลฉันด้วยนะแก จะเอาไปโพสในกรุ๊ปภาค ให้เพื่อนๆ เพื่อใครยังหาที่ฝึกงานไม่ได้ลองไปฝึกที่นี่ เครดิตดีจะตาย แถมพอจบมามีประวัติว่าได้ฝึกงานที่นี่ เจ๋ง”

 

“ถือว่าเป็นการทำ Marketing ให้ตัวเองว่างั้นเถอะ!”

“…”

ฟลุบหลับหน้าจอคอมในห้องภาค

 

 

The End

 

Proudpisut Sang-ou-thai

5245256428

อ้างอิง

http://www.forwardmag.com/webboard/viewtopic.php?t=1131418 – Ghost shutter

http://www.geekosystem.com/gagaville/ & http://www.aceshowbiz.com/news/view/00040574.html – Farm Ville GaGa

http://www.youtube.com/watch?v=-7gIpfrQdAI – Rio

http://www.youtube.com/watch?v=IJkRtnfNCo4 – fitting Room

http://www.youtube.com/watch?v=WMWu1h_6OfE&feature=watch_response_rev -MINI

http://www.youtube.com/watch?v=PxUCtolal-U&feature=fvsr tesco

Leave a comment »

บทเรียนใหม่สำหรับนักเรียนการตลาด ยุคสื่อสังคมออนไลน์ # ชิน วังแก้วหิรัญ 524 52512 28

โลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว  ผันเข้าสู่สังคมแห่งออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ  อย่างที่เราได้พูดกันไปแล้วถึงทฤษฎี Technological Determinism ที่ว่าตัวเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงสังคม  การมาถึงของอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่นั้นได้เข้าเปลี่ยนแปลงโลกทั้งหมดในช่วงเวลาเพียงข้ามทศวรรษ  มนุษย์เริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตไปตามเทคโนโลยีอย่างไม่รู้ตัว  สิ่งต่างๆเริ่มเปลี่ยนไป  ผู้คนเริ่มสื่อสารกันในโลกไซเบอร์มากขึ้น  จนเกิดเป็นวิถีครรลองต่างๆแห่งโลกออนไลน์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดขึ้นมาของ “สื่อสังคมออนไลน์” (Social Media) ที่ทุกวันนี้มีประชากรกว่า 400 ล้านคนทั่วโลกกำลังเป็นส่วนหนึ่งของโลกเสมือนใบนี้ (Facebook)

ด้วยประชากรที่มีมากขนาดนี้  และยิ่งมีการสำรวจสถิติออกมาแล้วว่า กว่า 50% ของผู้ใช้ Facebook ล็อคอินเข้าใช้เฟซบุ้คทุกๆวัน  นี่จัดได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่มากพอที่ทุกวงการที่แสวงหาประโยชน์จากคนกลุ่มใหญ่พึงเข้าใช้ประโยชน์ได้  ซึ่งแน่นอนว่านอกจากจะสำคัญสำหรับวงการการเมืองแล้ว  กลุ่มที่คอยมองหาลู่ทางใหม่ๆอยู่เสมออย่าง “นักธุรกิจ” หรือ “นักการตลาด”  ย่อมมองว่านี่เป็นขุมทรัพย์ใหม่สำหรับพวกเขาอย่างแน่นอน  เห็นได้จากว่าองค์กรทุกองค์กรในทุกวันนี้  หรือกลุ่มต่างๆทางสังคมย่อมมี “Page” เป็นของตัวเอง  ไม่ต่างอะไรกับการเปิดสาขาใหม่ขององค์กรตัวเองโดยที่แทบจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

แล้วในเมื่อการสมัครสมาชิกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมออนไลน์นี้ “ฟรี” และแน่นอนว่าผู้ใช้ facebook ก็ย่อมที่จะไม่ยอมให้ใครมาแสวงหาผลกำไรจากตนได้อยู่แล้ว  บางทีการที่ใครซักคนไปกด like เพจของ “Louis Vuitton” ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเคยมีหรือยอมซื้อกระเป๋าระดับไฮเอนด์นี้มาเลย  ดังนั้นจึงเกิดเป็นคำถามคือ  แล้วอะไรที่ทำให้เหล่าบรรดานักธุรกิจเห็นว่าการทำ “Social media marketing” จะเป็นอีกเส้นทางที่สามารถสร้างกำไรเป็นกอบเป็นกำได้

จากเดิมที่เหล่านักเรียนธุรกิจและการตลาดคอยศึกษาทฤษฎีทางการตลาดต่างๆ   4PS และเครื่องมือทางการตลาดต่างๆอย่าง IMCs ซึ่งเป็นเครื่องมือของโลกสื่อเก่า  พวกเขาจึงจำเป็นที่จะต้องเปิดรับความรู้ใหม่ๆที่เป็นผลมาจากการเดินทางมาถึงของสื่อใหม่อย่าง Facebook, Twitter, Youtube ฯลฯ ซึ่งกลายมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่กำลังอยู่ในเทรนด์ที่เรียกว่า “Social Network Marketing” ที่สามารถช่วยในการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว (เดือนมกราคม ปี 2010) Toyota ประสบกับวิกฤตการณ์ส่งคืนสินค้าจำนวนมหาศาล  ชื่อเสียงของ Toyota ถ้าเป็นกราฟก็คงจะเป็นกราฟที่ดิ่งชันลงไปอย่างน่าเป็นห่วง  แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจคือในช่วงดังกล่าวนี้เองที่ฐานแฟนของ Toyota ใน Facebook กลับเพิ่มขึ้นถึง 10%  และยอดขายก็กลับมาคงตัวได้อย่างเดิม  สาเหตุของการรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ก็เป็นเพราะ Toyota สามารถใช้เฟซบุ้คเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาได้อย่างชาญฉลาด  บริษัทคอยตั้งพนักงานจำนวน 6-8 คนที่จะคอยอยู่ควบคุมหน้าเพจในเฟซบุ้คไว้  และจะคอยตอบคำถามอย่างใส่ใจทันทีที่มีแฟนเพจเข้ามาถามคำถาม  รวมถึงการทำให้แฟนเพจดูมีการเคลื่อนไหวอยู่อย่างสม่ำเสมอ  และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ Toyota ให้ความสำคัญมากกว่าบริษัทอื่นๆที่มองว่า Facebook ก็เป็นแค่ช่องทางหนึ่งทางการตลาดที่ไม่ได้สำคัญมาก  แต่เป็นสิ่งที่ Toyota ใส่ใจก็คือ “การรับฟัง” ปัญหาของผู้บริโภคที่คอยเข้ามาโพสบนวอลอยู่อย่างต่อเนื่อง

ทุกวันนี้เพจ Toyota USA มีแฟนเพจถึง 761,427 ชื่อ  และเป็นเพจที่มีแฟนเพจคอยเข้ามาโพสอยู่อย่างต่อเนื่อง  โดยส่วนมากมักเป็นข้อความในเชิงชื่นชม  และถึงมีการติชม  ก็จะมีคอมเม้นต์จาก Toyota มาคอยขอบคุณคำชื่นชม  จากจุดนี้เอง  จึงทำให้การทำ Social Network marketing ของ Toyota ประสบความสำเร็จ  ผู้คนกล้าเข้ามาติและชมบนเพจโดยที่รู้ว่าจะได้รับการตอบสนองและรับฟังจากแบรนด์  และสิ่งเหล่านี้ที่ Toyota ทำนั้น  จริงๆแล้วก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อะไร  เพราะมันเป็นเรื่องที่ถูกสั่งสอนกันอยู่ในห้องเรียนการตลาดอยู่แล้วในบทของการทำ “CRM”

นักเรียนการตลาดทุกคนต่างทราบดีว่า การทำ “CRM” (Customer Relationship Management) นั้นมีความสำคัญต่อความมั่นคงของแบรนด์อย่างไร  การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคให้คงอยู่ไว้อย่างมั่นคงนั้นก็ไม่ต่างจากเพื่อนสนิทที่เรารัก  เรามีเพื่อนมากมายบนโลกใบนี้  ยิ่งในยุคของสื่อสังคมออนไลน์แล้วด้วย  เรายิ่งมีเพื่อนเยอะราวหลักร้อย  หรือบางคนก็ราวหลักพัน  แต่ทุกคนต่างก็ต้องมี “ตัวจริง” เป็นของตัวเองที่มีอยู่เพียงไม่กี่คนอย่างแน่นอน  ไม่แตกต่างจากหลักการคิดในทางการตลาด  มีแบรนด์ต่างๆมากมายบนโลกใบนี้ที่ผู้บริโภครู้จัก (และกดไลค์)  แต่การจะผลักตัวเองให้กลายไปเป็นหนึ่งในไม่กี่แบรนด์ที่อยู่ในหัวใจที่ผู้บริโภคจะนึกถึงเป็นอันดับแรกๆได้ (Top-of-mind brand) นั้นถือว่าเป็นการต่อแต้มให้ชนะอีกแบรนด์ได้เลยทีเดียว  ทีนี้ก็ไม่เกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าแล้ว  กลายมาเป็นเรื่องของ “ความสัมพันธ์” ล้วนๆ  คุณภาพอาจทำให้ทัดเทียมกันได้  แต่ความรัก ความไว้ใจเป็นการส่วนตัวนี่สิ  จะต้องมีชั้นเชิงและใส่ใจกันหน่อย

Toy Story 3 เป็นภาพยนตร์ที่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จมากที่สุดของปี 2010  ทั้งด้านรายได้และรางวัล  ทะยานขึ้นสู่อันดับ 7 ของภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในประวัติศาสตร์  ทั้งยังได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ในหลายสาขา  รวมถึงคว้ารางวัลภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยมมาอีกด้วย  เบื้องหลังของความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องนี้  นอกจากจะมาจากคุณภาพที่ดีเยี่ยมของตัวสินค้าแล้ว  ยังสืบเนื่องมาจากสาเหตุที่ว่าภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวมีการทำการตลาดที่สมบูรณ์แบบและครบถ้วน  ทั้งสื่อเก่าอย่างวิทยุโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์  และสื่อใหม่อย่าง “Facebook” และ “Youtube”  โดยใช้สื่อใหม่ทั้ง 2 อย่างนี้อย่างผสมผสานกัน

Pixar มีความตั้งใจตั้งแต่แรกเริ่มในการทำแผนการตลาด  ว่าจะเจาะกลุ่มเป้าหมายให้ครบทุกกลุ่ม  ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะใช้รูปแบบของสื่อที่แตกต่างกันไป  โดยใช้สื่อโทรทัศน์กับสื่อสิ่งพิมพ์ในการเจาะกลุ่มเด็กๆและพ่อแม่ที่จะพาลูกไปดู  และใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเจาะกลุ่มวัยรุ่นและหนุ่มสาว  ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในโลกสังคมออนไลน์

เริ่มจากการไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ  Pixar เปิดรอบฉาย “SPECIAL CLIFFHANGER EDITION” ความยาว 65 นาที ให้ดูฟรี  ในช่วงก่อนหนังจะเข้าโรงจริงเพื่อเป็นการเรียกน้ำย่อยจากกลุ่มนิสิตนักศึกษา  โดยเงื่อนไขมีอยู่ว่านิสิตนักศึกษาจะต้องล็อคอินผ่าน Facebook และใช้รหัสประจำตัวนิสิตนักศึกษาที่ถูกต้องในการขอตั๋วเข้ารับชม  ผลของแคมเปนนี้ก็คือหลังจากที่หนังเข้าโรงจริง  กลุ่มเป้าหมายหนุ่มสาวไปเข้ารับชมภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก  ซึ่งเพิ่มขึ้นจากภาพยนตร์ก่อนๆของ Pixar อย่าง The Incredibles, Wall-E และ Up ที่กลุ่มผู้ชมส่วนใหญ่มักจะเป็นกลุ่มเด็กๆและพ่อแม่ที่พามารับชม

นอกจากกลุ่มหนุ่มสาวที่เคยเป็นกลุ่มที่มารับชมภาพยนตร์ของ Pixar น้อยแล้ว  ยังมีกลุ่ม “Generation X” ซึ่งเป็นกลุ่มที่มองว่าภาพยนตร์ของ Pixar นั้นเป็นการ์ตูนสำหรับเด็ก  Pixar ก็ได้ใช้วิธีการทำคลิป “Groovin’ with Ken’ ปล่อยลง Youtube และให้กระตุ้นให้มีการ “Share” กันใน Facebook  ซึ่งเป็นคลิปที่เกี่ยวกับ “เคน” ตัวละครที่มีลักษณะนิสัยเหมือนมาจากโลกยุค ’80 และเป็นหนึ่งในตัวละครที่ตลกที่สุดในเรื่อง

และต่อเนื่องด้วยการปล่อย Viral Clip ที่ชื่อว่า “Lots-o’-Huggin’ Bear”  ซึ่งมีการจัดแสงและจัดฉากให้เหมือนเป็นโฆษณาที่มาจากยุค 80 เช่นกัน  ตัวโฆษณาตัวนี้ประสบความสำเร็จตามหน้าที่ “Viral” ของมันมากคือ  มีจำนวน Viewers ทะยานขึ้นสู่หลักล้านได้ในเวลาชั่วพริบตา  มีการแชร์ต่อ  และมีบล็อกเกอร์จำนวนไม่น้อยที่พูดถึงคลิปนี้  ความเจ๋งอยู่ที่โฆษณาตัวนี้ไม่พูดถึง Toy Story 3 เลย  หรืออาจเรียกว่าเป็น “faux ads”  คือเป็นโฆษณาปลอมๆที่พูดถึงของเล่นยุคเก่าอย่างเจ้า Lots-o’ นั้น  มันไม่ได้เข้าถึงแค่เพียงกลุ่ม Generation X ที่รู้สึกหวนคิดถึงอดีต แต่เรียกได้ว่าถูกใจเป้าหมายหลากหลายกลุ่ม  เด็กๆชอบความน่ารักของคลิปนี้  และกลุ่มหนุ่มสาวชื่นชอบความสร้างสรรค์และความตลก  ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นอารมณ์ทั้งหมดที่ถูกรวบรวมเอาไว้ในภาพยนตร์เรื่องนี้   เข้ากับจุดขายของภาพยนตร์อยู่แล้ว  ความนิยมที่เกิดจาก “Word-of-mouth” ใน facebook จนทำให้คลิปนี้เป็น Viral Clip นี้กลายเป็นกระแสขึ้นมา  เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แคมเปญของ Toy Story 3 ประสบความสำเร็จอย่างมาก  ถือได้ว่าเป็นการผสมผสานการใช้สื่อ UGC อย่าง Facebook และ YouTube ร่วมกันออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จริงๆแล้วยังมีอีกหลายกรณีศึกษามากที่องค์กรต่างๆสามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้เกิดผลในด้านบวกจนสามารถทำรายได้ให้กับองค์กรได้จำนวนไม่น้อย  รวมทั้งยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดี  และรักษาความสัมพันธ์ที่มั่นคงระหว่างองค์กรกับผู้บริโภคไว้ได้อย่างแน่นแฟ้น   อย่างไรก็ตามในเมื่อมีกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จแล้ว  ก็ต้องมีกรณีศึกษาที่เป็นประสบกับความผิดพลาดในการใช้สื่อสังคมออนไลน์มาเป็นเครื่องมือในทางการตลาด  ทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความเข้าใจผิดๆของบรรดา Social Media Marketer เกี่ยวกับการมอง Tools ที่ตัวเองหยิบมาใช้

ต่อไปนี้คือ 5 สาเหตุที่ทำให้การใช้สื่อสังคมออนไลน์กลายเป็นความล้มเหลวเสียมากกว่าที่จะเป็นผลทางบวกต่อองค์กร

1.  เข้าใจผิดในคุณสมบัติของ Social Media

นักการตลาดบางคนมองว่า “Social Media” นั้นไม่ต่างอะไรจากรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เท่านั้น  จึงทำผิดด้วยการคอยโพสข้อความที่เป็นการโปรโมทอย่างที่ทำมาด้วยความเคยชิน  แต่แท้จริงแล้ว  มันมีศิลปะในการใช้สื่อชนิดนี้อยู่คือการที่จะต้องคอยสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใช้ด้วยกันอย่างที่ Toyota ได้ทำมาจนประสบความสำเร็จ  นอกจากนี้ยังเข้าใจผิดว่ากลุ่มของผู้ใช้ Social Media นั้นมีแต่กลุ่มคนรุ่นใหม่  ไม่น่าจะสามารถเข้าถึงกลุ่ม Baby Boomers (กลุ่มคนที่เกิดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง ปี 1964) ได้  ทั้งๆที่ผลสำรวจสถิติการใช้ Facebook พบว่ากลุ่ม Baby Boomers กลับเป็นกลุ่มที่มีการเจริญเติบโตมากที่สุดในสื่อสังคมออนไลน์

2.  ลงทุนกับ Social Media น้อยเกินไป

จริงอยู่อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจะเป็นลู่ทางไปสู่การตลาดที่ประสบความสำเร็จในราคาที่ “ถูกกว่า” นั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้  เพราะจะสมัครก็สมัครฟรี  จ้างคนดูแลก็ไม่น่าจะเกิน 10 คนก็ไหวอยู่แล้ว  แต่การลงทุนกับ “เนื้อหา” ที่จะปรากฎนั้นก็ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากต่อการประสบความสำเร็จ  เพจบางเพจแทบจะไม่ลงทุนถ่ายรูปหรือทำคลิปวิดิโอใหม่ๆใดๆขึ้นมาเพื่อโพสต์บนเพจโดยเฉพาะ  จนทำให้ผู้คนต่างพากันไม่เชื่อถือในสื่อราคาถูกนี้  การลงทุนกับ Social Media เพื่อสร้าง Content ดีๆก็น่าจะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่นำไปสู่ความประสบความสำเร็จในการทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์  อย่างที่เราจะเห็นไปแล้วว่า Pixar คิดเยอะและละเมียดละไมกับการทำคลิป Lots-O’ ขนาดไหน

3.  “กลัว” Social Media

และนี่เป็นสาเหตุที่สำคัญหลักๆของความผิดอย่างมหันต์ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการทำการตลาด  เหตุผลที่ว่าเมื่อมีคนมาติหรือต่อว่าแบรนด์  หรือแม้กระทั่งชื่นชมแบรนด์นั้นทำให้นักการตลาดไม่แน่ใจว่าตัวเองควรจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับกลุ่มผู้บริโภคอย่างไรดี  เพราะถ้าหากพูดออกไปก็กลัวว่าอาจจะทำให้ทุกอย่างจากที่แย่อยู่แล้วแย่ลงไปอีก  หรือจากที่ดีอยู่แล้วแย่ลง  แล้วแบรนด์ก็ต้องเสียหายจากการโพสต์โดยปราศจากความมั่นใจ  อย่างไรก็ตามมีการวิจัยกันมาแล้วว่า  เมื่อนักการตลาดตั้งเพจแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาแล้ว  แต่ไม่ยอมโพสต์ อัพเดท หรือโต้ตอบอะไรเลย  นั่นถือว่าเป็น “การทำร้าย” แบรนด์มากกว่าการที่จะตอบอะไรแย่ๆออกไปเสียอีก  ที่จริงแล้วการที่มีผู้บริโภคมาคอยต่อว่าหรือติชมหน้าเพจนั้นถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับแบรนด์ที่ยังได้รับความสนใจอยู่  แล้วกลุ่มแฟนเพจก็ตั้งท่ารอคอยคำตอบจากแบรนด์อยู่แน่นอน  การนิ่งเฉยหรือลบคำติออกไปนั้นนับได้ว่าเป็นการทำลายล้างแบรนด์ของตัวเองอย่างสมบูรณ์แบบเลยทีเดียว  ดังนั้นเหล่า Social Network Marketer ควรที่จะคอยติดตามเพจของตนเองอย่างสม่ำเสมอและโต้ตอบโดยทันที  ถึงแม้ว่าจะยังไม่ทราบคำตอบที่สมควรที่สุดก็ตาม  เห็นได้จากกรณีของ Toyota ที่การคอยโต้ตอบกับผู้ใช้นั้นกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้เลยทีเดียว

เราจะเห็นแล้วว่าในความเป็นจริง Social Media นั้นก็ไม่แตกต่างจากสื่ออื่นๆในเครื่องมือทางการตลาด IMCs ในแง่ที่ว่ามีวิธีใช้เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไปในแต่ละสื่อ  และต้องใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของมัน  เป็นบทเรียนหน้าใหม่สำหรับนักเรียนธุรกิจและการตลาด  หากนักการตลาดมีความเข้าใจในธรรมชาติของสื่อที่ตัวเองใช้  เขาก็จะสามารถแสวงหาประโยชน์จากมันได้อย่างเต็มที่  จนประสบความสำเร็จในแผนการตลาดอย่างที่ Toyota หรือ Pixar ได้รับ  ในทางตรงกันข้าม  หากนักการตลาดขาดความเข้าใจในคุณสมบัติของ Social Media ก็อาจนำมาซึ่งผลกระทบในเชิงลบได้  ดังนั้นการศึกษาและคอยทำความเข้าใจสื่อใหม่จึงถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคสมัยที่สื่อสังคมออนไลน์กำลังส่งผลอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของโลก ณ เวลานี้

แหล่งข้อมูล

http://comm.stanford.edu/coterm/projects/2010/maddy%20coon.pdf

http://www.mkttwit.com/2010/09/15/winning_social_media_camapign/

http://mashable.com/2011/02/18/toy-story-3-social-media/

http://www.hausmanmarketingletter.com/top-5-reasons-social-media-marketing-fail

http://www.business2community.com/social-media/top-5-reasons-why-social-media-marketing-strategies-fail-094957

Leave a comment »

Social Network Marketing : คัมภีร์ใหม่ รวยง่ายๆไม่เสียตังค์ #สุกัญญา สุขเลิศ 5245135128

เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและผันผวนมากมีความไม่แน่นอนสูง สังคมในปัจจุบันเองก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน ส่งผลให้การทำธุรกิจต่างๆมีผลกระทบและต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อการแข่งขันทางการตลาดรองรับความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ต่างฝ่ายต่างต้องพัฒนาให้ทันต่อโลกสมัยใหม่ที่กลายเป็นสังคมแห่งการสื่อสารผ่านโลกออนไลน์ สื่อใหม่มีบทบาทในการสร้างกระแสสังคมเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องการสื่อสารและการให้ข้อมูลข่าวสารใครๆก็ใช้ Social media ดังนั้น Social Network Marketing การตลาดบนสื่อใหม่จึงถือกำเนิดขึ้น

จากการสำรวจจำนวนผู้ใช้social networkต่างๆพบว่า ไทยติดอันดับ 21 จากจำนวนผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก ส่วนอันดับ 1 เป็นของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐที่มีผู้ใช้กว่า 133 ล้านคน จำนวนผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก ทั่วโลกมีจำนวนทั้งหมด 517 ล้านคน

จะเห็นได้ว่า เมื่อนำประชากรที่ใช้สื่อใหม่ในทุกๆมุมโลกมารวมกันไม่ใช่เฉพาะ Facebook เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึง Twitter Youtube LinkedIn ต่างๆ เมื่อรวมกันจะได้จำนวนมากกว่า 40% ของประชากรโลกทั้งหมดและ งานวิจัยล่าสุดของ Pew Internet  ยังบอกไว้อีกว่า มีมากกว่า 75%ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ทรับข่าวสารต่างๆ ผ่านทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นทางอีเมล หรือข้อความต่างๆ บนเว็บไซต์สังคมออนไน์ และนอกจากนี้อีกประมาณ 52% ยังส่งต่อข่าวสารที่ตัวเองได้รับผ่านสื่อเหล่านั้นอีกด้วย น้อยคนนักที่เสพข่าวจากสื่อเพียงสื่อเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะรับข่าวสารต่างๆ ผ่านสื่อประมาณ 4-6 สื่อในหนึ่งวันด้วยซ้ำ

ถึงแม้ว่าทีวียังเป็นสื่อหลักสำหรับการเสพข่าว แต่อินเตอร์เน็ตก็ทำคะแนนขึ้นมาเป็นช่องทางในการเสพข่าวอันดับที่ 2 แซงหน้าทั้งวิทยุ และหนังสือพิมพ์ไปเรียบร้อย ยกเว้นว่า หนังสือพิมพ์นั้นจะมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือจริงๆ อย่างเช่น New York Times เป็นต้น และสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ 33% ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทุกวันนี้รับข่าวสารต่างๆ ผ่านมือถือ และ 28% ใช้บริการ Personalized News ซึ่งหมายความว่าคนกลุ่มนี้จะเลือกแหล่งที่มาของข่าวตามใจชอบ โดยจัดไว้เป็น Customized Page

แต่ที่น่าจับตามองไปมากกว่านั้นก็คือว่าผู้เสพข่าวจำนวนมากทุกวันนี้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ข่าวต่างๆ โดย 37% บอกว่าตัวเองเคยมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ข่าว ออกความคิดเห็นบนเว็บไซต์ข่าว หรือส่งต่อข่าวนั้นๆ ผ่านเว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์อย่างเช่น Facebook และ Twitter

ผลการวิจัยยังพบอีกว่าผู้บริโภคต้องการการโฆษณาจากแบรนด์ต่าง ๆ ที่เสนอที่ใส่ใจผู้บริโภคจริงมากกว่าพยายามส่งข้อมูลออกมาโดยไม่คำนึงว่าผู้บริโภค คิด รู้สึกและต้องการอะไร ผู้บริโภคไม่ชอบเทคนิคที่ดูมีเล่ห์เหลี่ยมในการขายสินค้าและต้องการให้บริษัทต่างๆ มีความซื่อสัตย์ รวมทั้งเปิดใจรับทั้งข้อดีและข้อเสียของผลิตภัณฑ์และบริการของพวกเขา ซึ่งผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่รู้สึกว่าสื่อสังคมออนไลน์(Social network)จะเปิดโอกาสให้พวกเขามากกว่าทั้งการได้เป็นสมาชิกของกลุ่ม และความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีความต้องการอย่างมากในการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ต้องการมีส่วนร่วมภายในกลุ่มและต้องการแสดงตัวตนของตนเอง ดังนั้น พวกเขาจึงเห็นว่าสื่ออย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม ที่จะให้พวกเขาได้แบ่งปันความคิดเห็นและคำวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งตรงข้ามกับทวิตเตอร์ จำนวนคำที่จำกัดถูกมองว่ามีความเหมาะสมน้อยกว่าที่จะเป็นสื่อสำหรับการนำเสนอความคิดเห็น แต่ทวิตเตอร์เหมาะเป็นสื่อกระจายข้อมูลข่าวสารมากกว่า

เมื่อลองวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคในสังคมอย่างจริงๆจังๆแล้วเราจะเห็นได้ว่า New Media ที่เป็น Social Network นั้นเป็นช่องทางที่น่าสนใจไม่น้อยในการนำไปประยุกต์ใช้กับแผนธุรกิจทางการตลาดของบริษัทและนักธุรกิจต่างๆ ในสองสามปีที่ผ่านมา เว็บไซต์เครือข่ายสังคม (social network website) อย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ จึงกลายมาเป็นช่องทางที่นักการตลาดนำมาใช้ในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายกันอย่างมากมาย กล่าวได้ว่าเป็นสื่อออนไลน์ที่มีการขยายตัวอย่างมากและมีบทบาทอย่างแพร่หลายสุดๆ

ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงสื่อสารการตลาดออนไลน์มองแนวโน้มเอาไว้หลายแง่มุมว่า เว็บไซต์เครือข่ายสังคมจะยังคงได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นไปอีก และจะมีการใช้งานอย่างจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ทั้งยังจะให้ความสะดวกและความอิสระในการใช้งานเพิ่มขึ้นด้วย ดังนี้

แนวโน้มที่ 1 เราจะได้เห็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีความจำเพาะเจาะจง (exclusive)มากขึ้น ทุกคนจะเข้ากับทุกกลุ่มสังคมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊ก มีจำนวนสมาชิกเครือข่ายมากหน้าหลายตาขึ้นเรื่อยๆ และการแยกย่อยจับกลุ่มเฉพาะ ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นด้วย สังคมออนไลน์จึงเปรียบเหมือนพื้นที่ ที่รวบรวมผู้บริโภคหลากหลายประเภทเข้าด้วยกันบนพื้นที่เดียวกัน

แนวโน้มที่ 2 ปัจจุบันมีบริษัทใหญ่ๆในสหรัฐฯ เพียงไม่กี่รายที่ใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างทวิตเตอร์ เป็นช่องทางในการสื่อสารหรือทำการตลาดอย่างจริงๆจังๆ แต่ผู้เชี่ยวชาญจากสื่อแขนงต่างๆเชื่อว่าแนวโน้มการขยายตัวของการตลาดบนสื่อใหม่จะขยับสูงขึ้นอย่างแน่นอน อาทิเช่น ห้างเบสต์บายซึ่งขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นหนึ่งในผู้ ค้าปลีกรายใหญ่ที่จัดตั้งบริการที่เรียกว่า ทเวลป์ฟอร์ซ (Twelpforce) ไว้บนเว็บไซต์ทวิตเตอร์ เพื่อเป็นช่องทางให้พนักงานขายนับร้อยๆ คนสามารถติดต่อสื่อสาร ให้คำแนะนำ และตอบคำถามแก่ลูกค้าหรือบุคคลทั่วไปที่ใช้ทวิตเตอร์และสนใจจะถามเกี่ยวกับ บรรดาอุปกรณ์เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ  เบสต์บายยังได้จัดทำระบบพิเศษขึ้นมาติดตามเก็บข้อมูลของผู้ที่สนใจเข้ามา ติดต่อสอบถามผ่านบริการทเวลป์ฟอร์ซด้วย

แนวโน้มที่ 3 การทำธุรกิจผ่านสื่อเครือข่ายสังคมไม่ใช่เรื่องเล่นๆอีกต่อไป แม้แต่แอพพลิเคชั่นสนุกๆธรรมดายังสามารถกลายเป็นช่องทางธุรกิจได้ ยกตัวอย่าง โฟร์สแควร์ (Foursquare) ที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อมุ่งเจาะกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ มีเอาไว้สำหรับการเช็คอิน(Check-in) และเอาไว้หาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ เช่นร้านอาหารและเชื่อมโยงกิจกรรมของสมาชิกเข้ากับสถานที่ประกอบธุรกิจต่างๆ ในพื้นที่ เช่น ร้านอาหาร ผับบาร์ ร้านค้า และสถานที่ท่องเที่ยว ยามใดก็ตามที่สมาชิกของเว็บแห่งนี้ไปเยี่ยมเยือนสถานที่ใดๆ พร้อมส่งข้อความแจ้งสู่เว็บ ซึ่งอาจจะเป็นการบอกเล่า แสดงความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำสมาชิกรายอื่นๆ เกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ สมาชิกก็จะได้รับแต้มสะสม ยิ่งไปมาก ไปบ่อย ก็ได้แต้มมากขึ้นเหมือนกับการเล่นเกม ใครไปเที่ยวสถานที่หนึ่งใดบ่อยกว่าสมาชิกคนอื่นๆ ก็จะได้รับตำแหน่ง “Mayor” ประจำสถานที่แห่งนั้นจากทางเว็บไซต์ (จนกว่าจะมีสมาชิกคนอื่นมาทุบสถิติ)  และจะสามารถนำแต้มสะสมไปแลกสินค้าหรือบริการจากสถานที่เหล่านั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นกาแฟฟรี 1 ถ้วย ไอศกรีม 1 โคน เบียร์หรือไวน์ 1 แก้ว แม้กระทั่งข้อเสนอที่พักค้างฟรี 1 คืน เป็นต้น แล้วแต่ว่าสถานที่นั้นจะประกอบธุรกิจอะไร เรียกว่ายิ่งไปบ่อย เที่ยวบ่อย ระดับขาประจำ ก็จะยิ่งได้รางวัลจูงใจมากยิ่งขึ้นเท่านั้น จะเห็นได้ว่า เว็บเครือข่ายสังคมลักษณะนี้เปิดช่องทางให้สถานที่ประกอบการธุรกิจเข้ามามี กิจกรรมร่วมด้วยเป็นอย่างมาก และลักษณะการให้แต้มสะสมก็เอื้อประโยชน์ให้กับสถานที่เหล่านั้นมีโอกาสเพิ่ม ลูกค้ามากขึ้นได้ใจทั้งผู้ให้บริการและลูกค้า

แนวโน้มที่ 4 องค์กรธุรกิจจำนวนมากจะหันมาให้ความสำคัญกับบทบาทของ เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ในเชิงพาณิชย์ ถึงขั้นมีการกำหนดให้การใช้สื่อใหม่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายบริษัทด้วย อย่างเช่น กลยุทธ์ Location Base Social tools อย่าง Foursquare ของธนาคารกสิกรไทย เป็นการ sync กันระหว่าง Retail เชิงพื้นที่และโลก Online โดยการให้ผู้ใช้ Foursquare Check-in เพียงครั้งเดียว แล้วทาง Kbank จะแจกหมอน Mayor นับเป็นกลยุทธ์แรกๆที่เปิดตัวสื่อใหม่กับธุรกิจต่างๆ หลังจากนั้นมาการใช้ Facebook Twitter และ สื่อใหม่ช่องทางต่างๆก็กลายเป็นวิธีในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารกิจกรรมต่างๆของบริษัท

แนวโน้มที่ 5 อุปกรณ์สื่อสารไร้สายจะมีบทบาทในเครือข่ายสังคมออนไลน์มากยิ่งขึ้น มีตัวเลขสถิติชี้ว่า ประมาณ 70% ขององค์กรธุรกิจในสหรัฐฯ ห้ามพนักงานเข้าไปเล่นหรือใช้บริการของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมในที่ทำงาน เมื่อเป็นเช่นนั้นพนักงานบริษัทที่ติดหนึบการเข้าสู่สังคมออนไลน์ก็ต้อง ดิ้นรนหาทางออก ซึ่งหนึ่งในช่องทางออกยอดฮิตก็คือการหลบเข้าไปเล่นผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนส่วนตัว และเมื่อหันมาดูยอดขายโทรศัพท์สมาร์ทโฟนก็จะพบอีกว่า มียอดจำหน่ายพุ่งสูงขึ้น อย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมา ช่วงเวลาที่เคยเป็นเวลาว่างของทุกคนจากการอ่านหนังสือ นั่งฟังเพลง นั่งจิบกาแฟ ก็จะกลายมาเป็นเวลาพักเพื่อเข้าเว็บเครือข่ายสังคม หรือที่เรียกว่า social media break แทนดังนั้นแนวโน้มปีนี้ก็คือ ผู้คนจะใช้โทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางเข้าสู่เว็บเครือข่ายสังคม กันมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

แนวโน้มที่ 6 การแบ่งปันข้อมูลข่าวสารไม่จำเป็นต้องผ่านทางอี-เมล์เสมอไป ผู้คนจะหันมาส่งต่อข้อมูลข่าวสารถึงกันผ่านทางสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์มาก ขึ้นจนอาจจะกลายเป็นกระแสหลักแทนการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารถึงกันด้วยอี-เมล์ ปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงเข้ากับ Twitter และ Facebook เพื่อการง่ายและสะดวกต่อการอัพเดทข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูล เช่น แอพพลิเคชันการอ่านหนังสือพิมพ์เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส บนหน้าจอโทรศัพท์ไอโฟน ได้ปรับเพิ่มบริการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้แอพพลิเคชัน ดังกล่าวสามารถส่งต่อหรือเผยแพร่ข่าวจากเดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส ไปให้เพื่อนฝูงผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ได้อย่าง สะดวกง่ายดาย ในประเทศไทยก็มีเช่นกัน อย่างเช่นหนังสือพิมพ์ที่นิยมในหมู่นักธุรกิจและคนทำงานต่างๆอย่าง เดอะเนชั่นและผู้จัดการออนไลน์ เป็นต้น

Social Network Marketing ก็เปรียบเสมือนกับ viral marketing(การแนะนำแบบปากต่อปาก) ที่มีการแนะนำและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เมื่อคนนึงเริ่มคนต่อๆไปก็จะนำไปแชร์ต่อจนเกิดกระแสขึ้นมาได้ โดยที่ผู้เริ่มไม่ต้องเสียแรงพีอาร์เลย เพียงแค่คิดเนื้อหา(Content)ให้โดดเด่นสะดุดตาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ Social Network Marketing จึงถูกเลือกให้เป็นช่องทางเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์สินค้าและองค์กรต่างๆ

โดยเฉพาะเฟซบุ๊กที่กำลังมาแรงในเรื่องการประชาสัมพันธ์ร้านค้าออนไลน์ ฝากข่าวประชาสัมพันธ์งานกิจกรรมของแบรนด์ต่างๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีโพสท์เกี่ยวกับการตั้งสเตตัสชิงรางวัล การฝาก Fanpage ร้านค้า มักจะมีผู้คนให้ความสนใจตามกดไลค์และแชร์ต่อเสมอ หรือการรีวิว(review)สินค้าทั้งด้านราคาและสรรพคุณต่างๆ ผ่านเว็บบอร์ดชื่อดังอย่างพันทิป ก็ทำให้เกิดกระแสได้ง่าย การใช้พลังของลูกค้าบอกต่อ จะถือว่าลูกค้าเป็นทรัพยากรที่สำคัญมาก เพราะลูกค้าที่ได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์และบริการแล้ว สามารถช่วยเสริมทีมงานการขายให้กับสินค้าได้ ยิ่งถ้าสินค้าดีจริงมักจะมีลูกค้าแนวร่วมที่จะเต็มใจที่จะแชร์ต่อบอกต่อเพื่อนๆ

ในกรณีตัวอย่างของแบรนด์ดังเลยคือ Starbucks เป็นสุดยอดแห่งความสำเร็จ ในการใช้ Facebook และ Twitter เพื่อการตลาด นั่นคือ Starbucks เน้นแสดงความคิดเห็นและพูดคุยออกมากับผู้บริโภค พร้อมทั้งให้ความสำคัญในระดับปัจเจกชน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ลูกค้ารวมไปถึงพนักงานได้เข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆผ่าน Blog ของบริษัท นอกจากนี้ยังสามารถเข้าไปโหวตความคิดเห็นที่ชื่นชอบ รวมไปถึงการเสริมความคิดเห็นของคนอื่นๆ หากความคิดใดที่ถูกโหวตมากที่สุด ก็จะนำไปปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ความคิดเห็นนั้น นั่นถือเป็นการมอบประสบการณ์ของแบรนด์ให้แก่ลูกค้า

การใช้ Facebook ของ Starbucks ที่ประสบความสำเร็จเพื่อสร้างเครือข่ายด้วยการรักษาสมดุลระหว่างเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และประสบการณ์ที่มอบให้แก่ลูกค้า สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดทั้งจาก Facebook และ Twitter ของ Starbucks คือการโต้ตอบกันระหว่างแบรนด์กับลูกค้า รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเข้าไปตั้งกระทู้สนทนาที่น่าสนใจได้ ถือเป็น ส่วนหนึ่งของปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม จากกรณีของ Starbucks จึงทำให้เห็นข้อดีว่า เหตุใดเราควรจะพึ่งสื่อใหม่ในการสร้างแบรนด์ ส่งเสริมการตลาด เพราะว่า

  1. สื่อใหม่เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ที่เร็วและแรง สะดวกสบายในการควบคุม คือ ผู้บริหารสามารถควบคุมและดูแลได้ด้วยตัวเอง ทำให้สามารถส่งข้อความ ที่ตัวเองต้องการส่งได้เมื่อไรก็ได้ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของเราได้ทันที และยังสามารถสื่อสารออกไปในวงกว้างได้อีกด้วย ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพมากในยุคของสื่ออินเทอร์เน็ต
  2. ผู้บริหารสามารถความเป็นกันเองกับลูกค้า หรือคนในองค์กรได้ด้วยการใช้ Social Network โดยไม่จำเป็นต้องส่งเฉพาะเรื่องงานเข้าไปเท่านั้น การส่งเรื่องส่วนตัว หรือกิจกรรมต่างๆ ของตนในแต่ละวัน ก็จะทำให้ผู้รับข้อมูลรู้สึกเป็นกันเอง และรู้สึกใกล้ชิดกับผู้บริหารมากขึ้น ซึ่งนอกเหนือจากมุมมองด้านการงานเพียงอย่างเดียว
  3. ลดการนินทาว่าร้ายจากคนในองค์กร เมื่อเราอยู่ในโลก Social Network เดียวกับคนในองค์กรของคุณ และทำให้คนในองค์กรคุณที่รู้ว่าคุณอยู่ในนี้เช่นเดียวกันจะ “มีการระมัดระวังการพูดจาหรือกล่าวร้ายต่อองค์หรือตัวคุณได้” เพราะมีหลายๆ ครั้งที่คนในองค์กรมักจะเขียนอะไรที่ไม่ดีต่อองค์กรที่ตนทำงานอยู่ หรือ ผู้บริหารที่ได้ทำงานด้วย เพราะส่วนใหญ่มักคิดว่า เขียนไปแล้ว ผู้บริหารหรือองค์กรจะไม่มีทางมาเจอข้อมูลเหล่านี้ และบางครั้งมักเกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ ซึ่งการที่คุณอยู่ใน Social Network เดียวกับเค้า จะช่วยลดเหตุการณ์แบบนี้ลงไปได้มากๆ เลยทีเดียว ทำอะไรต้องคิดแล้วคิดอีกเพื่อผลดีแก่ตนเอง
  4. เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีกับองค์กร หากผู้บริหารมีการใช้ Social Network เป็นช่องทางในการสื่อสารอีกวิธีหนึ่ง สื่อหรือสังคมก็จะเริ่มให้ความสนใจกับ การพัฒนาของผู้บริหารที่มีการนำเทคโนโลยีรูปแบบใหม่มาใช้กับการสื่อสาร ทำให้ภาพลักษณ์ของผู้บริหารและองค์กรมีความทันสมัย และภาพลักษณ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น
  5. เป็นช่องทางกระจายองค์ความรู้และข่าวสาร ผู้บริหารหลายๆคนเป็นคนเก่ง แต่มักไม่มีโอกาสในการถ่ายทอดความรู้ หรือเทคนิคอะไรดีๆ ดังนั้นการมี Social Network จะทำให้ผู้บริหารสามารถใช้เป็นช่องทางในการ กระจายความรู้ที่ตัวเองแก่คนทั่วไป และคนในองค์กรได้อีกด้วย เมื่อสื่อสารออกมา อาจจะเป็นความรู้สิ่งใหม่สำหรับคนอื่นๆ ได้อย่างมากและเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีให้คนอื่นอีกหลายๆคน
  6. สร้างความได้เปรียบในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีใหม่ๆ Social Network จะทำให้คุณได้เปิดโอกาสการเรียนรู้สิ่งใหม่ ที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วผ่าน Social Network และ Internet  ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารมีมุมมองที่กว้างไกลมากขึ้น เมื่อคุณสามารถเข้าใจเทคโนโลยี และรู้จัก รวมถึงการนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของคุณได้

แต่ก็มีหลายความเข้าใจผิดที่นักลงทุนและนักวางแผนการตลาดมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ Social Network Marketing ที่อาจจะเอาแต่โปรโมทสินค้าเพียวอย่างเดียวและมีแต่การทุ่มทุนเพื่อการคิดโฆษณาต่างๆอย่างมากมายจนลืมจุดที่สำคัญที่สุด คือการเอาใจใส่ลูกค้า

เนื่องจากในปัจจุบันช่องทางการสื่อสารนั้นมีมากมายหลายช่องทาง หากมองปริมาณสื่อเดิมๆ เราจะเห็นว่าโทรทัศน์ก็มีนับร้อยช่อง หรือนิตยสารก็มีมากมายหลายสิบฉบับ อีกทั้งยังมีสื่อใหม่ๆ อย่างเว็บไซต์ หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือที่เข้า แบ่งสันปันส่วนความสนใจของคนเหล่านี้ไป รวมไปถึงเมื่อคนเหล่านี้สามารถหาข้อมูลข่าวสารด้วยตนเองได้โดยง่าย ย่อมทำให้โอกาสคล้อยตามสารการตลาดไม่ใช่เรื่องง่าย พวกเขาจะเลือกเชื่อคนที่เขาไว้ใจคนที่เป็นเพื่อน และปรารถนาดีต่อเขาอย่างแท้จริงมากกว่า

นักการตลาดที่ดีในการใช้เครือข่ายสังคมนั้น จะต้องไม่ทำตัวเจ้ากี้เจ้าการหรือเป็นเจ้าของข้อมูลทางการตลาดแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ควรมองว่าเครือข่ายสังคมเป็นเพียงช่องทางการสื่อสาร มีเพียงแค่ส่งสารที่ตนเองต้องการสื่อและผู้บริโภคจะเชื่อตามนั้น นักการตลาดที่ดีต้องไม่คิดว่า การถาโถมเข้าไปยังช่องทางสื่อสารต่างๆ อย่างหนักหน่วงจะทำให้ผู้บริโภคถูกตอกย้ำและหันมาชื่นชมยินดีกับสินค้าและบริการของตนเองได้ ทั้งหมดนี้ไม่ควรคิด!

อันที่จริงแล้ว การเกิดของสังคมออนไลน์นั้น ล้วนแต่อยู่บนพื้นฐานของคนที่มีความสนใจร่วมกัน ชอบเรื่องเดียวกัน คุยกันถูกคอ รู้สึกเป็นห่วงเป็นใยกัน พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารต่างๆ อย่างเต็มใจโดยไม่หวังผลตอบแทนมาก่อน เมื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ก็จะเกิดความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างกลุ่มมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งที่ว่ากลุ่มมีอิทธิพลสูงต่อการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกิน การแต่งตัว การพักผ่อน และอื่นๆ ดังนั้นสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ มักจะเป็นการให้บริการที่ดีเอาใจใส่ มีการเข้าถึงได้ และแลกเปลี่ยนกันได้ ผู้บริโภคต้องการเห็นสิ่งที่ใหม่ สด หรือแตกต่างจาก แบรนด์ ไม่ใช่การนำข้อมูลเดิมที่พวกเขาได้รับจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของแบรนด์ มาปรับปรุงใหม่ พวกเขาต้องการให้สื่อสังคมออนไลน์เป็นฟอรั่มซึ่งประสบการณ์จากแบรนด์จะถูก พูดถึงอย่างเปิดเผยและมีการอ้างอิงด้วย มันเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับฟีดแบ็คที่ซื่อสัตย์ ไม่ใช่การพูดคุยที่ถูกควบคุมโดยแบรนด์ และสามารถสร้างความไว้วางใจโดยการเปิดเผยและซื่อสัตย์ ความโปร่งใสเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับแบรนด์ต่าง ๆ หากแบรนด์ต้องการมีชื่อเสียงและได้รับความนิยม พวกเขาควรได้รับความไว้วางใจ

นักการตลาดควรนำเสนอสิ่งที่มีคุณค่า ผู้บริโภคมักตอบสนองต่อแบรนด์ที่นำเสนอสิ่งที่เป็นความจริงและจับต้องได้ โดยไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทน ในขณะที่ส่วนลดและคูปองเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมสำหรับแบรนด์ต่าง ๆ ในสื่อสังคมออนไลน์ สิ่งเหล่านี้อาจสร้างความไม่น่าเชื่อถือ ข้อมูลที่มีคุณค่าและเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะหรือข้อมูลภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับผู้บริโภค ที่สำคัญมากคือ มีส่วนร่วม ผู้บริโภคต้องการเห็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ความสนใจ ความปรารถนาและความต้องการของ พวกเขา ในสื่อสังคมออนไลน์ ผู้บริโภคจะวิพากษ์วิจารณ์หรือติเตียนข้อมูลของพวกเขา ควรจะปล่อยให้มีการติและชมเท่าๆกัน และการติดต่อพูดคุยเหมือนกับเพื่อน ไม่ใช่ในฐานะนิติบุคคล ผู้บริโภคต้องการแบรนด์ที่สื่อสารด้วยภาษาธรรมดา ๆ ที่เข้าใจได้ง่ายเหมือนกับพูดคุยสนทนากัน พวกเขาไม่ต้องการการพูดคุยทางด้านเทคนิคหรือการชักจูงให้ซื้อสินค้า และควรเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคค้นพบสิ่งที่แตกต่างจากแคมเปญสื่อทั่ว ๆ ไป คือผู้บริโภคไม่ต้องการรู้สึกว่าแบรนด์กำลังมุ่งส่งข้อมูลมายังพวกเขา พวกเขารู้สึกว่าแบรนด์จะใช้การโฆษณาในสื่อสังคมออนไลน์ที่ “คุกคาม” และ “รบกวน” พวกเขา – ดังนั้นจึงไม่ควรใช้โฆษณาที่เป็นเมล์ขยะหรือมีเนื้อหาที่คุกคาม เป็นอย่างแรง!

Social network marketing ดูเหมือนจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและกำลังพัฒนามากขึ้นเรื่อย และการแข่งขันก็สูงมากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน แต่ผลตอบแทนนั้นจะคุ้มค่าหรือไม่ คงขึ้นอยู่กับวิธีใช้ของคุณเอง.

Leave a comment »

คิดจะขายของ คิดถึงโซเชี่ยลมีเดีย

 

ชยากรณ์ กำโชค ภาควิชาการสื่อสารมวลชน

เมื่อก่อนสาวมิสทีนมาเคาะประตูบ้านเพื่อขายเครื่องสำอางคุณแม่บ้าน (มิสทีนมาแล้วค่ะ) หรือแม้แต่การสั่งซื้อสินค้าผ่านแคตตาล็อคก็ว่าสะดวกสบายแล้ว ถ้าทันสมัยขึ้นมาหน่อก็สั่งผ่านเว็บไซต์หรือที่เรียกว่า e-commerce แต่ในปัจจุบันยุคที่ Social Media ครองโลก แน่นอนว่าเจ้าของสินค้าทั้งหลายย่อมเห็นลู่ทางในการเข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่า วิธีการยอดนิยมนี้เป็นมากกว่าหนทางเพิ่มปริมาณการซื้อ หากแต่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของตราสินค้าหรือแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ ที่สำคัญคือเพิ่มช่องทางการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าได้อีกด้วย

การตลาดผ่านสื่อออนไลน์ หรือ Social Media Marketing (SMM) คือการใช้สื่อสังคมออนไลค์ในการทำการตลาด ประชาสัมพันธ์และติดต่อกับผู้บริโภค โดยเป็นการสื่อสารที่ทั้งสองฝ่ายมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เป็นที่นิยมอย่างสูงมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เล็กกระทั่งถึงแบรนด์ยักษ์ใหญ่ รวมไปถึงบรรดาเหล่าเซเลบริตี้ นักการเมือง ศิลปิน สื่อมวลชนและสำนักข่าวต่างๆก็หันมาสร้างแบรนด์ผ่านโซเชี่ยลมีเดียด้วยกันทั้งสิ้น

ในปีที่ผ่านมานักการเมืองไทยใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียในการหาเสียงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการเลือกตั้ง ที่แต่ละพรรคการเมืองจะมีการแสดงทรรศนะ แถลงนโยบาย หรือแม้กระทั้งการต้านกันระหว่างสองขั้วผ่านโลกออนไลน์ หรือในภาวะปกติที่นักการเมืองจะใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ในการแสดงความคิดเห็น รวมถึงแพร่ภาพที่ตนไปทำประโยชน์ เหล่านี้แสดงให้เห็นชัดถึงคุณของสื่อใหม่ในการสร้างภาพลักษณ์ของตัวบุคคลโดยแทบไม่ต้องลงทุนเป็นเม็ดเงิน และได้ผลตอบรับเต็มที่ เพราะเดี๋ยวนี้ใครๆก็แทบเกาะจอคอมพิวเตอร์

สังเกตได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์คือพรรคการเมืองกลุ่มแรกที่หันมาจับทางสื่อใหม่ ทั้งfacebook twitter และ youtube อาทิ อดีตนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรณ์ จาติกวณิช นายอภิรักษ์ โฆษะโยธิน รวมถึงสมาชิกพรรคอีกมากมาย ฝั่งขั้วตรงข้ามก็ไม่ยอมแพ้ ทันทีที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศเป็นตัวตายตัวแทนในการลงศึกชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ได้ใช้สื่อใหม่ในการสร้างฐานเสียง เผยแพร่กิจกรรมการหาเสียง กระทั่งเป็นนายกรัฐมนตรีก็ยังคงความสม่ำเสมอ ดังจะเห็นได้จากมีการอัพโหลดรูปภาพภารกิจแทบทุกวัน

ทั้งหมดแสดงให้เห็นข้อดีหนึ่งประการที่เห็นได้ชัดจากสื่อใหม่คือการที่ผู้ใช้ประโยชน์สามารถสร้างเนื้อหาได้อย่างเสรีตามหลักการ User Generate Content นักการเมืองสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในโลกออนไลน์ได้โดยเสรี รวมถึงสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ แถมยังสามารถทำได้มากมายหลายรูปแบบอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเขียนเรื่องราวลงกระทู้ บลอค หรือการอัพโหลดวีดิโอลง youtube

ผู้เขียนมีเพื่อนเป็นลูกสาวเจ้าของรีสอร์มชื่อดังที่เขาหลัก จังหวัดพังงา เธอเปิดเผยว่านอกจากการสร้างเว็บไซต์ จัดบู้ทประชาสัมพันธ์กิจการที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หรือแม้กระทั่งการเชิญนักข่าวมาเที่ยวที่รีสอร์ทแล้ว การดึงดูดนักท่องเที่ยวยังมีวิธีในการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลดีไม่แพ้กันอีก เผลอๆอาจจะมากกว่าการคือเขียนกระทู้ลงเว็บบอร์ดชื่อดังเสมือนหนึ่งตนเองเป็นนักท่องเที่ยวที่ได้เข้ามาสัมผัสรีสอร์ทสวยงาม ผลที่ตามมาคือการพูดแนะนำต่อปากต่อปาก และไว้ใจเพราะเหมือนมาจากปากของลูกค้าเช่นเดียวกัน

อีกตัวอย่างของการสร้างเนื้อหาได้ด้วยตัวเองในการสร้างแบรนด์ คือการใช้ประโยชน์จากyoutube พบว่าหลายแบรนด์ใช้ประโยชน์จากสื่อชนิดนี้มากกว่าประเภทอื่นมาก เนื่องจากเป็นภาพเคลื่อนไหวที่คนส่วนใหญ่ชอบจะติดตามมากกว่าตัวหนังสือหรือภาพนิ่ง ประกอบการนิสัยปากต่อปากของคนทำให้เกิดกระแสทางการตลาดหรือ viral marketing 

เบอร์เกอร์คิงเล่นกับพฤติกรรมการเล่นblackberry ของนักศึกษาในห้องเรียนจนอาจารย์โมโหถึงขีดสุดปามือถือลงพื้นแตกกระจาย ทีแรกคลิปนี้ได้สร้างความตกใจให้ผู้ใช้โซเชี่ยลมีเดียจนเกิดการแชร์เป็นทอดๆด้วยคามสงสัยว่าพฤติกรรมในวีดิโอดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ วีดิโอครูปามือถือนักเรียนเป็นกระแสข่าวใหญ่โตลงหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ ขนาดสื่อยักษ์ใหญ่อย่างรายการเรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ของสรยุทธ ยังนำประเด็นดังกล่าวมาตีแผ่ แต่ท้ายที่สุดเจ้าของผลิตภัณฑ์ก็ออกมาเฉลยในตอนท้ายว่านี่คือแผนโปรโมตที่สอดคล้องกับสินค้าใหม่ของฟาสต์ฟู้ดเจ้าดังกล่าวที่เมื่อกินจะเผ็ดจนโมโห เล่นเอาคนดูหน่วงไปตามๆกัน แต่ถือว่าการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อใหม่นี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง ไม่ต้องเสียเงินค่าพื้นที่สื่อเลย

อีกวิธีการหนึ่งของการเล่นกับสื่อใหม่ของเจ้าของสินค้าที่จะทำให้ผู้ใช้โซเชี่ยลมีเดียมีส่วนร่วมคือ การแชร์และช่วยกดไลค์ โดยเฉพาะเมื่อมีการแจกของฟรี/แถมหรือมีการประกวดนานา ที่วัดคะแนนจากยอดกดไลค์ ในฐานะที่ตนเองก็เป็นคนใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์กพบว่าเห็นวิธีการนี้บ่อยมาก บางครั้งแอบรำคาญนิดหน่อย

เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาจู่ๆก็เห็นวิธีการน่ารักในการชิงโชคได้ของฟรีจากพ่อค้าใจดียี่ห้อหนึ่ง โดยการกดแชร์รูปโลโก้ของแบรนด์ โดยอาศัยความจริงของคนทั่วไปที่ว่าลงทุนสนุกๆโดยไม่เสียแม้แต่บาทเดียว แถามได้ลุ้นของฟรีอีกด้วย แต่ยิ่งมีคนคิดเช่นนี้มากและแบ่งปั่นสู่สมาชิกในเครือข่ายของตนเองมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของแบรนด์

ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเคยแสดงความคิดว่า แท้จริงแล้วตัววัดความประสบความสำเร็จของแบรนด์ที่หันมาใช้วิธีทางการตลาดกับสื่อใหม่ ไม่ใช่ตัวเลขจำนวนคนกดไลค์แฟนเพจ แต่วัดจากการแชร์และแสดงความคิดเห็นมากกว่า เพราะจำนวนคนกดไลค์แฟนเพจจะมีกี่คนที่ติดตามแบรนด์นั้นอย่างจริงจัง

(อ้างอิง:บทความ วิจัยพบ 1% ของคนคลิก Facebook Brand Page เท่านั้นที่ติดตามแบรนด์จริง)

ผลการวิจัยทางการตลาดจากสถาบันEhrenberge-Bass ของออสเตรเลียศึกษาเพจของแบรนด์ดักว่า 200 แบรนด์บน Facebook ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ด้วยการหยิบการวัดผลแบบ “Talking about this” หรือการที่มีคนพูดถึงมากน้อยเพียงใด พบว่าตัวเลขกดไลค์แฟนเพจที่เจ้าของแบรนด์หวังนั้นแท้จริงแล้วมีเพียง 1 เปอร์เซ็นที่ติดตามอย่างจริงจัง หรือความจริงแล้วผลจากโซเชี่ยลมีเดียนั้นใกล้เคียงกับสื่อกระแสหลักทั่วไปและพบอีกว่าพฤติกรรมการซื้อของคนใน Facebook ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นหลังจากมีคนกดไลค์เพิ่มขึ้นมากเท่าใด แต่สถาบันดังกล่าวของออสเตรเลียก็ยอมรับว่า โซดชี่ยลมีเดียก็เป็นช่องทางที่ดีในการเข้าถึงผู้บริโภคได้

เพราะฉะนั้นเจ้าของแบรนด์ไม่ควรตื่นเต้นหรือดีใจกับตัวเลขจำนวนไลค์เท่านั้น แต่ควรตระหนักถึงการพูดถึงหรือ Talk about this ด้วย

หัวใจของ Social Media คือการความผูกพันธ์เป็นเพื่อนกัน มีส่วนร่วม เพราะฉะนั้นผู้ลงทุนทำธุรกิจบนโซเชี่ยลมีเดียควรตระหนักถึงข้อนี้เป็นสำคัญ ผู้เขียนมีเพื่อนเป็นแม่ค้าขายสินค้าแบรนด์เนมจากสหรัฐอเมริกา โดยมีจุดขายที่ราคาถูกเพราะซื้อเอง หิวเอง สั่งมาและส่งถึงทีี่

คัทลียา เฉลิมพันธ์ หรือ ทรายเหวี่ยง นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของร้าน ปาปาส (papas) กล่าวว่า จำนวนคนกดไลค์ก็สำคัญเพราะแสดงให้เห็นความน่าไว้วางใจของร้านจากลูกค้า แต่ในความจริงแล้วก็ไม่ได้วางใจขนาดนั้น ยิ่งต้องการยอดขายมาก ยิ่งต้องปั่นกระแสหน้าเพจของตัวเองตลอดเวลา ที่สำคัญคืออาศัยความเป็นเพื่อนกับลูกค้าที่กดไลค์ให้เกิดความสนิทใจ ไม่ใช่แค่ขายของอย่างเดียว

นอกจากทราย”จะขยันอัพโหลดภาพสินค้าในร้านของตัวเองแล้ว เธอยังขยันอัพรูปภาพเซเลบริตี้กับสินค้าแบรนด์เนม ซึ่งความจริงก็ถือเป็นวิธีส่งเสริมการขายที่ดีแถมไม่โจ่งแจ้งมาก ยิ่งไปกว่านั้นเธอยังขยันอัพสเตตัสน่ารักๆและรูปภาพตลกๆโดยที่ไม่มากจนเกินไป เพื่อให้หน้าร้านของเธอเด้งอยู่ที่หน้าหนึ่งของลูกค้าเสมอ เธอยังแนำเคล็ดลับอีกว่า ยิ่งลูกค้าพอใจมากเท่าใดยิ่งบอกต่อเพื่อนรายใหม่มากขึ้น ยอดขายยิ่งมากขึ้นอีกด้วย

จากสถิติ 10 แบรนด์ไทยที่ประสบความสำเร็จและขยายผลในเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุดคงต้องยกให้ ตัน ภาสกรนที เจ้าของธุรกิจน้ำดื่มอิชิตัน คือแชมป์พ่อค้าที่จับทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก โดยเขามองว่าคนรุ่นใหม่ชอบแสดงออกผ่านสื่อใหม่อยู่แล้ว อีกทั้ง Facebook เป็นการสื่อสารระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายที่ดีและเข้าถึงได้ง่าย จึงใช้ประโยชน์จากสื่อชนิดนี้มากกว่าการขายของ แต่เป็นสื่อที่ใช้โน้มน้าวใจในระยะเวลาอันสั้น และเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่าน ตัน” ก็ใช้แฟนเพจของเขาในการกู้วิกฤตจากปัญหาได้อย่างงดงาม

การตลาดที่ตอบโจทย์เจ้าของสินค้ามากที่สุดในนาทีนี้ต้องยกให้โซเชี่ยลมีเดีย ในโลกสื่อใหม่ที่ทุกคนสามารถเป็นหอกระจายข่าวได้ด้วยตัวเอง ฉันใดฉันนั้นทุกคนก็เป็นเจ้าของธุรกิจได้อย่างง่ายดาย

Leave a comment »

สไมล์แลนด์ ช่องทางใหม่ของททท. คุ้มหรือไม่ , นิติธร สุรบัณฑิตย์ 524 52535 28

สไมล์แลนด์ ช่องทางใหม่ของททท. คุ้มหรือไม่ , นิติธร สุรบัณฑิตย์ 524 52535 28

 

            กันยายน  2553 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ได้ดำเนินนโยบายด้านการสื่อสารการตลาดอย่างจริงจังในช่องทางใหม่คือสังคมออนไลน์  (Social Media) จากข้อมูลที่ททท.เปิดเผยเป็นสถิติยืนยันผลที่ได้จากการดำเนินงานตามนโยบาย พบว่ามีกลุ่มแฟนเพจ(Page) และผู้ติดตามข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านระบบสังคมออนไลน์ 112,801 คน และสร้างการรับรู้ให้คนทั่วโลกไปร่วม 100 ล้านคน โดย ททท. ประมาณว่าจะสร้างแรงจูงใจให้ 10% ของกลุ่มดังกล่าวเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยหรือ 11,280 คน ขณะที่อีก 100 ล้านคนที่รับรู้เรื่องราวการท่องเที่ยวไทยนั้น น่าจะสร้างแรงจูงใจให้คนกลุ่มนี้ได้ 10% หรือ 10 ล้านคน และเดินทางมาประเทศไทยจริงๆราว 1 ล้านคนได

             หากตรวจสอบดูกรอบนโยบายของคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จากปี 2550-2554 ในเว็บไซต์ขององค์กรเองจะพบว่า มีการระบุการดำเนินงานตามนโยบายเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดแบบออนไลน์ชัดเจนในข้อ 8 ที่ว่า ททท.จะพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว (e – Tourism) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเทศไทย และเสริมสร้างศักยภาพในการส่งเสริมการตลาดผ่านสื่อสารสนเทศ สอดรับกับการเป็นองค์กรแห่งการขับเคลื่อน  (Driving Force) ที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน    และมีศักยภาพทางการแข่งขันระดับนานาชาติภายใต้ หลักธรรมาภิบาล รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรในบทบาทเชิงวิชาการและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการตลาด ส่งเสริมให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเน้นการขยายฐานตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ ทั้งในพื้นที่ใหม่และในตลาดเฉพาะกลุ่ม ภายใต้การสร้างความเข้มแข็งของตราสินค้า (Brand) ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

          ความเข้มแข็งของตราสินค้า(Brand)เป็นกลยุทธสำคัญไม่ว่าการสื่อสารการตลาดจะทำให้ช่องทางไหน ทั้งกระดาษ ใบปลิว โฆษณาโทรทัศน์ หรือในที่นี้คือ สื่อสังคมออนไลน์ ททท.พยายามดึงดูดพื้นที่ทางการตลาดท่องเที่ยวให้เห็น สินค้า  ไม่ว่าจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย เช่น อาหาร อากาศ ผู้คน สถานที่ท่องเที่ยว และภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ลูกค้าที่อยู่ทุกมุมโลกเกิดการรับรู้ จดจำ เลือกใช้งาน และรวมไปถึงการภักดีต่อสินค้า รวมกันเป็นคำสั้นๆที่เราคุ้นหูกันมาอย่างดีก็คือ Amazing Thailand

  

      ที่ผ่านมาการทำการตลาดมักให้ความสำคัญกับความเป็นตราสินค้า หรือความเป็นแบรนด์อย่างยิ่งยวด เพราะนั่นไม่ได้หมายถึงกลุ่มลูกค้าที่เลือกซื้อสินค้าและบริการเท่านั้น แต่หมายถึงความระลึกถึงตราสินค้า บนความประทับใจ เพื่อบอกต่อและภักดีต่อแบรนด์นั้นๆตราสินค้าจึงเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจให้ความสำคัญ เพราะนั่นหมายถึงความอยู่รอดในส่วนแบ่งการตลาดในอนาคต และกลายเป็นสินค้าที่ยืนยง และยากต่อล้มตามวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์

       เมื่อช่องทางการสื่อสารตลาดจำต้องขยับขึ้นมาอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ตามผลการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ผู้คน ผู้บริโภค หรือลูกค้าต่างจากที่หาข้อมูล และจับจ่ายใช้สอยผ่านพนักงานหน้าร้าน หรือแม่ค้า กลายเป็นจับเมาส์คลิกเพื่อสอบถามข้อมูล หาข้อมูล หรือเป็นไปได้ว่าติดต่อซื้อขายบนสังคมเสมือนนั้นเลย  ท่าทีองค์กรธุรกิจ และองค์กรอื่นๆ ก็จำต้องขยับขยายกันตาม

           และกรณีศึกษาหน่วยงาน ททท.ของไทยก็ไม่พลาดที่จะทำเช่นนั้น

         เกมสไมล์แลนด์ (Smile Land) (http://www.facebook.com/SmileLandGame)  เป็นกลยุทธ์ที่สร้างขึ้นมาและแปะขึ้นสังคมออนไลน์ เพื่อสอดรับกับการวางสินค้าของตราสินค้าบนพื้นที่สังคมออนไลน์  Amazing Thailand” มันไม่ได้มีเพียงแค่เว็บไซต์ แฟนเพจ  แต่รวมไปถึงเกมส์บนสังคมออนไลน์ จึงเป็นกรณีศึกษาที่ดีที่เราควรให้ความสนใจ ไม่เพียงแต่เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ทำการตลาดจนประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในช่องทางอื่นแล้ว(โทรทัศน์ เป็นต้น)แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยงยังมีผลผูกพันกับสังคมไทย เช่น การสร้างงาน สร้างรายได้ การลงทุน หรือแม้กระทั่งเรื่องสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ หรือหากมองในมุมเศรษฐกิจก็จะพบการท่องเที่ยวมีมูลค่าเม็ดเงินที่มหาศาล และคิดเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมในจีดีพี (ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป)

เกมสไมล์แลนด์ (Smile Land)  ผู้เล่นทั่วโลกสามารถเล่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง facebook  โดยเกมส์จะสร้างความน่าสนใจในการท่องเที่ยว ประเทศไทยในรูปแบบใหม่ ในลักษณะสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยว, Virtual Traveling Experience ด้วยการตกแต่งตัว Avatar ของตัวผู้เล่นเอง และตามหาอุปกรณ์ หรือ items ให้ครบตามภารกิจในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ภายในเกม ซึ่งมีมากกว่า 200 แห่ง ควบคู่กับเกมส์ย่อย หรือมินิเกมส์ 5 รูปแบบที่มาพร้อมกัน ได้แก่

      เกมส์ที่ 1 “Tuk Tuk Racing” ซึ่งเป็นเกมเพื่อค้นหาสุดยอดคนขับรถตุ๊กตุ๊ก โดยผู้เล่นต้องขับรถตุ๊กตุ๊กให้ถึงที่หมายให้เร็วที่สุด โดยระหว่างทางจะมีสิ่งกีดขวางต่างๆ ซึ่งผู้เล่นต้องคอยระมัดระวัง โดยมีตัวช่วยพิเศษช่วยให้ถึงจุดหมายปลายทางให้เร็วขึ้น

        เกมส์ที่ 2 “Somtam Sukjai” เป็นเกมทำอาหารไทย ที่ผู้เล่นต้องหาและเลือกส่วนประกอบอาหารให้ถูกต้องตามที่แสดงไว้ในแต่ละเมนู โดยเมนูอาหารไทยจะแสดงออกมาเรื่อยๆ ซึ่งผู้เล่นจะต้องเลือกส่วนประกอบอาหารให้ถูกต้องครบถ้วน และทันเวลาที่มีจำกัดขึ้นเรื่อยๆ

     ส่วนอีก 3 มินิเกม คือ “Muay Thai” สำหรับผู้ใช้ไอโฟน เป็นเกมค้นหาสุดยอดนักมวยไทย, “Siam Tempo” สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และ Siam Fun Fair” สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟนของโนเกีย ซึ่งจะเปิดให้เล่นในเร็วๆนี้

         จากการตรวจสอบพบว่าเกมส์ทั้งสองนี้สามารถพบและดาวโหลดได้ใน ไอแพดสโตรแล้ว และเกมส์ย่อยที่ 1 และ 2 นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเล่นได้แล้ว โดยจะส่งผลคะแนนไปประกอบเกมส์หลักคือสไมล์แลนด์นั่นเอง

         ในส่วนของแฟนเพจ สไมล์แลนด์นั้น จากการตรวจสอบพบว่า มีผู้ให้ความสนใจเกือบหนึ่งหมื่นคน แต่ก็พบว่าส่วนใหญ่เป็นชาวไทย และเมื่อร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตลาดในเฟซบุ๊ก ก็มักเป็นคนไทยแทบทั้งนั้น ทั้งๆที่ข้อความจากผู้ดูแลเพจ(admin) ใช้เป็นภาษาอังกฤษเกือบหมด

         นี่อาจเป็นคำถามว่า ความหวังต่อกลุ่มลูกค้าตะวันตกจากเกมส์นี้ของททท.จะเป็นจริงหรือไม่ แต่อาจจะยังสรุปไม่ได้ เนื่องจากยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของวงจรผลิตภัณฑ์ และกำลังขยับขยายไปยังเครื่องมือในส่วนที่ลูกค้าชาวต่างชาติจับจ้องได้ เพราะถึงอย่างไรก็ต้องเข้าบนพื้นฐานว่า การที่คุณจะเลือกเดินทางไปที่ไหนไกลๆสักแห่ง ข้อมูล รูปภาพของสถานที่นั้นต้องมีความน่าเชื่อ(อาจผ่านเว็บททท.) มากกว่าเกมส์หรือการ์ตูน เกมส์นี้จึงอาจเป็นเพียงตัวช่วยเท่านั้น

         กลยุทธการสร้างตราสินค้าของททท. นอกจากเว็บไซต์ที่เปิดดำเนินการ และเครือข่ายสังคมออนไลน์แล้ว ความไม่ธรรมดาดังกล่าวนี้ ผมมองว่า ททท.จะพยายามที่ลดช่องว่างการเข้าถึงข้อมูลท่องเที่ยวไทย ให้ดูง่ายขึ้น และผู้ใช้สามารถเป็นหนึ่งในการสร้างประสบการณ์ และมีความเป็นไปได้ที่พวกเขาจะร่วมสร้างประสบการณ์จริง ในการซื้อตั๋วมาเที่ยวเมืองไทย  เมื่อตรวจสอบดูแผนของททท.ผ่านการคาดการณ์ของ เกี่ยวกับเกมส์ดังกล่าวพบว่า ททท. มีเป้าหมายไปยังนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพไม่ต่ำกว่า1,000 ล้านคน และเพิ่มฐานข้อมูลนักท่องเที่ยวทั่วโลกอีกไม่ต่ำกว่า 2 เท่า จากปัจจุบัน 500,000 คน เพิ่มเป็น 1 ล้านคนภายในสิ้นปีนี้ พร้อมๆกับเพิ่มความถี่ในการใช้งานและการเข้าถึงสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ก และโมบายแอพพลิเคชั่นของททท.ด้วยการเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก และผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกกว่า 300 ล้านคน ด้วยเล็งเห็นถึงกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต และสมาร์ทโฟน ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเป็นกลุ่มที่มีความรู้ และรายได้สูง ที่จะสามารถทำหน้าที่ขยายฐานนักท่องเที่ยวทั่วโลก หนังสือพิมพ์ข่าวสดได้รายงานตัวเลขการลงทุนการพัฒนาทั้งซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ ของททท. ตีพิมพ์ในวันที่ 25 มิถุนายน 2554 ฉบับที่ 7,513 ว่าททท.ได้งบลงทุนถึง 8 ล้านบาทในการดำเนินงานด้านดังกล่าว

       จะเห็นได้ว่าการสื่อสารการตลาดผ่านสังคมออนไลน์ของททท.นั้นมีความพยายามตั้งแต่การระบุไว้ในนโยบายตามกรอบของคณะกรรมการระดับผู้บริหาร หรือบอร์ด ซึ่งเป็นข้อจำเป็นที่ททท.ในฐานะตัวแทนการท่องเที่ยวของไทยต้องกระทำ  เพราะเป็นทราบกันดีกว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้สร้างเม็ดเงินจำนวนมาก ตามข้อมูลจากสำนักงานบัญชีประชาชาติได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายได้ประชาชาติด้านการท่องเที่ยวพบว่า โดยภาพรวมรายได้จากสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวมีมูลค่าคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product-GDP) แต่จากการขยายตัวของเศรษฐกิจและระดับราคาสินค้าและบริการภายในประเทศคาดว่าสัดส่วนดังกล่าวน่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7-8 หรือมูลค่าประมาณ 633,550-724,057 ล้านบาท ในปี 2552 ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ปี 2552 มีมูลค่า 715,985.18 ล้านบาท เปรียบเทียบกับ GDP ของประเทศไทยปี 2552 เท่ากับ 9,050,715 ล้านบาท เป็นสัดส่วนร้อยล่ะ 7.91 ของ GDP ดังนั้น สำนักเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จึงได้จัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านรายได้การท่องเที่ยวซึ่งกระจายทั่วประเทศประกอบการร่างยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาการท่องเที่ยว โดยจังหวัดที่มีรายได้รวมด้านการท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ ภูเก็ต กรุงเทพฯ กระบี่ ชลบุรี และเชียงใหม่

          ความจำเป็นจากตัวเลขดังกล่าว ทำให้ททท.จำต้องปรับตัวในการสื่อสารการตลาดเพื่อให้คงมูลค่า หรือเพิ่มขึ้นในส่วนแบ่งการตลาด นี่ก็อาจเป็นข้อผูกมัดให้ททท.คิดกลยุทธ์ใหม่ๆดังตัวอย่างกรณีศึกษานี้ เพื่อหวังความสำเร็จจากช่องทางดังกล่าว ผ่านผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่พวกเขาเชื่อพลังแห่งศักยภาพและลักษณะของผู้ใช้ จะเป็นผู้ส่งต่อประสบการณ์ผ่านเกมส์ และแนะนำต่อไปๆ

             นอกจากนั้น การสื่อสารการตลาดผ่านเครือสังคมออนไลน์นั้น ไม่เพียงมีข้อดีหลายประการ โดยเฉพาะการลงทุนที่ไม่มากนัก หรือเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ททท.เชื่อว่ามีกำลังซื้อและสามารถเป็นฐาน และสร้างฐานลูกค้าใหม่ได้ โดยเฉพาะชาวต่างประเทศ ที่มักมาท่องเที่ยว พักผ่อน และใช้ชีวิตวันหยุดพักร้อนในเมืองไทย

    จากโครงการศึกษาผลกระทบ และกำหนดท่าทีไทยต่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก โดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็จะพบว่า ไทยมีจุดแข็งหลายประการหากเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน  เพราะไทยมีสินค้าการท่องเที่ยวที่หลากทั้งธรรมชาติ และวัฒนธรรม เป็นศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ และมีความสามารถด้านการแข่งขัน ด้วยบุคลากรการท่องเที่ยวที่มีทักษะ และความสามารถสูง จุดแข็งเหล่านี้ถูกท้ายด้วยจุดอ่อน และแนวโน้มโอกาสที่อาจเกิดขึ้น หลายประการเช่น การบริหารจัดการการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมไม่คำนึงคุณภาพ การแข่งขันด้านราคามีสูง ทำให้เกิดการตัดราคากัน จนต้องลดต้นทุนทำให้คุณภาพบริการต่ำลง ยังไม่รวมถึงการที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น ประเทศเพื่อนบ้านเช่น เวียดนาม มาเลเซีย พม่า มีการพัฒนาศักยภาพมากขึ้น หรือปัญหาอันเกิดวิกฤติการณ์ทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  โดยเฉพาะข้อกังวลท้ายสุดในเรื่องภัยพิบัติ หรือวิกฤติการณ์ทางธรรมชาตินี้รุนแรง และบ่อยครั้งขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งวาตภัย หรืออุทกภัย ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในไทย และภูมิภาคได้รับผลกระทบอย่างหนัก การสื่อสารตราสินค้าจำเป็นต้องทำอย่างเข้มข้นเพื่อชูตราสินค้าให้เหนือปัญหา และยืนยันศักยภาพของไทยในการจัดการปัญหาเหล่านั้น

             สไมล์แลนด์ จึงเป็นเกมส์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่ททท.นำมาใช้สื่อสารการตลาดในช่องทางใหม่ ด้วยความหวังอันเต็มเปี่ยม ทั้งศักยภาพของช่องทาง และผู้ใช้ แน่นอนว่าความหวังดังกล่าวย่อมประกอบไปด้วยความท้าทายและอุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ทท.ตั้งใจคือชาวต่างชาติ แต่จากการตรวจสอบพบว่าเป็นคนไทยเสียส่วนใหญ่ หรือลักษณะการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยว เนื้อหาบนเว็บไซต์ททท.เองอาจได้รับความสนใจมากกว่าการ์ตูน หรือเกมส์ดังที่กล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ตามนี่หากมองในแง่ดี เราอาจต้องเฝ้ารอการพัฒนาเกมส์จึงอาจคิดได้ว่า นี่เป็นเพียงแค่กลยุทธในการประกอบเนื้อหา และการสร้างจุดเด่นของตราสินค้าเท่านั้น เพื่อประกอบการตัดสินใจที่มาจากเนื้อหาในสื่อหลัก หรือบนเว็บไซต์ของททท.เป็นหลัก อย่างไรก็ตามเราก็อาจต้องมองถึงทุนการในการจัดทำที่เป็นแรงเสียดทานถึงผลที่ได้ไว้ด้วย

                 ผู้เล่นเกมส์จำต้องผ่านด่านต่างๆทั้งการทำอาหาร และเกมส์รถตุ๊กตุ๊ก

                เหมือนกับที่สไมล์แลนด์จะต้องผ่านด่านทดสอบศักยภาพในการตลาดให้ได้


นิติธร สุรบัณฑิตย์ 524 52535 28 

ข้อมูลอ้างอิง
ข้อมูลสถิติการดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายได้ประชาชาติด้านการท่องเที่ยว ของสำนักงานบัญชีประชาชาติ
รายงานโครงการศึกษาผลกระทบ และกำหนดท่าทีไทยต่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก โดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMGIzVXdOVEkxTURZMU5BPT0=&sectionid=TURNeE9RPT0=&day=TWpBeE1TMHdOaTB5TlE9PQ==  เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555
www.facebook.com/SmileLandGame   เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/global/20110627/397445/สไมล์แลนด์Tuk-Tuk-Somtam-โซเชียลฯเกม..ชวนเที่ยวไทย.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555

Leave a comment »

โลกหมุนไป ใครๆก็วิ่งตาม #ธรรมะ ตั้งปนิธานดี 524 50510 28

ปัจจุบันการทำการตลาดที่เข้าถึงและมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับคนยุคใหม่ ไม่ใช่การโฆษณาทางโทรทัศน์  วิทยุ ไม่ใช่การแจกบัตรส่วนลดไปตามบ้าน และยิ่งไม่ใช่การลงโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ ที่หมึกเปื้อนนิ้วอีกต่อไปแต่เป็นการโฆษณาอยู่ในสื่อใหม่ต่างๆ บนโลกอินเทอร์เนตโดยเฉพาะการทำแผนการตลาดอยู่ใน social network ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเต็มที่เพราะคนในยุคปัจจุบันเปิดเว็บไซท์ต่างๆบ่อยกว่าการปิดดูโทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่การไปซื้อของตามร้านก็ลดลง เนื่องจากมีการขายของทางอินเทอร์เนตที่แพร่หลาย โดยมีบริการส่งถึงบ้านและมีราคาพอๆกับที่ขายอยู่ที่ร้าน ทำให้อินเทอร์เนตกลายเป็นโลกของธุรกิจขนาดใหญ่ที่หมุนเวียนกันไปอย่างรวดเร็ว จึงมีการแข่งขันกันอย่างสูง

 Social Media กำลังเป็นสื่อใหม่ที่ได้รับความสนใจจากแวดวงธุรกิจเพิ่มมากขึ้น เริ่มจากความคิดของนักการตลาดไม่กี่คน จนบัดนี้ ธุรกิจบนโลกออนไลน์ได้ขยายไปอย่างรวดเร็ว แนวโน้มความแรงของกระแส social media ยังคงไม่หยุดยั้ง ไม่เฉพาะอยู่แค่ Long Tail Business แต่ยังรวมไปถึงเหล่าธุรกิจขนาดใหญ่ ที่แม้จะมีทุนในการทำการตลาดมหาศาล แต่พวกเขากลับตระหนักถึงพลังอันรุนแรงของ social media จนต้องรีบเข้ามาร่วมวง

สิ่งที่หมุนไปพร้อมๆกับกระแสโลกาภิวัฒน์คือผู้บริโภคมีกลุ่มของเพื่อนฝูงที่ใหญ่และซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม องค์กรสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายดายและจำนวนมากยิ่งขึ้น  ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กจึงจะต้องเร่งเรียนรู้และทำความเข้า ใจกับสื่อใหม่อย่าง Social Media นี้ให้เร็วเพื่อที่จะได้เร่งเข้ามาใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่นี้ได้มากที่สุด เพราะจะสามารถเป็นตัวที่จะสื่อสารbrandของตนให้เป็นที่รู้จักกว้างขวาง ในขณะที่ใช้งบประมาณน้อยมาก  กระแส Social Media นั่นกล่าวได้ว่าเป็นความท้าทายครั้งใหม่ของนักการตลาด เพราะตอนนี้ Social Media นั้นกำลังพลิกบทบาทเป็นแนวโน้มใหม่ของรูปแบบการทำการตลาดในอนาคตอย่างสิ้น เชิง  บทบาทของ Social Media ในเชิงการตลาดออนไลน์นั้นเริ่มตั้งแต่ Social Media ตัวแรกๆ อย่าง Hi5 เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยได้สักพักหนึ่งก่อนจะโดนกระชากแชมป์ไปโดย Facebook และ Twitter  เหตุเพราะสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตคนในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อภาคธุรกิจ อาจเป็นเพราะปัจจัยในด้าน ความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นของสังคมไทยและ การบริการอินเทอร์เน็ตที่มีความรวดเร็วมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะใช้เวลาบนโลกอินเทอร์เน็ตเพิ่มมาก ทำให้สื่อออนไลน์เริ่มเข้ามาแทนที่สื่อดั้งเดิม กล่ยเป็นสื่อกระแสหลักในปัจจุบัน ก็ว่าได้

ดังนั้น องค์กรต่างๆจึงนิยมจัดแคมเปญขึ้น ผ่านช่องทาง social media เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภค     การสร้างแคมเปญผ่านช่องทาง New media เช่น Facebook หรือ Twitter นั้น แน่นอนว่าความสวยงามของภาพและการจัดเรียงเนื้อหา หรือการให้ข้อมูลประกอบที่ครบถ้วนเพียงเท่านั้นคงมิสามารถทำให้แคมเปญนั้นๆขององค์กรเป็นที่สนใจ กล่าวขานถึงได้ หัวใจสำคัญคือ ความสนุก และการมีส่วนร่วมที่ได้รับผลตอบแทนกลับมา ความสนุกจะช่วยเพิ่มพูนความน่าสนใจ ทำให้มีคนเข้ามาดูหน้าเพจของเราเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น หากคุณลองกดค้นหาชื่อ แฟนเพจชื่อแบบแปลกๆใน Facebook คุณจะพบว่า มีคนกดLike กันเป็นจำนวนมาก

 

ในอีกด้านหนึ่ง กลยุทธ์การตลาดบนโลกเสมือนนั้น ผู้คนสามารถส่งต่อความคิดเห็นได้อย่างง่ายดาย ชื่อที่แปลก สามารถตอบสนองในโจทย์ความสนุก แต่ในกรณีนี้ผู้บริโภคอาจอยู่กับเราชั่วครู่ชั่วยาม เนื่องจากมีเพจใหม่ๆแปลกๆ(ยิ่งกว่าของเรา) เกิดขึ้นทุกวัน กุลยุทธ์ที่สำคัญถัดมาคือ การมีส่วนร่วมที่ได้รับสิ่งตอบแทน  ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงถึงการรวมทั้งสองสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นมาไว้รวมกัน คือ แฟนเพจของThreadless

Threadless เป็นบริษัทที่กำลังเติบโตขึ้น และเป็นที่โด่งดังมากในต่างประเทศ จากการเชิญชวนเข้าร่วมสนุกของคนในเว็บไซต์ที่นิยมแบ่งปันลายสกรีนสวยๆ ภายหลังกลายเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการแข่งขันกัน หากใครออกแบบได้สวยถูกใจได้รับโหวตจากกลุ่มคนในเว็บไซต์ Threadless สูงก็จะถูกนำไปเป็นลายสกรีนเสื้อ T-Shirt ขายผ่านหน้าเว็บไซต์ และ e-Bay อีกทั้งลายเสื้อดังกล่าวอาจจะถูกนำเสนอให้เข้าประกวด ระดับอื่นๆ ได้เพราะกลุ่มของคนที่อยู่ในเว็บไซต์ Threadless นี้บางคนเป็นบุคคลมีชื่อเสียง และเกี่ยวข้องในวงการดีไซน์เสื้อผ้าวัยรุ่น ซึ่งช่วงหลังๆนี้ Threadless ได้ขยายสังคมของตนให้กว้างขึ้นโดยการ สร้าง Facebook Fan Page ของตนขึ้นมาและมีลูกเล่นถูกใจสมาชิกใน หน้า Fan Page ตรงที่ หากลายสกรีนเสื้อ T-Shirt ของใครเข้าตา หรือมีคนชื่นชมมาก ลายสกรีนนั้นจะกลายเป็นรูปภาพ Profile ของหน้า Facebook Fan Page ของ Threadless ไปในทันที จากเมื่อก่อนที่มีการแข่งขัน รายเดือนมีการเปลี่ยนภาพ Profile ของ Fan Page รายเดือนก็มาเป็นรายสัปดาห์จนตอนนี้นั้นสมาชิกที่อยากอวดฝีมือออกแบบลายสกรีนเสื้อของตนเองก็เริ่มที่จะเข้ามา Like  แฟนเพจ ตัวนี้ กลายเป็นว่าต้องเปลี่ยนรูปProfile กันทุกสัปดาห์กันเลยทีเดียว

 

                จะเห็นได้ว่านอกจากจะให้ความสนุกแล้ว คนที่เข้ามามีส่วนร่วมและยังได้รับความภาคภูมิใจหากรูปของตนเองได้ใช้เป็นรูป Profile สร้างแรงจูงใจให้คนเข้ามาชมเรื่อยๆ อีกทั้งทางองค์กรยังไม่ต้องเสียเวลาในการออกแบบลายสกรีนเองเลยด้วยซ้ำ เนื่องจากมีคนจำนวนมากยินดีที่จะนำเข้ามาแสดงเพราะความต้องการในการประชาสัมพันธ์ตนเองยังคงเกิดขึ้นเสมอ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กลยุทธ์การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จะไม่ประสบความสำเร็จหากมีแต่การจัดแคมเปญ และกระจายข่าวบน News Feed ผ่านการโพสท์ Link ไปเรื่อยๆ หากมองในด้านการดึงดูดสมาชิก สิ่งเหล่านี้อาจได้ผล แต่เราก็จะได้แต่สมาชิกหน้าเดิมๆ หรือกลุ่มเดิมๆภายในกรุ๊ปของเรา ไม่สามารถขยายฐานแฟนให้มากขึ้นได้ เราจึงควรเสริมกลยุทธ์อื่นๆเข้าไปด้วย เช่น หลีกเลี่ยงการให้กลุ่มเป้าหมายหน้าใหม่ เข้ามาที่หน้า wall เป็นหน้าแรก หมั่นเข้าไปพูดคุยสนทนาโพสต์เนื้อหาที่น่าสนใจ เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย แต่ต้องแน่ใจว่าจะไม่ทำให้เป็นที่รบกวนรำคาญใจแก่สมาชิกเดิม และสมาชิกที่เราพยายามให้เข้ามาใหม่ อาจใช้การพูดคุย  เคล็ดลับบางอย่างของคุณในการทำอะไรสักอย่างทั่วไปในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือใหญ่  การแสดงความเห็นเช่นนี้อาจทำให้แฟนๆรู้สึกเป็นกันเอง แสดงความอบอุ่นหรือตัวตนในอีกด้านของคุณออกมา และยังมีประโยชน์ต่อคนอื่นอีกด้วย เช่น  เคล็ดลับการดูแลตัวเอง อาหารอร่อย นอกจากนี้ ทางเพจควรโพสต์เนื้อหาที่น่าสนใจ เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ในกลุ่มเทคโนโลยี การโพสลิงค์หรือรูปภาพ เครื่องมือแปลกๆหรือ gadget ใหม่ๆ ก็จะช่วยดึงความสนใจของสมาชิกได้ดี หมั่นอัพเดตเนื้อหา และอย่าลืม นอกจากการสร้างNew Feed ในline แล้วบางครั้งการทำ CRM กับสมาชิกในกลุ่มนั้นๆอาจต้องอาศัยเรื่อง เบาๆมาแทรก เช่น คลิปขำๆจาก Youtube มาร่วมแชร์

ในโลกยุคปัจจุบัน บริษัทไหน องค์ดรใดตามกระแสสังคมทันก็อยู่รอดไปได้ ส่วนใครที่ตามไม่ทันก็คงต้องยอมแพ้และโบกมือลาให้กับวงการธุรกิจปัจจุบัน

Leave a comment »